จบไปแล้วอย่างน่าประทับใจสำหรับงานสัมมนา Guru Panel ประจำปี 2561 ที่ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ(องค์การมหาชน) จัดขึ้นเพื่อจะหาแนวทางการทำงานและวางนโยบายเพื่อการส่งเสริมงานหัตถกรรม หัตถศิลป์ของประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับทั้งในเวทีในประเทศและเวทีสากล วันนี้เว็บไซต์บ้านและสวนนำเนื้อหาโดยสรุปจากงานสัมมนา Guru Panel ประจำปี 2561 มาให้ผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมงานสัมมนาในวันนั้น ได้รับรู้ถึงรายละเอียดของแต่ละเทรนด์ ที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจและสามารถนำไปปรับใช้กับงานได้อย่างมีประโยชน์ค่ะ


Tropical Dream
บรรยาย: คุณดำรง ลี้ไวโรจน์บรรณาธิการบริหาร นิตยสาร Room
ที่มาของเทรนด์: ถ้า Trend คือการคาดการณ์แนวโน้มของ สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคตโดยอ้างอิงจากสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน สิ่งที่มีผล กระทบกับความรู้สึกของคนทั่วทั้งโลกก็คือเรื่องของการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าเทรนด์ไหนๆวงการใดต่างก็มีมุมมองเรื่องของสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่นับวันสถานการณ์เรื่องนี้ก็ค่อยๆใกล้ตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเทรนด์ Tropical Dream เองก็เช่นกันที่เกิดขึ้นจากตรงนั้น คำว่า Dream หรือความฝันของคนในสมัยนี้ เค้าสนใจเรื่องอะไรโดยพื้นฐาน แน่นอนก็คือความมั่นคงในชีวิต คุณภาพชีวิตที่ดีความเป็นอยู่ที่ดี ต่อเนื่องไปที่การเติมเต็มชีวิตด้วย Lifestyle ที่พาตัวเองไปสัมผัสกับพื้นที่สีเขียวเสียบ้าง นั่นก็คือการโหยหาธรรมชาติมากขึ้น และชัดเจนมากขึ้น Trend นี้เกิดขึ้นจากในประเทศทางฝั่งตะวันตกโดยเฉพาะเมืองที่มีอากาศเย็นแทบทั้งปี โอกาสที่จะได้สัมผัสสีเขียวของใบไม้มีน้อยมาก การเคลื่อนไหวของ Trend นี้เริ่มขยายมาในวงกว้างก็ตอนที่งานดีไซน์แฟร์ระดับโลกอย่าง Maison Objet ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีที่ Paris กล่าวได้ว่าการนำรูปภาพของใบไม้มาใช้ การนำสัตว์ Staff เข้ามาใช้ในการตกแต่งและมันเริ่มที่จะเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ ปี 2017 คนหันมาปลูกต้นไม้ในบ้าน พันธุ์ไม้ในร่มได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก การรับเอาเทรนด์นี้มาใช้ที่เราเห็นในตอนนี้ก็คือลวดลาย Graphic มาใช้ในรูปแบบต่าง ๆ มีการผสมสีด้วยคู่สีตรงกันข้าม วงการแฟชั่น เริ่มมีแบรนด์ดังๆ ทำ Collection ออกมาแบบ Tropical Dream งาน Interior ที่เราเริ่มเห็นและคุ้นชินกับ Wallpaper ที่หยิบเอาลวดลายของพรรณไม้มาใช้พักหนึ่งแล้ว ส่วนที่เป็น Product เอง ที่ยึดจากพื้นฐานของตัววัสดุก็ค่อนข้างออกแบบมาให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการนำ 3D Visual เข้ามาใช้ ในการจำลองภาพเพื่อทำให้เกิดบรรยากาศเสมือนให้คนรู้สึกว่าเค้าสามารถเข้าใกล้ธรรมชาติมากขึ้น

Retelling the Detailing
บรรยาย: คุณสมัชชา วิราพร บรรณาธิการเว็บไซต์ LivingAsean.com
ที่มาของเทรนด์: เพราะการเล่าเรื่อง (Story Telling) คือหนึ่งในตัวการสร้างมูลค่าให้กับชิ้นงานได้ ไม่ว่าจะเป็นงาน Craft งาน Design ต่างก็ต้องการๆเล่าเรื่องด้วยกันทั้งนั้น บ้านเราอาจจะคุ้นชินกับการเห็นและสัมผัสกับสิ่งนั้นๆทุกวันจนไม่ได้ให้ความสำคัญการการเล่า แต่ถ้ามองแบบ Designer หรือแม้กระทั่งผู้ประกอบการ การค้นพบทุกสิ่งภายใต้กระบวนการต่างก็สามารถนำเรื่องเหล่านั้นมาเล่าได้ ทั้งในรูปแบบ Product (ตัวผลิตภัณฑ์เอง) และ Process (วิธีการผลิต) โดยเรื่องของ Product ก็คือการนำเรื่องดีไซน์เป็นตัวนำ ส่วนเรื่องของ Process ก็สามารถเล่าได้ตั้งแต่ชุมชนต้นเรื่อง วิธีการผลิต ประวัติของวัสดุ หรือแม้แต่คนทำงาน (Maker) เอง ตัวอย่างการเล่าเรื่องที่ดีของงาน Craft จากต่างประเทศก็คือเก้าอี้ชื่อดัง Thonet Chair No. 4 ออกแบบมาตั้งแต่ปี 1859 นั่นคือการออกแบบมาแล้วกว่า 100 ปี ช่วงนั้นนับเป็นช่วงที่งานหัตถกรรมเริ่มปรับเข้าสู่ยุคของอุตสาหกรรม นั่นก็คือเริ่มมีการออกแบบให้มีน้อยชิ้นเน้นคุณสมบัติที่สามารถขนส่งได้โดยการออกแบบแพคเกจที่ประหยัดเนื้อที่ กล่าวคือแม้ส่วนประกอบทุกอย่างจะใช้คนทำ แต่การถอดประกอบโดยยึดหลักของการขนส่งเป็นที่ตั้ง นับเป็นเก้าอี้ตัวแรกก็ว่าได้ที่หยิบยกเอาเรื่องของ Process ของแกนความเป็นอุตสาหกรรมเข้ามาทำงานในเรื่องหัตถกรรม ทุกวันนี้เก้าอี้ตัวนี้ก็ยังได้รับการพูดถึงแต่ในบริบทที่ต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นในแง่มุมของที่มาของเก้าอี้ ดีไซน์เนอร์ภายใต้บริษัทที่ออกแบบ การใช้งานจาก Generation หนึ่งไปสู่ Generation วิธีการพูดเล่าเรื่องสร้างประเด็นใหม่ๆให้ผลิตภัณฑ์ เน้นไปที่การมองหามุมใหม่ๆในการเล่าเรื่อง ปัจจุบันการเล่าเรื่องยังมีแง่มุมใหม่ที่น่าสนใจที่สามารถช่วยเล่าเรื่องผลิตภัณฑ์ในเชิงการย่อยอดที่ได้รับความนิยมไปทุกวงการนั่นก็คือการ Re-design ผลิตภัณฑ์และจัดนิทรรศการ สร้าง Event มีกิจกรรมพิเศษเป็นต้น

Righteous Craft
บรรยาย: คุณอัจฉรา จีนคร้าม ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร นิตยสารบ้านและสวน
ที่มาของเทรนด์: เป็นเทรนด์ที่เรียกได้ว่าเป็นการกลับไปที่เรื่องจุดเริ่มต้นก็ว่าได้ เพราะจริงๆแล้วทุกผลิตภัณฑ์ต่างก็เกิดขึ้นจากวิถีชีวิตในชุมชนของเรา ทุกเรื่องมีเรื่องจิตใจเข้ามาเกี่ยวข้อง ได้แก่ความดีงาม จริยธรรม หรือศีลธรรม ต่างก็มีผลกับ Product มากขึ้น จริงๆแล้วเทรนด์นี้เกี่ยวข้องกับเรื่อง Marketing Project โดยตรง สินค้าที่จะออกมาในรูปแบบของความมีจริยธรรมและทำให้เกิดความรู้สึกดีในการซื้อ ถ้าจะมองให้ชัดคือ Trend นี้ต่อยอดมาคำว่า Virtuous คอนเซ็ปต์น่าสนใจจากงาน Maison Object 2018 เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ที่ประกอบไปด้วย 2 วิธีการ ก็คือเรื่องวัตถุดิบที่จะเกิดขึ้นมาใหม่ และการเลือกใช้สินค้าเลือกใช้วัตถุดิบให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยที่ผู้ซื้อเองก็มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการซื้อ มีการคิดค้นและไตร่ตรองก่อนที่จะซื้อของแต่ละชิ้นไม่ใช่ว่าแค่ความสวยงามเท่านั้น แต่ยังเป็นการคิดในการสอบถามข้อมูลก่อนว่ามันทำมาจากอะไรต้นทางคือที่ไหนและก็สุดท้ายแล้วมันออกมารูปแบบเป็นอย่างไร และก็ในข้อต่อไปเป็นเรื่องของการสร้างในรายได้กลับสู่ชุมชนซึ่งจะทำให้เกิดการกระจายรายได้และก็สร้างผลิตภัณฑ์รวมถึงสร้างรายได้ให้กับกลุ่มคนในชุมชนนั้นๆด้วย ตัวอย่างแบรนด์ Precious Plastic ที่บอกว่าตัวเองว่าเป็นแบรนด์ที่พูดเรื่อง New life และ New Material นั่นคือตัว Designer เองเห็นตัวพลาสติกที่อยู่ในชีวิตประจำวันบ่อยๆ ทั้งขวดที่เกิดจากการใช้งานในชีวิตประจำวันเขาก็คิดเห็นว่าเราจะเอากลับมาทำยังไงได้บ้างไม่ใช่แค่การย่อยสลายเฉยๆ แต่คิดถึงการสร้าง Machine ขึ้นมาเพื่อให้เกิดเป็นวัสดุใหม่ๆ ไม่แค่ End Product แต่เป็นการคิดถึงต้นทางตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการออกแบบและก็คิดถึงวัตถุดิบไล่ลงมาจนถึงสิ่งสุดท้ายแล้วของความเป็น Product ที่สามารถใช้งานได้แล้วก็ขายงานได้จริงๆ ต่อเนื่องตัวอย่างด้วยแบรนด์อย่าง Best before จากฝรั่งเศสที่ทำงานกับชุมชนที่เมืองเจงกิสถาน ซึ่งชุมชนนี้ทำงานเน้นเป็นหลักและก็เขานำเทคนิคเก่า ๆ มาปรับใช้ใหม่เขานำมาออกในรูปแบบใหม่มาให้ขายได้ง่ายขึ้นแล้วก็มีหน้าตาที่เรียนแบบธรรมชาติ และ ก็นึกถึงสิ่งแวดล้อมด้วยในการใช้ตัววัตถุดิบให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด สุดท้ายตัวอย่างจากแบรนด์เพื่อนบ้านเราก็คือ Ra-day นะคะ Ra-day (ภาษาพม่าแปลว่าสวยงาม) การทำงานร่วมกับกลุ่มคนในท้องถิ่นจริง ๆ โดยนำกลุ่มผู้หญิงที่มีที่อาจจะด้อยคุณภาพ ด้อยโอกาสในสังคม (ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อ HIV)ให้ความรู้ในด้านงาน Craft จากนั้นก็พัฒนาฝีมือในการทำผลิตสินค้าขึ้นมาขายในพม่า จึงกล่างได้ว่า Feel Good ก็เท่ากับ Good Product ได้เช่นกัน

Hospita (sur) reality
บรรยาย: คุณนัทธมล ตั้งตรงมิตร ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหารนิตยสาร Room
ที่มาของเทรนด์: จุดเริ่มต้นของเทรนด์นี้มาจากผลของการวิจัยทางการตลาดข้อมูลจาก Global Hotel Network ที่มองว่ากลุ่มเป้าหมายสำคัญของปี 2019-2020 ก็คือกลุ่ม Gen-Y (ผู้ที่เกิดในปี 1990-2000) โดยคนเหล่านี้มีความน่าสนใจตรงที่กำลังซื้อของเขาไม่ได้อยู่ที่เฉพาะที่พักหรือโรงแรมดีๆ แต่ยังต่อเนื่องไปถึงเรื่องแฟชั่นไอเท่มอย่างกระเป๋าเดินทางหรือ Accessories ร่วมด้วยเช่นกัน การวิจัยยังบอกอีกว่าคนเหล่านี้ให้ความสำคัญกับเรื่องของดีไซด์และประสบการณ์กับการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ประสบการณ์ที่ไม่ใช่แค่ความสะดวกสบายในโรงแรม 5 ดาว แต่เป็นประสบการณ์พิเศษที่ทำให้เขาอยากนำเสนอสิ่งนั้นป่าน Social media ของเขา การได้ออกไปใช้ชีวิตท่ามกลางธรรมชาติอย่างเข้มข้นซึ่งมันหมายถึงการเติมเต็มความหลงใหลในธรรมชาติที่อาจจะขาดหายไปในเมือง ซึ่งความสนใจเหล่านี้เองที่ถือเป็นโอกาสที่งาน Craft จะได้เข้ามาอยู่ Space เพื่อสร้างประสบการณ์ที่เรียกว่า New luxury งาน Craft ที่ใช้ทั้งเวลา พละกำลัง พลังงาน และการลงทุนมหาศาลที่เทียบได้กับความหรูหราที่หาไม่ได้ง่ายๆ เมื่องาน Craft เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ Space การนำมาใช้งานในธุรกิจท่องเที่ยวหรือบริการ สิ่งที่ Gen-Y รู้สึกเสมือนการที่เดินเข้าพิพิธภัณฑ์ดีๆ ของแต่งบ้านหรือ Furniture ที่ทำจากงานคราฟต์ทุกชิ้นเหมือนกำลังตะโกนบอกเล่า Trend ของตัวเองอยู่ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นคำว่า Localised การสื่อถึงตำแหน่งที่มาของชิ้นงาน Craft นั้นๆ คำว่า Find art กับ Craft ที่ผสมผสานกัน จนแยกกันไม่ออกเพราะศิลปินและช่างฝีมือต่างก้าวเข้ามาในพื้นที่ของกันและกัน สร้างสรรให้งาน Craft มีคุณค่าเทียบเท่างานศิลปะชิ้นเอก คำว่า Impossible Object คือชิ้นงานที่ไม่น่าเป็นไปได้ งาน Craft ที่เกิดขึ้นจากการลงทุนทั้งเวลา ความสามารถ และก็พลังงานทุกอย่างที่ทำให้เรารู้สึกทึ่ง นั่นอาจไม่จำเป็นว่าต้องเป็นงานฝีมือ อาจจะเป็นงาน Digital ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่แสดงให้เห็นถึงความเป็นมนุษย์เข้าไป นั่นคือความสามารถในการผลิตซ้ำได้ สุดท้ายคำว่าก็คือ Sustainability หรือกระแสความยั่งยืนที่ไม่เคยล่าสมัย การให้ความสำคัญกับคำว่ารับผิดชอบกับทุกอย่างรอบตัว ในกรณีของ Maker ก็คือการเข้าใจในจุดประสงค์ของการสร้างงาน Craft การเลือกวัสดุต่างๆ นับเป็นความรับผิดชอบของผู้ประกอบการ กับช่างฝีมือที่ควรมองหาโอกาศการสร้างเครือข่ายกับชุมชน เพื่อเกิดการพัฒนาธุรกิจที่ยั่งยืน

และนี่ก็คือ 4 เทรนด์น่าสนใจที่เราได้จากสัมมนา Guru Panel ประจำปี 2561 ปีนี้ เชื่อว่าหลายคนที่เป็นทั้งเมคเกอร์ ดีไซน์เนอร์ หรือผู้ประกอบการน่าจะได้แรงบันดาลใจนำทั้ง 4 เทรนด์ที่กำลังมาในปีนี้และปีหน้าไปต่อยอดสร้างสรรค์ผลงาน หรือธุรกิจของท่านได้ไม่มากก็น้อยนะคะ
The post 4 เทรนด์น่าจับตาจากสัมมนา Guru Panel 2561 appeared first on บ้านและสวน.