Quantcast
Channel: บ้านและสวน
Viewing all articles
Browse latest Browse all 9919

LIVING UP IN THE AIR –บ้านโมเดิร์น ดีไซน์โฉบเฉี่ยว สะดุดตา

$
0
0

บ้านโมเดิร์น ดีไซน์โฉบเฉี่ยว – LIVING UP IN THE AIR

/ หน้าที่ของสถาปนิกคือการออกแบบบ้านให้ดูมีมูลค่ามากกว่าราคาจริงเรามีหน้าที่โดยตรงที่จะต้องดีไซน์เพื่อควบคุมราคาให้ได้ไม่ใช่ว่าออกแบบเพื่อความมันของเราเพียงฝ่ายเดียว แต่ต้องเลือกได้ว่าส่วนไหนควรโชว์ ส่วนไหนไม่ต้องโชว์ เพื่อช่วยเจ้าของบ้านประหยัด /

ERM_167_p104-120_rm2rm3-1

ถ้าเปรียบ Personal Shopper หรือที่ปรึกษาและให้คำแนะนำด้านแฟชั่นเป็นคนที่รับหน้าที่เลือกเครื่องแต่งกายให้เหมาะกับลูกค้าแล้ว สถาปนิกเองก็คงมีหน้าที่ไม่ต่างกันในการเลือกสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อตกแต่งบ้านให้ออกมาน่าอยู่ รวมไปถึงตอบโจทย์ด้านฟังก์ชันให้ครอบคลุมทุกความต้องการของเจ้าของบ้าน ซึ่งต้องใช้ความไว้ใจและเชื่อในฝีมือระหว่างกันและกัน นี่จึงเป็นเหตุผลให้ คุณพิเศษศักดิ์ สมบูรณ์-เวชการ วางใจให้ คุณอยุทธ์ มหาโสม สถาปนิกจาก Ayutt and Associates Design ที่มีลายเซ็นในการออกแบบชัดเจน มาช่วยเนรมิตบ้านสำหรับสมาชิก 4 คนในครอบครัว บนที่ดินจัดสรรกว่า 1 ไร่ย่านพุทธมณฑลให้ออกมาตรงใจและลงตัว

ERM_167_p104-120_rm2rm3-9
อีกฟากหนึ่งของสระว่ายน้ำออกแบบให้เป็นห้องทำงานของคุณพ่อ โดยหลังคาด้านบนได้กลายเป็นระเบียงห้องส่วนตัวของลูกสาวคนที่สองไปในตัว

“เจ้าของบ้านต้องการบ้านโมเดิร์น ดูโฉบเฉี่ยว และสะดุดตาคนที่ผ่านไปผ่านมา” นี่คือโจทย์เบื้องต้นที่ทำให้สถาปนิกต้องกลับไปทำการบ้านอย่างหนัก เริ่มจากการคิดฟอร์มของบ้านก่อนเป็นอันดับแรก จนมาลงตัวที่บ้านเดี่ยว 2 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 1,200 ตารางเมตร เด่นด้วยองค์ประกอบที่เป็นเหลี่ยมมุมดูน่าสนใจ โดยสถาปนิกได้นำเรื่องของมุมมองการเข้าถึงทั้งจากภายนอกและภายในมาเป็นตัวกำหนดตำแหน่งและส่วนยื่นยาวที่ถือเป็นกิมมิกของอาคาร โดยเฉพาะพื้นที่มุมห้องบนชั้น 2 ที่ยื่นออกจากตัวอาคารแบบไม่มีเสามารองรับ ทำให้ส่วนนี้ดูเหมือนลอยอยู่เหนืออากาศ เก็บรายละเอียดของคานที่ยื่นออกไปนี้ให้ดูแหลมด้วยการปาดมุมออกแล้วกรุแผ่นอะลูมิเนียมคอมโพสิตสีดำ ช่วยให้สัดส่วนอาคารดูไม่หนาเทอะทะอีกทั้งยังช่วยให้บ้านมีลุคเฉียบคมและมีลูกเล่นมากขึ้นแทนที่จะเป็นบ้านโมเดิร์นทรงกล่องสี่เหลี่ยมแบบทั่วไป

บ้านโมเดิร์น ดีไซน์โฉบเฉี่ยว
มุมแหลมที่ยื่นออกมาจากอาคารถือเป็นจุดเด่นที่สุดของบ้านหลังนี้ โครงสร้างทำจากคอนกรีตเสริมเหล็กยาวถึง 6 เมตร เมื่อมองลงมาจะเหมือนลอยอยู่เหนือสระว่ายน้ำ นอกจากช่วยเรื่องความสวยงามของอาคารแล้ว ยังมีหน้าที่เป็นชายคาให้ห้องด้านล่างด้วย

นอกจากฟอร์มของบ้านที่มีเสน่ห์แล้ว ฟาซาดก็ถือเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้บ้านหลังนี้กลายเป็นที่จดจำของผู้คนที่ได้พบเห็น สถาปนิกเลือกใช้อะลูมิเนียมสีบรอนซ์ทองลักษณะเหมือนระแนงมากรุรอบอาคาร โดยเว้นจังหวะไว้สำหรับส่วนที่ต้องการให้แสงและลมพัดผ่านความพิเศษของอะลูมิเนียมสีบรอนซ์ทองคือ เวลาที่แสงอาทิตย์ตกกระทบลงบนพื้นผิว สีสันที่เกิดขึ้นจะเปลี่ยนไปตามสเปกตรัมของแสง ทำให้ฟาซาดมีสีสันเปลี่ยนแปลงไปไม่ซ้ำกันตลอดทั้งวัน นอกจากนี้บางช่วงอาจมองเห็นผนังอาคารไล่เฉดสีแบบการ์เดียน ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น องศาของดวงพระอาทิตย์ ความเข้มของแสง และตำแหน่งขณะยืนมอง

ERM_167_p104-120_rm2rm3-17
โครงสร้างที่ยื่นออกไปในส่วนของห้องนอนลูกสาวคนเล็ก สถาปนิกได้ออกแบบให้มีเสาทรงกลมมาช่วยรับน้ำหนัก ซึ่งดีกว่าเสาสี่เหลี่ยมในแง่ของอันตรายที่อาจเกิดจากเหลี่ยมมุมแถมยังใช้พื้นที่น้อยกว่า จึงทำให้มองเห็นวิวภายนอกได้อย่างถนัดตา

แน่นอนว่าบ้านที่ดีไม่ได้มีแค่เรื่องความสวยงามเพียงอย่างเดียว เพราะในขณะที่สถาปนิกออกแบบฟอร์มอาคาร ยังต้องคำนึงถึงส่วนต่าง ๆ ของบ้านไปพร้อมกันทั้งในเรื่องความสูงของบ้านที่สูงขึ้นจากถนนถึง 1.50 เมตรเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำท่วมซ้ำอย่างในปี 2554 ซึ่งสูงถึง 1 เมตรโดยได้ออกแบบให้พื้นที่ตั้งแต่หน้าบ้านมีลำดับการเข้าถึงแบบเป็นสเต็ปผ่านบันไดสลับกับทางลาด พื้นที่แต่ละชั้นได้ปลูกหญ้าและต้นไม้เอาไว้เพื่อสร้างประสบการณ์การเข้าถึงตัวบ้าน ไม่ให้ผู้ใช้อาคารรู้สึกถึงระดับความสูงที่แตกต่างกันเกินไป

ERM_167_p104-120_rm2rm3-5
พื้นที่ส่วนกลางของบ้านออกแบบเป็นดับเบิ้ลสเปซ มีประตูบานเฟี้ยมขนาดใหญ่ สามารถเปิดออกได้จนสุดเพื่อให้แสงธรรมชาติและลมเย็น ๆ จากสระว่ายน้ำพัดผ่านเข้ามายังพื้นที่นั่งเล่นภายในได้สะดวก จนแทบไม่ต้องเปิดเครื่องปรับอากาศใด ๆ

ERM_167_p104-120_rm2rm3-3

ERM_167_p104-120_rm2rm3-14
สถาปนิกสร้างกิมมิกให้บริเวณโถงชั้นสองด้วยการทำสวนขนาดเล็ก เริ่มจากทำกระบะปูนความลึก 1 เมตร สามารถปลูกต้นไม้ใหญ่ได้สบาย ๆ ส่วนบริเวณทางเดินตรงข้ามกับสวนก็กรุกระจกเงา เพื่อช่วยสะท้อนเงาต้นไม้เสมือนกำลังเดินผ่านสวนทั้งสองด้าน

ERM_167_p104-120_rm2rm3-15

ส่วนในเรื่องของฟังก์ชันภายในสถาปนิกบอกว่าเหมือนการออกแบบ “คอนโด 3 ยูนิตให้อยู่ภายในบ้านหลังเดียว” พื้นที่ต่าง ๆ ในบ้านได้รับการจัดแบ่งตามลักษณะการใช้งานจริง โดยให้ยูนิตของคุณพ่อคุณแม่อยู่ชั้นล่าง และให้พื้นที่ของลูกสาวทั้งสองคนอยู่ชั้น 2 ซึ่งทุกคนสามารถมาใช้พื้นที่ส่วนกลางร่วมกันได้ท่ามกลางบรรยากาศที่ดูคล้ายศาลาพักผ่อนหรือพาวิลเลียน เด่นที่การออกแบบฝ้าเพดานสูงแบบดับเบิ้ลสเปซเพื่อสร้างความรู้สึกโปร่งโล่งไม่อึดอัด เช่นเดียวกับพื้นที่ทั้งสองชั้นของบ้านที่มีขนาดฝ้าเพดานสูงถึง 3.50 เมตร แนวคิดสำคัญอีกอย่างคือ การวางตำแหน่งห้องที่มีประโยชน์ใช้สอยหลักไว้ทางทิศเหนือ จึงสามารถใช้พื้นที่ห้องนั่งเล่นส่วนรับประทานอาหาร แพนทรี่ และสระว่ายน้ำ ที่เป็นพื้นที่ส่วนกลางได้ตลอดทั้งวัน

ERM_167_p104-120_rm2rm3-8
มุมมองภายในของพื้นที่ส่วนกลางที่มีความกว้าง 1.70 เมตร และยาว 14.50 เมตร เมื่อรวมกับดับเบิ้ลสเปซยิ่งช่วยให้ห้องดูใหญ่กว่าปกติ ผู้ออกแบบจึงต้องวางเฟอร์นิเจอร์ขนาดใหญ่ให้ขนานไปกับความยาวและอยู่กึ่งกลางห้อง อีกทั้งยังปูกระเบื้องแผ่นใหญ่เพื่อควบคุมสัดส่วนให้สมดุลกับสเปซ สร้างความรู้สึกที่ชวนผ่อนคลายและน่าเข้ามาใช้งาน

ERM_167_p104-120_rm2rm3-7

ERM_167_p104-120_rm2rm3-12
โถงบันไดหลักของบ้านเป็นรูปตัวยู(U) และมีชานพักตรงกลาง ใช้ราวกันตกกระจกใสเพื่อลดความอึดอัดของพื้นที่ อีกทั้งยังสร้างความสดชื่นด้วยการสร้างสวนเล็ก ๆไว้ตรงข้ามกับบันไดอีกด้วย

สำหรับงานตกแต่งภายในจำเป็นอย่างมากที่สถาปนิกต้องเข้ามามีส่วนช่วยในการเลือกเฟอร์นิเจอร์ให้มีความเหมาะสม โดยพิจารณาจากฟอร์มของบ้านเป็นหลักภาพรวมของงานตกแต่งจึงออกมาในแนวมินิมัล เรียบง่ายตรงไปตรงมา ดูเป็นสัดส่วนเดียวกับพื้นที่ เช่นเดียวกันกับการเลือกใช้ธีมสี ทั้งเจ้าของบ้านและสถาปนิกได้เลือกใช้ธีมสีอ่อนเป็นหลัก เนื่องจากต้องการขับให้เปลือกอาคารอะลูมิเนียมสีทองดูโดดเด่นไม่มีสีเข้มมาดึงความสนใจ

ERM_167_p104-120_rm2rm3-16
ห้องนอนลูกสาวคนโตตกแต่งด้วยโทนสีขาวสะอาดตา มุมที่เกิดจากการยื่นของอาคารถูกแทนที่ด้วยเก้าอี้นั่งตัวใหญ่ไว้สำหรับนั่งมองวิวสระว่ายน้ำได้อย่างเพลิดเพลิน
ERM_167_p104-120_rm2rm3-18
ห้องนอนลูกสาวคนเล็กแยกสัดส่วนห้องทำงานและห้องนอนออกจากกัน โต๊ะทำงานเป็นเฟอร์นิเจอร์แบบบิลท์อิน ส่วนผนังและพื้นเน้นโทนสีอ่อนให้ความรู้สึกสบายตาเวลาทำงาน
ERM_167_p104-120_rm2rm3-19
ห้องน้ำภายในห้องนอนของลูกสาวคนเล็กมีขนาดใหญ่ถึง4 x 4.50 เมตร ซึ่งเป็นความต้องการของเจ้าของห้อง วัสดุกรุผิวส่วนใหญ่เน้นใช้กระเบื้องลายหินอ่อนสีขาว ยกเว้นเคาน์เตอร์อ่างล้างหน้าที่กรุด้วยหินแท้สีดำเพื่อสร้างความโดดเด่นทั้งยังสร้างกำแพงสีเขียวขนาดเล็กช่วยพรางสายตาได้ดี
ERM_167_p104-120_rm2rm3-13
ภายในห้องนอนของคุณพ่อคุณแม่ตกแต่งอย่างเรียบง่ายด้วยธีมสีขาวเหมือนส่วนอื่น ๆ ของบ้านออกแบบช่องเปิดกว้างตลอดแนวผนังเพื่อให้สามารถรับลมเย็น ๆ ได้ตลอดทั้งวัน

ERM_167_p104-120_rm2rm3-11

ตลอดระยะเวลาที่เราได้ฟังเรื่องราวของบ้านที่เต็มไปด้วยความใส่ใจในทุกรายละเอียดหลังนี้ ทำให้เราแน่ใจได้อย่างหนึ่งว่า ทุกองค์ประกอบของบ้านล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างความสุขให้ผู้อาศัย และทุกส่วนย่อมมีหน้าที่ของตัวเอง เพราะบ้านที่ดีและอยู่สบายไม่จำเป็นต้องแพงเสมอไป แต่คุณภาพที่เกิดขึ้นใน สเปซมากกว่าคือเรื่องสำคัญ

ERM_167_p104-120_rm2rm3-22

 


เจ้าของ คุณพิเศษศักดิ์ สมบูรณ์เวชการ
ออกแบบสถาปัตยกรรม คุณอยุทธ์ มหาโสม Ayutt and Associates Design (AAd)
www.aad-design.com, www.facebook.com/AAgroup.design
อีเมล ayutt@aad-design.com โทร. 08-8221-9999
เรื่อง wanoi ภาพ ศุภกร ภาพประกอบ คณาธิป
เรียบเรียง Parichat K.

The post LIVING UP IN THE AIR – บ้านโมเดิร์น ดีไซน์โฉบเฉี่ยว สะดุดตา appeared first on บ้านและสวน.


Viewing all articles
Browse latest Browse all 9919

Trending Articles


คลิปซูฉีอาบน้ำ เห็นหมด รีบดูก่อนโดนลบ


ยุงบินเหมือนกอดกัน 2 ตัว มันทำอะไรอยู่ครับ


ใครเคยสั่งครีมของ Ningchin shop บ้างคะ รีวิวครีมหน่อยคะ


แจกภาพพื้นหลัง iPhone สวยๆ (อัปเดต) หลายภาพหลายรูปแบบ


รหัสโอนเงิน tr to NATID คือ อะไรครับ


ใครรู้จักบริษัท the singular group บ้างครับ...


“โรคตุ่มน้ำพอง หรือ โรคเพมฟิกอยด์” อาการเป็นอย่างไร พร้อมวิธีป้องกันและดูแลรักษา


Notability อัปเดตใหม่เพิ่มฟีเจอร์เปลี่ยนลายมือให้เป็นตัวพิมพ์ภาษาไทยได้แล้ว


วิธีนับข้อมูลใน Pivot แบบไม่นับตัวที่ซ้ำกัน (Distinct Count)


เล่นแร่แปรสูตร : การแปลงวันที่ Text ให้เป็นวันที่ Date