Quantcast
Channel: บ้านและสวน
Viewing all articles
Browse latest Browse all 9916

Balkrishna Vithaldas Doshi สถาปนิกผู้อุทิศตนเพื่อการออกแบบสำหรับคนทุกชนชั้น

$
0
0

 

// My architecture philosophy is: Architecture is a backdrop for life //

// ปรัชญาทางสถาปัตยกรรมในแบบฉบับของผม: สถาปัตยกรรมคือฉากหลังสำหรับการใช้ชีวิต //

– B.V. Doshi –

room ขออาสาพาคุณมาทำความรู้จักกับสถาปนิกที่ได้รับรางวัล Pritzker Prize ปี 2018 คนล่าสุด นั่นคือ Balkrishna Vithaldas Doshi  (บัลกฤษณะ โดชี) หรือ B.V. Doshi สถาปนิกชาวอินเดียคนแรกผู้ได้รับรางวัลนี้ ซึ่งเทียบได้กับรางวัลโนเบลแห่งวงการสถาปัตยกรรม จากโปรเจ็กต์  “Aranya Low Cost Housing”  หรือบ้านสำหรับผู้ยากไร้ งานดีไซน์ที่ชัดเจน จริงจัง หนักแน่น ไม่ฉูดฉาด และไม่ตามเทรนด์ใด ๆ

B.V. Doshi คือสถาปนิกอาวุโสวัย 90 ปี ผู้ทรงอิทธิพลต่อแนวคิดของสถาปนิกรุ่นใหม่ในอินเดียมาหลายยุคหลายสมัย ทั้งยังเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้อุทิศตนทำงานให้แก่แวดวงสถาปัตยกรรมมานานกว่า 70 ปี เเละเป็นหนึ่งในสถาปนิกที่มีความสำคัญต่อแนวคิดการออกแบบ การวางรากฐานการศึกษา รวมถึงเป็นผู้สนับสนุนงานด้านสถาปัตยกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาชีวิตของผู้คนทุกชนชั้นในประเทศอินเดีย

B.V. Doshi เกิดที่เมืองปูเน ประเทศอินเดีย ปีค.ศ.1927 โดยเติบโตมาในครอบครัวที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งมีส่วนช่วยหล่อหลอมให้เขาซึมซับกับงานศิลปะโดยอัตโนมัติ จนเป็นเเรงบันดาลใจให้เข้าศึกษาต่อในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่ J. J. School of Architecture เมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย ความใฝ่ฝันและความมุ่งมั่นได้ชี้นำช่วงเวลาสำคัญ ๆ มากมายมาสู่ชีวิต จากอินเดียมุ่งสู่ลอนดอน แล้วย้ายไปปารีสในช่วงปี ค.ศ.1950 เพื่อเริ่มต้นการเรียนรู้ครั้งใหม่ รวมถึงได้ทำงานกับสุดยอดสถาปนิกแห่งศตวรรษที่ 20 อย่าง Le Corbusier จากนั้นจึงกลับมาที่อินเดียในปี ค.ศ 1954 เพื่อดูแลโปรเจ็กต์ “The Mill Owner’s Association Building” และ “Shodhan House” ให้กับ Le Corbusier กระทั่งในปี ค.ศ. 1962 เขาได้มีโอกาสร่วมงานกับ Louis Kahn  ซึ่งเป็นสุดยอดสถาปนิกระดับตำนานชั้นครูอีกคนของโลก โดยรับหน้าที่ดูแลโปรเจ็กต์ “Indian Institute of Management” ในเมืองอัห์มดาบาด และทำงานร่วมกันมานานกว่าหนึ่งทศวรรษ

Balkrishna Vithaldas Doshi
B.V. Doshi กับ Sangath สตูดิโอของเขา

ในปี ค.ศ.1956 เขาได้ก่อตั้งสำนักงานออกแบบ Vastu Shilpa เเละต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น Vastu Shilpa Consultants (VSC ) มีผลงานการออกแบบโครงการต่าง ๆ รวมกว่า 100 โครงการ ทั้งอาคารสาธารณะ สถาบันการศึกษา ที่พักอาศัย ฯลฯ ต่อมาในปี ค.ศ. 1978 เขาได้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิ Vastu-Shilpa Foundation (VSF) โดยไม่แสวงผลกำไร เพื่อการค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบที่อยู่อาศัยที่เข้ากันได้ดีกับสภาพแวดล้อม รวมถึงการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เเละการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับบริบทและวิถีชีวิตของชาวอินเดีย ไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

อินเดียเป็นดินแดนแห่งความหลากหลายและมีผู้คนอาศัยอยู่มหาศาล สถาปัตยกรรมในอินเดียส่วนใหญ่จึงได้รับการหล่อหลอมมาจากรากเหง้าทางสังคม วัฒนธรรม ศาสนา เชื้อชาติ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ฯลฯ จนผ่านจุดเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญอย่างยุคล่าอาณานิคม สถาปัตยกรรมในประเทศอินเดียจึงได้รับการพัฒนาในรูปเเบบผสมผสาน เเละเปิดรับวิทยาการจากตะวันตกมากขึ้น

สำหรับงานออกแบบของ B.V. Doshi และตัวตนของเขาได้รับอิทธิพลจาก Le Corbusier และ Louis Kahn  สองสถาปนิกชั้นครูแห่งศตวรรษที่ 20 โดยไม่ทิ้งอัตลักษณ์ความเป็นสถาปัตยกรรมแบบอินเดีย ผสมผสานกับแนวคิดจากซีกโลกตะวันตก จนคลี่คลายออกมาเป็นงานสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ที่ทันสมัย แต่ทว่ายังคงรักษาแก่นแท้ของวัฒนธรรมอินเดียไว้เช่นเดิม โดยมีพื้นฐานทางสังคมเเละประเพณีเป็นตัวกำหนดทิศทางการออกแบบด้วยอีกเเรง ภายใต้เเนวคิดการเลือกใช้วัสดุในท้องถิ่นมาเป็นส่วนประกอบของอาคารให้ดูทรงพลัง มีคุณค่า และมีคุณภาพ รวมถึงการออกแบบอาคารให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศเมืองร้อน โดยใช้หลักการระบายอากาศ เเละการดึงแสงธรรมชาติให้เข้ามาในอาคาร รวมถึงการใช้อิฐเเละไม้ที่หาง่ายในท้องถิ่นมาประกอบเข้าด้วยกันอย่างลงตัวไร้รอยต่อ ตลอดจนแนวคิดการออกแบบรูปร่างและรูปทรงในงานสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากสถาปนิกชั้นครูทั้งสองท่านของเขา

Balkrishna Vithaldas Doshi
B.V.Doshi กับสุดยอดสถาปนิกแห่งศตวรรษที่ 20 “Le Corbusier”
Balkrishna Vithaldas Doshi
B.V. Doshi กับ สถาปนิกชั้นครูของโลก “ Louis Kahn”

// Architecture is a journey – a journey of discovery. //

// สถาปัตยกรรมคือการเดินทาง – การเดินทางคือการค้นพบ //

– B.V. Doshi –

การเรียนรู้และหล่อหลอมจากสถาปนิกชาวตะวันตกช่วยบ่มเพาะให้เขาเล็งเห็นวิสัยทัศน์ทางศิลปะอย่างลึกซึ้งด้วยความเคารพต่อวิถีชีวิต วัฒนธรรมตะวันออก และพลังแห่งธรรมชาติในการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เต็มไปด้วยความน่าสนใจดึงดูดสายตาตั้งเเต่เเรกเห็น เสียงและความทรงจำในอดีตของเขาทำงานควบคู่ไปกับความเคารพอย่างลึกซึ้งต่อประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของอินเดีย ความทรงจำในช่วงวัยหนุ่มเกี่ยวกับศาลเจ้า วัดวาอาราม ถนนที่พลุกพล่าน รวมถึงกลิ่นของแล็กเกอร์และไม้ในโรงงานเฟอร์นิเจอร์ของคุณปู่ ล้วนส่งผลให้เกิดเเรงบันดาลใจนำพาเขาไปสู่งานออกแบบสถาปัตยกรรมในรูปแบบเฉพาะตัว

ภาษาในงานออกแบบที่เป็นซิกเนเจอร์ของ B.V.Doshi ที่เห็นได้ชัดเจนเเละปรากฏในงานสถาปัตยกรรมของเขาก็คือ ซุ้มโค้ง ทางเดินที่เป็นพื้นหญ้าสีเขียว สวนน้ำ แสงเงาของพื้นที่โล่งกลางอาคาร การเล่นกับแสงและเงา เเละผนังรับน้ำหนัก จากการศึกษาแนวคิดงานสถาปัตยกรรมและปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ด้วยความเข้าใจและความชื่นชม ทำให้เขามีความเข้าใจขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม และประเพณีของอินเดียอย่างลึกซึ้ง จนเกิดเป็นสถาปัตยกรรมที่เข้ากับการใช้ชีวิตของคนอินเดียได้อย่างลงตัว

เพราะทุกการออกแบบของ B.V.Doshi เน้นการให้ความสำคัญกับงานออกแบบที่เชื่อมโยงกับที่ตั้ง บริบทรอบข้าง สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ การใช้ชีวิต วัฒนธรรมเเละประเพณี ด้วยความรู้สึกที่ลึกซึ้งในหน้าที่ ความรับผิดชอบและความปรารถนาดีที่จะช่วยเหลือประเทศชาติและชาวอินเดียให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นโดยผ่านงานสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่า ไม่ว่าเวลาจะล่วงเลยผ่านไปเท่าไหร่ ผลงานออกแบบของเขาจึงยังคงมีความร่วมสมัยและมีเสน่ห์อยู่เสมอ และนี่คือ 7 ผลงานการออกแบบของ B.V. Doshi ที่ไม่ง้อเทรนด์ใด ๆ ที่เราอยากแนะนำให้รู้จัก เพื่อทำความเข้าใจในตัวตนของสถาปนิกผู้สร้างสรรค์ผลงานเพื่อคนทุกชนชั้นให้มากยิ่งขึ้น

Balkrishna Vithaldas Doshi
Sangath

Sangath คือสตูดิโอของ B.V. Doshi สะท้อนสไตล์งานออกแบบของเขาได้อย่างดี โดดเด่นด้วยการใช้กระเบื้องโมเสกจากจีน มีอัฒจันทร์กลางแจ้งเเละมีน้ำไหลผ่าน สื่อถึงความผูกพันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติได้อย่างดี

The Life Insurance Corporation Housing building

The Life Insurance Corporation Housing building ในเมืองอัห์มดาบาด ประเทศอินเดีย คือโครงการบ้านจัดสรร 324 ยูนิต มีระเบียงสองชั้น ภายใต้รูปทรงโมเดิร์นร่วมสมัย ซึ่งมีเเรงบันดาลใจมาจากห้องเเถวกลิ่นอายดั้งเดิม

The Tagore Memorial Hall

The Tagore Memorial Hall หนึ่งในผลงานที่โดดเด่นของ  B.V. Doshi  สร้างเสร็จในปี ค.ศ.1966 กับงานสถาปัตยกรรมสไตล์บรูทัลลิสต์ (Brutalist Architecture) เน้นรูปทรงเรขาคณิต สเกลใหญ่ และมีรายละเอียดที่ซ้ำ ๆ รวมถึงโชว์พื้นผิวธรรมชาติของวัสดุ ภายในอาคารประกอบด้วยอัฒจันทร์ขนาด 700 ที่นั่ง มีผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงสร้างภายในมีการบิดองศาไปมาเพื่อสร้างแสงเงาและระนาบที่น่าสนใจ

Amdavad ni Gufa

Amdavad ni Gufa นิทรรศการศิลปะในถ้ำใต้ดิน อีกหนึ่งผลงานการออกแบบเพื่อใช้จัดเเสดงผลงานภาพวาดของ Maqbool Fida Husain ศิลปินชาวอินเดีย เด่นด้วยการออกแบบทางเดินเหมือนอยู่ในถ้ำใต้ดิน ภายใต้โครงสร้างรูปโดมที่ตกแต่งผนังด้านบนด้วยกระเบื้องโมเสก

Aranya Low Cost Housing

Aranya Low Cost Housing ผลงานนี้ชนะรางวัล The Aga Khan Award สาขาสถาปัตยกรรมในปี ค.ศ. 1993-1995 รวมถึงรางวัล Pritzker Prize ปีนี้ด้วย มีคอนเซ็ปต์อยู่ที่การสร้างชุมชนเเละที่อยู่อาศัยเเบบยั่งยืน เพื่อให้ผู้คนกว่า 80,000 คน จากหลายฐานะสามารถอยู่ร่วมกันได้บนพื้นที่กว่า 500 ไร่

CEPT University

CEPT University สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1960 ที่นี่คือศูนย์กลางการเรียนรู้เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เพื่อการสร้างความสมดุลที่พอดีระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ ทางเดินภายในและอาคารเรียนต่าง ๆ ถกจัดวางแผนผังอย่างอิสระรอบคอบและชัดเจน รายล้อมด้วยการออกแบบแลนด์สเคปที่ลงตัว มีช่องเเสงให้เเสงเเดดสาดส่องเข้ามาในอาคารอย่างเพียงพอ ทั้งยังสามารถมองออกไปชมวิวทิวทัศน์รอบ ๆ ได้ถนัดตา

Indian Institute of Management

Indian Institute of Management ตั้งอยู่ในเมืองบังคาลอร์ ประเทศอินเดีย สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1983 ได้รับอิทธิพลการออกแบบมาจากการออกแบบเมืองและวัดในวัฒนธรรมอินเดียที่มีลักษณะเป็นเขาวงกต ตัวอาคาร ลานอเนกประสงค์ และหอศิลป์ถูกออกแบบให้เชื่อมต่อกัน โดยมีช่องทางเดินขนาดกว้างล้อมรอบทำหน้าที่ป้องกันความร้อนไม่ให้ส่องเข้ามาถึงพื้นที่ใช้งานโดยตรง เป็นการออกแบบที่คำนึงถึงสภาพภูมิอากาศเมืองร้อนได้เป็นอย่างดี

 // I always sensed the space as alive, Space and light and the kind of movement that gets into the space for me are very, very significant. That’s what generates a dialogue. That’s what generates activities. And that’s where you begin to become part of life. My architecture philosophy is: Architecture is a backdrop for life. //

           // ผมรู้สึกมาตลอดว่าสเปซนั้นมีชีวิต ที่ว่าง เเสง เเละการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในสเปซนั้นเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผม เพราะนั่นคือสิ่งที่ทำให้เกิดการสื่อสารเเละกิจกรรม เเละที่นั่นเองที่คุณจะเริ่มกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ปรัชญาทางสถาปัตยกรรมของผมคือ สถาปัตยกรรมคือฉากหลังของชีวิต //

– B.V. Doshi – 

เรื่อง Sara’
ภาพ www.pritzkerprize.com, www.archdaily.com, www.npr.org, architectuul.com

อ่านต่อ Meet The Masters

Glenn Murcutt สถาปนิกออสเตรเลียเจ้าของรางวัล Pritzker

The post Balkrishna Vithaldas Doshi สถาปนิกผู้อุทิศตนเพื่อการออกแบบสำหรับคนทุกชนชั้น appeared first on บ้านและสวน.


Viewing all articles
Browse latest Browse all 9916

Trending Articles


คลิปซูฉีอาบน้ำ เห็นหมด รีบดูก่อนโดนลบ


ยุงบินเหมือนกอดกัน 2 ตัว มันทำอะไรอยู่ครับ


ใครเคยสั่งครีมของ Ningchin shop บ้างคะ รีวิวครีมหน่อยคะ


แจกภาพพื้นหลัง iPhone สวยๆ (อัปเดต) หลายภาพหลายรูปแบบ


รหัสโอนเงิน tr to NATID คือ อะไรครับ


ใครรู้จักบริษัท the singular group บ้างครับ...


“โรคตุ่มน้ำพอง หรือ โรคเพมฟิกอยด์” อาการเป็นอย่างไร พร้อมวิธีป้องกันและดูแลรักษา


Notability อัปเดตใหม่เพิ่มฟีเจอร์เปลี่ยนลายมือให้เป็นตัวพิมพ์ภาษาไทยได้แล้ว


วิธีนับข้อมูลใน Pivot แบบไม่นับตัวที่ซ้ำกัน (Distinct Count)


เล่นแร่แปรสูตร : การแปลงวันที่ Text ให้เป็นวันที่ Date