ปัญหาจากทางบ้าน : บ้านติดริมคลองมีแนวเขื่อนกั้นน้ำของทางกทม.เรียบร้อย แต่ปัญหาคือเขื่อนนั้นไม่สามารถป้องกัน การกัดเซาะของดินหลังแนวเขื่อน ทําให้น้ำยังกัดเซาะ จนเรือนริมน้ำหายไปแล้วหนึ่งหลัง เราจะมีแนวทางป้องกันอย่างไรได้บ้างครับ การปลูกบ้านบนพื้นที่เช่นนั้น ควรจัดการเรื่องเสาเข็มอย่างไร หากต้องการให้สถาปนิกมาช่วยออกแบบ เราควรเริ่มต้นอย่างไรครับ
The EDITORS : การแก้ไขปัญหาสําหรับบ้านที่ตั้งอยู่หลังแนวเขื่อนกั้นน้ำของสํานักงานเขตหรือกทม.ที่เกิดการเล็ดลอดของน้ำเข้ามากัดเซาะพื้นดินหลังแนวเขื่อน มีวิธีแก้ไขโดยก่อกําแพงกันดิน-กันน้ำชิดหลังแนวเขื่อนกั้นน้ำของสํานักงานเขตหรือ กทม.อีกชั้นหนึ่งโดยต้องระมัดระวังไม่ให้เขื่อนกั้นน้ำเสียหาย ใช้ลักษณะของกําแพงกันดินที่เรียกว่า “Cantilever Wall” เพื่อ ให้สามารถรับแรงได้ดียิ่งขึ้นหลังจากนั้นจึงค่อยถมดินกลับเข้าไป สําหรับเรื่องการถมดินริมตลิ่ง ในพื้นที่ซึ่งรถบรรทุกไม่สามารถเข้าถึงได้ก็จําเป็นต้องพึ่งบริการทางเรือของผู้รับเหมาในพื้นที่ซึ่งมักบริการทั้งเรื่องการก่อสร้างรวมไป ถึงดินด้วยสามารถสอบถามเพื่อติดต่อช่างผู้รับเหมางานลักษณะนี้ได้จากคนในชุมชนริมน้ำนั่นเอง ส่วนเรื่องของเสาเข็ม ใช้เสาเข็มธรรมดาได้แต่ควรจะสำรวจพื้นดินเพื่อหาความยาวและจำนวนของเสาเข็มที่เหมาะสม โดยปรึกษาเรื่องของการว่าจ้างทีมงานเจาะสำรวจดินได้กับทางวิศวกร วิธีทั้งหมดที่กล่าวมานั้นถึงแม้จะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง แต่ก็สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำกัดเซาะพื้นดินหลังเขื่อนกั้นน้ำได้อย่างถาวร
The post [THE EDITORS] การถมดินเพื่อการปลูก บ้านริมน้ํา appeared first on บ้านและสวน.