Quantcast
Channel: บ้านและสวน
Viewing all 9932 articles
Browse latest View live

รวมบ้านไม้สไตล์ล้านนา อบอุ่น อยู่สบาย

$
0
0

เอาใจคนรักบ้านสไตล์ล้านนา ด้วยไอเดียการแต่งบ้านไม้ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของภาคเหนือ แต่มีการผสมผสานฟังก์ชันการใช้งาน และความทันสมัยให้สอดรับกับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน ทำให้รูปแบบบ้านมีความร่วมสมัยมากขึ้น แต่ก็ยังเน้นให้ภายในบ้านมีการระบายอากาศที่ดี และมีการเชื่อมโยงกับธรรมชาติรอบบ้าน เพื่อให้คนในบ้านอยู่อาศัยได้อย่างอบอุ่น สบายกายและสบายใจ

1.บ้านตถตา บ้านไม้บนรอยเท้าของชาวล้านนา

เจ้าของ : แพทย์หญิงจิตราภรณ์ ความคนึง และนายแพทย์ณัฐธร ดาราพงศ์สถาพร    บ้านล้านนาอยู่สบาย
สถาปัตยกรรม: บริษัทสถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ จำกัด โดยคุณนันทพงศ์ เลิศมณีทวีทรัพย์
ออกแบบภายใน : คุณปรียชนัน สายสาคเรศ
ผู้รับเหมา: คุณวันไชย หงษ์แก้ว (สล่าเก๊า)
ผู้ควบคุมงาน : ยางนาสตูดิโอ และนายแพทย์ณัฐธร ดาราพงศ์สถาพร

บ้านไม้ บ้านเชียงใหม่

ครัวไทย บ้านไทย บ้านไม้ เรือนไม้
บ้านพื้นถิ่นประยุกต์ที่เลือกเฟ้นไม้เก่าจากบ้านในจังหวัดน่านมาออกแบบใหม่ โดยไม่ทิ้งงานฝีมือเชิงช่างของล้านนา ซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าของบ้านสนใจ นอกจากนี้ผู้ออกแบบยังกำหนดให้ภายในบ้านมีพื้นที่เชื่อมโยงกัน โดยรวมใต้ถุนกับชานเป็นส่วนเดียวกัน สามารถนั่งรับลมได้ภายใต้บรรยากาศที่เสมือนโอบล้อมด้วยป่าใหญ่ ส่วนภายในบ้านก็มีความโปร่งโล่ง สามารถมองเห็นกันและกันได้ในทุกพื้นที่ อีกทั้งการเปิดพื้นที่ส่วนต่างๆ เพื่อรับลมก็ยังเหมาะสมกับภูมิอากาศของเมืองไทยด้วย  อ่านต่อ 


2.บ้านน้อยบนดอยที่มีวิวภูเขาโอบล้อม 360 องศา

เจ้าของ-ออกแบบ : คุณณชนก เสียมไหม

เรือนยุ้งข้าว หลองข้าว บ้านใต้ถุนสูง

ส่วนนั่งเล่นแบบพื้นถิ่น

บ้านที่ประยุกต์จากยุ้งข้าวไม้หลังเก่า โดยยกมาตั้งประกอบและขัดเคลือบทำสีไม้ใหม่ พร้อมก่อผนังชั้นล่างโชว์ผิวฉาบด้วยซีเมนต์ผสมสีฝุ่นสีเหลืองเป็นครัวเปิดแบบไทยๆ ดูมีเสน่ห์แบบผสมผสานทั้งเก่าและใหม่เข้ากันได้อย่างสวยงามและใช้งานได้ดี ชั้นบนแบ่งพื้นที่เป็นส่วนนั่งเล่น ห้องนอน และห้องน้ำแบบเปิดโล่ง ตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้และสิ่งทอต่างๆลวดลายแบบชนเผ่าที่มาจากชาวเขาในละแวกใกล้เคียงไปจนถึงของที่ได้จากการเดินทางไปต่างประเทศ  อ่านต่อ


3.บ้านรับรองแขกในเรือนยุ้งข้าว

เจ้าของ : พันตำรวจเอกเกรียงศักดิ์ กัลยาวัฒนเจริญ
ออกแบบ : คุณผดุง ปาลี


บ้านรับรองแขกที่ดัดแปลงจากเรือนยุ้งข้าวเก่า โดยอิงงานสถาปัตยกรรมแบบล้านนา แต่ปรับขนาดให้สามารถอยู่อาศัยได้อย่างสะดวกสบาย ในส่วนของงานตกแต่งก็ใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เพิ่มความสวยงามด้วยรายละเอียดของงานไม้แกะ เฟอร์นิเจอร์สไตล์ไทยแบบขาสิงห์และขาคู้ เก้าอี้หวาย หรืองานเซรามิกโทนสีบลูแอนด์ไวท์ นอกจากนี้ยังใช้วัสดุธรรมชาติอย่างหินอ่อนและหินธรรมชาติ ซึ่งเก็บความเย็นได้ดี เมื่อรวมกับการออกแบบบ้านให้เปิดโล่งกลมกลืนไปกับธรรมชาติ ก็ช่วยสร้างบรรยากาศที่ทั้งน่าอยู่และเย็นสบายได้ไม่ยาก  อ่านต่อ


4.บ้านแก้วตาเหิน ปรัชญาแห่งศิลปะในแบบอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี

เจ้าของ – ตกแต่ง : คุณสุจินตนา จรรยาทิพย์สกุล

ออกแบบ  : อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี

บ้านไม้ บ้านภาคเหนือ บ้านไม้ บ้านภาคเหนือ

บ้านทรงไทยที่ดูมีเอกลักษณ์หลังนี้ได้รับการปั้นแต่งโดยศิลปินแห่งชาติ อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่บ้านจะแฝงไว้ด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรมอันหลากลาย รวมถึงปรัชญาศิลปะอยู่ทุกมุมในบ้าน ความอ่อนช้อยที่ผสานด้วยความแข็งแกร่งของบ้านที่มีชื่อว่า “แก้วตาเหิน” หลังนี้ คงเปรียบได้กับหญิงผู้งามสง่าเต็มเปี่ยมด้วยบารมี ชื่อของบ้านเป็นชื่อเรียกอีกชื่อของดอกมหาหงส์ ซึ่งมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว และเป็นดอกไม้ที่ คุณสุจินตนา จรรยาทิพย์สกุล เจ้าของบ้านชื่นชอบเป็นพิเศษ บ้านนี้ยังแฝงด้วยปรัชญาทางพระพุทธศาสนาในแทบทุกจุด  เครื่องเรือนและของตกแต่งล้วนเป็นของเก่าจากหลายประเทศในแถบเอเชีย  เช่น ไทย ล้านช้าง  ล้านนา  พม่า  ลาว  หลายชิ้นมีกลิ่นอายของยุโรปซึ่งได้จากยุคอาณานิคม บางชิ้นเป็นหีบไม้เก็บเสื้อผ้าและของใช้ในคาราวานยิปซีจากอินเดีย นอกจากนี้ยังมีข้าวของที่เป็นงานศิลปะจากแอฟริกา ศิลปะสไตล์อเมริกา รวมถึงเฟอร์นิเจอร์สมัยใหม่จากอิตาลี แม้จะเป็นการผสมผสานหลากวัฒนธรรมหลายอารมณ์ แต่ด้วยการจัดวางอย่างลงตัว ก็ทำให้ของทุกชิ้นอยู่ร่วมกันได้อย่างไม่ขัดตา  อ่านต่อ 


5. กรุ่นกลิ่นไม้ในบ้านสไตล์ล้านนา

เจ้าของ : คุณแทนธรรม รักขิตพินิจดุลย

ออกแบบภายใน : คุณฉัตริน อดิศรศักดิ์ธำรง

บ้านล้านนา บ้านไม้ เรือนยุ้งข้าว หลองข้าว

ห้องนั่งเล่น ห้องนอนไม้

สีสันที่อบอุ่น กลิ่นหอมอันมีเสน่ห์ และผิวสัมผัสที่ละมุมละไม เป็นคุณสมบัติพิเศษของเนื้อไม้ ซึ่งยากจะหาวัสดุใดมาทดแทน และเป็นจุดเริ่มต้นของความหลงใหลในไม้ที่นำพาให้ คุณแทนธรรม รักขิตพินิจดุลย์ ตัดสินใจดัดแปลงบ้านจัดสรรสไตล์โมเดิร์นหลังนี้ให้กลายเป็นบ้านสไตล์ล้านนา บ้านหลังนี้ดูโดดเด่นและแตกต่างจากบ้านหลังอื่นในโครงการอย่างสิ้นเชิง เพราะตัวบ้านตกแต่งด้วยไม้เนื้อแข็งผสมกับคอนกรีตกรุหินแม่น้ำ ล้อมรอบด้วยสวนสไตล์ทรอปิคัล รับกับทางเดินคอนกรีตตกแต่งพื้นผิวด้วยกรวดแม่น้ำทอดไปสู่ทางเข้าบ้าน ซึ่งตกแต่งด้วยเชิงบันไดตามแบบสถาปัตยกรรมล้านนา ถัดไปคือสวนและเรือนรับรองหลังเล็กที่ดัดแปลงมาจากหลองข้าว (เรือนเก็บข้าว) อันเป็นเอกลักษณ์ของบ้านล้านนา  อ่านต่อ


เอกลักษณ์ของบ้านภาคเหนือ

บางส่วนของภาคเหนือเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา จึงมีรูปแบบสถาปัตยกรรมเฉพาะ แตกต่างจากภาคอื่น สถาปัตยกรรมที่โดดเด่นที่สุดคือ “เรือนกาแล” เป็นเรือนสำหรับผู้มีฐานะ หรือผู้นำชุมชน แตกต่างจากเรือนสามัญชนตรงที่จะก่อสร้างด้วยความประณีต มีแบบแผนการสร้างเป็นระเบียบชัดเจน และมีการประดับ “กาแล” ซึ่งเป็นไม้แกะสลักสวยงามบนยอดจั่ว เรือนกาแลเป็นเรือนไม้เนื้อแข็ง ยกใต้ถุนสูงไม่มาก มักเป็นเรือนแฝด นิยมสร้างหลังหนึ่งใหญ่กว่าอีกหลังตามความเชื่อ มีหลังคาใหญ่ ชายคาคลุมเรือนเกือบทั้งหมด มีหน้าต่างน้อย ผนังผายออก มักมี “ฝาไหล” เป็นฝาไม้กระดานที่เลื่อนเปิด – ปิดได้เพื่อช่วยรับลมเข้าบ้าน และมีครัวไฟแยกออกไปเป็นสัดส่วน มี “เติ๋น” เป็นพื้นที่กึ่งเปิดโล่งอเนกประสงค์สำหรับใช้นั่งเล่น ซึ่งมีตำเเหน่งอยู่ระหว่างห้องกับ “นอกชาน” ที่เป็นพื้นที่เปิดโล่ง


รวบรวม : Tarnda      บ้านล้านนาอยู่สบาย

ภาพ : ฝ่ายภาพบ้านและสวน

รู้จักเอกลักษณ์เรือนไทย 4 ภาค

บ้านสไตล์ล้านนา กับศิลปะชนเผ่า

รวม ‘แบบบ้านไทยใต้ถุนสูง’ น่าอยู่ทุกหลัง

The post รวมบ้านไม้สไตล์ล้านนา อบอุ่น อยู่สบาย appeared first on บ้านและสวน.


กระถางปูนเปลือย ตัวช่วยให้มุมทำงานดูเท่และเป็นระเบียบเรียบร้อย

$
0
0

หนึ่งในสิ่งของที่จะช่วยให้มุมทำงานของเราดูเป็นระเบียบเรียบร้อยได้นั้น ก็คือ ภาชนะใส่ของ ซึ่งบางทีคุณอาจจะไม่จำเป็นต้องเสียเงินซื้อก็ได้ เพราะอันที่จริงเราสามารถประดิษฐ์ที่เก็บของด้วยตนเองแบบง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากเกินความสามารถ วันนี้ my home ก็จะพาเพื่อน ๆ ไปดูวิธีทำ กระถางปูนเปลือย  ที่ทำได้ไม่ยากเลย แถมยังได้ความสวยงามที่ไม่เหมือนใครอีกด้วย จะวางในบ้านหรือนอกบ้านก็ได้

ใครหลายคนอาจคิดว่าสิ่งประดิษฐ์จากปูนซีเมนต์ต้องมีวิธีทำยุ่งยาก เลอะเถอะแน่นอน  ไม่ต้องห่วงค่ะเราหาวัตถุดิบที่จะทำให้คุณประดิษฐ์ กระถางปูนเปลือย ได้ง่าย ๆ มาบอกต่อ  นั่นก็คือ “กาวยาแนวชนิดแห้งเร็วสีปูนซีเมนต์”  รับรองงานปูนจะกลายเป็นเรื่องเบา ๆ และสนุกสำหรับวันพักผ่อนนี้  แถมยังได้ภาชนะปูนในสไตล์คุณเองไว้แต่งบ้านอีกเพียบ

 

กระถางปูนเปลือย

อุปกรณ์ทำกระถางปูนเปลือย

  • ถังพลาสติก
  • พู่กัน
  • แก้วพลาสติก
  • สีอะคริลิก
  • ช้อน
  • ก้อนหิน
  • คัตเตอร์
  • กาวยาแนวชนิดแห้งเร็วสีปูนซีเมนต์

 

กระถางปูนเปลือย

ขั้นตอนการทำกระถางปูนเปลือย

1 ใส่กาวยาแนวชนิดแห้งเร็วสีปูนซีเมนต์ 2 ส่วน ในภาชนะที่จะผสม

 

กระถางปูนเปลือย

2 ใส่น้ำเปล่า 1 ส่วน ในภาชนะที่จะผสม

 

กระถางปูนเปลือย

3 คนส่วนผสมกาวยาแนวชนิดแห้งเร็วสีปูนซีเมนต์และน้ำให้เข้ากัน

 

กระถางปูนเปลือย

4 เทกาวยาวแนวที่ผสมเสร็จเรียบร้อยแล้วใส่ในภาชนะถ้วยพลาสติกรูปทรงที่ต้องการ

 

5 ใส่ก้อนหินแม่น้ำในแก้วพลาสติกใบเล็กแล้วนำมาวางตรงกลางกาวยาแนว เพื่อให้เป็นพื้นที่สำหรับใส่สิ่งของต่าง ๆ

 

6 กดแก้วพลาสติกใบเล็กที่ใส่หินให้จมลงไปเท่ากับปากภาชนะด้านนอก

 

7 รอให้กาวยาแนวแห้งสนิท 1 วันที่อุณหภูมิห้อง  ดึงแก้วพลาสติกใบเล็กที่ใส่ก้อนหินออก

 

8 ใช้คัตเตอร์กรีดแก้วพลาสติกด้านนอกแล้วดึงออก

 

กระถางปูนเปลือย

8 ตกแต่งลวดลายด้วยสีอะครีลิกตามที่ต้องการ รอให้สีแห้งสนิทจากนั้นทาซ้ำรอบสองเพื่อให้ได้คุณภาพสีที่เรียบเนียน

 

TIPS

กาวยาแนวชนิดแห้งเร็วสีปูนซีเมนต์  ยาแนวชนิดเนื้อละเอียด มีส่วนผสมของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เคมี และสีชนิดพิเศษจึงทำให้ไม่หลุดล่อน ไม่หดตัว ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ และมีส่วนผสมพิเศษ ดังนี้ สารไมโครแบน ไฮโดรโฟบิก สารยึดเกาะพิเศษ เอ็กตร้าบอนด์ และ อื่น ๆ ซึ่งเพิ่มคุณสมบัติป้องกัน ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราดำ ป้องกันการซึมน้ำ และเพิ่มแรงยึดเกาะ จึงช่วยให้มีการยึดเกาะสูง และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน เหมาะสำหรับร่องที่ต้องการยาแนวไม่เกิน 7 มม. ใช้ได้ทั้งงานภายนอก ภายใน สระว่ายน้ำ พื้นที่ที่ต้องการความสะอาดเป็นพิเศษ เป็นผลิตภัณฑ์ผสมสำเร็จเพียงเติมน้ำและผสมให้เข้ากัน ก็สามารถใช้งานได้ทันที

 

เลือกซื้อ ปูนสำเร็จรูป ให้ถูกกับการใช้งาน

 

เรื่อง : อรพรรณ  วัจนะเสถียรกุล

ภาพ : อนุพงษ์  ฉายสุขเกษม

สไตลิส : วรวัฒน์  ตุลยทิพย์

ผู้ช่วยสไตลิส : ณิชา  สำนองสุข, กัญญารัตน์  เนตรประสม, ไอรินทร์  ธนพิชัยศิลป์, นราวิชญ์  มวลจุมพล

The post กระถางปูนเปลือย ตัวช่วยให้มุมทำงานดูเท่และเป็นระเบียบเรียบร้อย appeared first on บ้านและสวน.

ใช้ชีวิตผ่อนคลายแบบพอดี ในเรือนพักหลองข้าว อำเภอสันกำแพง เชียงใหม่

$
0
0

จากหลองข้าวเก่ามาสู่เรือนพักผ่อนที่แวดล้อมด้วยธรรมชาติอันร่มรื่นท่ามกลางบรรยากาศที่สงบและเป็นส่วนตัวในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เจ้าของตั้งใจเก็บสถาปัตยกรรมโบราณเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ดูและสามารถใช้งานได้จริง โดยตั้งชื่อไว้ว่า “วิลล่า มัชฌิมา” เพื่อบอกถึงการใช้ชีวิตตามหลักทางสายกลาง

สถานที่: วิลล่า มัชฌิมา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่    บ้านไม้ใต้ถุนสูงสไตล์ล้านนา

สันกำแพงเป็นอำเภอที่อยู่ทางตะวันออกของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งใช้เวลาเดินทางออกมาจากกลางเมืองเพียงครึ่งชั่วโมงก็สัมผัสได้ถึงธรรมชาติและความสงบเงียบแบบชนบท และที่นี่ยังมีโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ซ่อนตัวอยู่ท่ามกลางแมกไม้น้อยใหญ่ ด้วยถนนขนาดเล็กด้านหน้าเป็นเหมือนปราการช่วยกั้นไม่ให้ความวุ่นวายและเสียงรบกวนจากรถยนต์ขนาดใหญ่เข้ามาถึง ภายในจึงสงบเงียบจนได้ยินเสียงใบไม้ไหวตามแรงลมและเสียงนกน้อยเจื้อยแจ้วอย่างชัดเจน เมื่อแหงนหน้าขึ้นมองฟ้าจึงเห็นเรือนไม้ไทยโบราณอยู่ด้านหลังแนวรั้วต้นไม้สีเขียวครึ้ม

ดูจากลักษณะที่ตั้งของเรือนไทยเก่าพอจะบอกได้ว่าที่นี่เป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนขนาดเล็กซึ่งอยู่กันแบบเรียบง่าย จึงไม่มีการกั้นรั้วสูงจนมองไม่เห็นเพื่อนบ้านใกล้เคียง แต่อาศัยต้นไม้เป็นขอบเขตธรรมชาติทางสายตา และที่นี่เองที่เป็นโฮมสเตย์ในชื่อ วิลล่า มัชฌิมา ที่พักสำหรับคนโหยหาธรรมชาติและความสงบในทางสายกลางที่พอดีกับจิตใจ

เรือนยุ้งข้าว  หลองข้าว  บ้านไม้
เรือนที่พักหลังนี้มองเห็นหลังคาทรงจั่วชัดเจนพร้อมกับซุ้มบันไดที่เป็นทางเดินเชื่อมไปสู่เรือนที่พักอีกหลังหนึ่ง
เรือนยุ้งข้าว หลองข้าว  บ้านไม้
หลองข้าวเก่านำมาปรับปรุงให้กลายเป็นวิลล่าสำหรับพักอาศัย โดยชั้นบนตกแต่งเป็นห้องนอนและใต้ถุนชั้นล่างเป็นพื้นที่่ใช้สอยส่วนกลาง
ความร่มรื่นจากต้นไม้น้อยใหญ่ที่คุณปูปลูกและจัดแต่งเอง  บางต้นก็หอบหิ้วมาจากกรุงเทพฯ ด้วยความผูกพันอย่างเฟินสไบนางต้นนี้
บ้านไม้ หลังคาจั่ว
จากแนวรั้วต้นไม้สีเขียวด้านหน้ามีประตูไม้บานเล็กเป็นทางเข้าสู่วิลล่าด้านใน

คุณปู- ชยสิริ วิชยารักษ์ ผู้หญิงซึ่งเคยเป็นที่รู้จักในฐานะเจ้าแม่อาคารโบราณ ผู้ปลุกปั้นบ้านเก่าทิ้งร้างกว่า 20 ปีริมแม่น้ำเจ้าพระยาให้กลายเป็น “พระยา พาลาซโซ” โรงแรมบูติกสุดสวย เธอมาเจอเรือนไม้เก่าหลังนี้ที่กำลังบอกขาย ด้วยความเสียดายไม่อยากให้สถาปัตยกรรมไทยโบราณต้องถูกรื้อทิ้งแยกส่วนขายเป็นชิ้นไม้เก่า ก็เลยตัดสินใจขอซื้อและลงมือลงแรงบูรณะทั้งหมดขึ้นใหม่ เพื่อปรับปรุงหลองข้าวเก่าของชาวเหนือให้กลายเป็นเรือนพักที่แสนสบาย

“ด้วยความที่เป็นหลองข้าวเก่ามีโครงสร้างเป็นไม้แต่ก็มีสเกลใช้งานเล็กๆ ที่ไม่เหมือนบ้าน เมื่อเรานำมาปรับปรุงให้เป็นบ้าน บางอย่างก็ต้องเติม อย่างการเพิ่มสัดส่วนความสูงของพื้นที่ในห้องน้ำ บางอย่างก็ต้องรื้อออกเช่นรายละเอียดที่มากเกินไป อย่างน้อยก็ถือว่าได้เก็บสถาปัตยกรรมโบราณเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ดูและสามารถใช้งานได้จริง โดยตั้งชื่อไว้ว่า วิลล่า มัชฌิมา’ เพื่อบอกถึงการใช้ชีวิตด้วยทางสายกลาง คือมีทั้งธรรมชาติและความสะดวกสบายแบบพอดี”

พื้นที่ใต้ถุน
พื้นที่ใต้ถุนบ้านใช้ประโยชน์เป็นพื้นที่ส่วนกลางได้อย่างอเนกประสงค์ทั้งเป็นมุมนั่งเล่นและรับประทานอาหาร
พื้นที่ใต้ถุน
ด้วยความที่เป็นพื้นที่ใต้ถุนเปิดโล่ง จึงได้มุมมองที่เชื่อมต่อถึงกันได้ รวมถึงรับแสงและลมธรรมชาติได้สบาย
นอกจากที่นั่งเล่นใต้ถุนบ้านแล้ว ยังมีตู้หนังสือให้เลือกหยิบอ่านเพื่อความผ่อนคลายได้

ตัวเรือนพักประกอบขึ้นมาจากหลองข้าวเก่า 2 หลัง มีซุ้มทางเดินเชื่อมอยู่ตรงกลาง แต่ละหลังจึงแบ่งเป็นห้องพักอย่างละหนึ่งห้องนอน พร้อมระเบียงไม้ขนาดกว้าง และมีลานนั่งเล่นส่วนกลางใช้จิบน้ำชากาแฟหรือเอนหลังอ่านหนังสือได้สบาย ส่วนใต้ถุนของทั้งสองหลังปรับให้เป็นพื้นที่ใช้สอยส่วนกลางซึ่งประกอบด้วยมุมนั่งเล่น มุมรับประทานอาหาร มุมอ่านหนังสือ และห้องครัวซึ่งมีอุปกรณ์สำหรับทำอาหารไว้อย่างครบครัน

แต่เสน่ห์ของโฮมสเตย์ในรูปแบบเรือนไทยนี้อาจไม่ครบสมบูรณ์ หากขาดความร่มรื่นทางธรรมชาติ ซึ่งคุณปูได้บรรจงปลูกและเติมแต่งไว้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ใหญ่ที่คอยให้ร่มเงา ไม้ทรงพุ่มให้ความรื่นรมย์ในระดับสายตา และไม้กระถางน้อยใหญ่มาเติมเต็มพื้นที่สีเขียวรอบๆ รวมถึงพืชผักสวนครัวที่ปลูกไว้ด้านในสุด ซึ่งสามารถหยิบจับมาใช้สอยเป็นส่วนประกอบสำหรับอาหารและเครื่องดื่มได้อย่างสบายใจ

ส่วนนั่งเล่นแบบไทย
ลานนั่งเล่นส่วนกลางบริเวณชั้น 2 จัดแต่งด้วยเบาะและหมอนให้นั่งกับพื้นได้สบาย
ที่นั่งไม้
ที่นั่งไม้ริมขอบระเบียงเหมาะสำหรับการนั่งมองท้องฟ้าที่ปลอดโปร่ง
หลองข้าว เรือนยุ้งข้าว ห้องนอนสีขาว
บรรยากาศผ่อนคลายภายในห้องนอนขนาดกะทัดรัด  เนื่องจากปรับปรุงพื้นที่มาจากสัดส่วนของหลองข้าวเก่า
เฟอร์นิเจอร์ไม้
เฟอร์นิเจอร์ไม้โบราณที่เข้ากับไลฟ์สไตล์ยุคสมัยใหม่ได้อย่างกลมกลืน
ระแนงไม้ฉลุ
แสงเงาสวยๆ ที่ทอดผ่านลวดลายของงานไม้เก่าสร้างความรู้สึกผ่อนคลาย
บริเวณลานกว้างเชื่อมต่อระหว่างเรือนที่พักกับบ้านของคุณปู  ประดับด้วยงานศิลปะจากเซรามิกที่แฝงนัยถึงสัจธรรมในชีวิต

ไม่เพียงจะเป็นที่พักที่กลมกลืนไปกับชุมชน แต่ของใช้ของตกแต่งภายในโฮมสเตย์เองก็สนับสนุนงานฝืมือของคนท้องถิ่นและงานออกแบบของดีไซเนอร์ไทย ทั้งโคมไฟ จานชามเซรามิก งานผ้าปัก และภาพประดับตกแต่ง หลายๆ อย่างจึงเป็นองค์ประกอบของธรรมชาติที่ลดการปรุงแต่ให้น้อยลง ภายในห้องพักไม่มีทีวี แต่มีไวไฟให้ใช้ ไม่มีเครื่องเสียงให้เปิดแต่มีหนังสือให้อ่านหลายเล่ม พร้อมทั้งจักรยานสำหรับขี่ชมธรรมชาติ ตลาด และชุมชนโดยรอบ หรืออยากเรียนทำอาหารไทย ปั้นเซรามิก และปักผ้า คุณปูก็สามารถจัดหาผู้เชี่ยวชาญมาสอนให้ได้ถึงบ้าน

ด้วยความที่เริ่มต้นเพียงสองห้องพักที่อยู่ภายในรั้วบ้านเดียวกับของคุณปู ถ้าต้องการจะมาดื่มด่ำธรรมชาติและความสงบสบายของที่นี่ ขอแนะนำให้ติดต่อนัดหมายพูดคุยกันล่วงหน้ากันก่อน เพื่อให้เจ้าบ้านเตรียมตัวพร้อมต้อนรับและยังอาจมีเวลาแนะนำที่เที่ยวแนวธรรมชาติที่ซุกซ่อนอื่นๆ ภายในชุมชนให้อีกด้วย


เรื่อง : ภัทรสิริ โชติพงศ์สันติ์    บ้านไม้ใต้ถุนสูงสไตล์ล้านนา

ภาพ : สิทธิศักดิ์ น้ำคำ

พักสบายในเรือนยุ้งข้าว ในเขตเมืองเก่าอายุกว่าพันปีของเวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่  

MARNDADEE HERITAGE RIVER VILLAGE

เรือนรับรองความสุข

 

  

The post ใช้ชีวิตผ่อนคลายแบบพอดี ในเรือนพักหลองข้าว อำเภอสันกำแพง เชียงใหม่ appeared first on บ้านและสวน.

แวะนอนชิลใน 3 โฮมสเตย์จากหลองข้าวไม้ ประสบการณ์ใหม่สุดอบอุ่น

$
0
0

ช่วงปลายปีอย่างนี้ หลายคนมุ่งหน้าขึ้นเหนือไปเที่ยวและสัมผัสบรรยากาศลมหนาว โฮมสเตย์กลายเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้ที่อยากสัมผัสวิถีชีวิตที่เรียบง่ายแบบคนในพื้นที่ และ 3 โฮมสเตย์ที่เรานำมาให้ชมกันนี้ออกแบบสร้างจากหลองข้าวเก่าได้อย่างสวยงามลงตัว เป็นรูปแบบที่พักอีกสไตล์ที่น่าลองไปพักผ่อนกันดูสักที

หลองข้าวหรือเรือนยุ้งข้าวนั้นถือเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของบ้านล้านนา ซึ่งจะต้องมีสถานที่ไว้สำหรับเก็บข้าวเปลือกไว้กินตลอดทั้งปี ลักษณะเป็นอาคารไม้ใต้ถุนสูง ยิ่งหลองข้าวมีขนาดใหญ่เท่าใด ก็ยิ่งสะท้อนความมั่งคั่งของบ้านหลังนั้นได้ ปัจจุบันมักนำมาดัดแปลงเป็นที่พักอาศัยที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นจากสัมผัสที่เป็นธรรมชาติของเนื้อไม้ ที่พักในภาคเหนือจำนวนไม่น้อยจึงได้นำมาออกแบบเป็นเรือนพัก เพื่อมอบประสบการณ์ในการพักแบบใหม่ที่อาจทำให้ใครหลายคนประทับใจ จนอยากมีหลองข้าวเป็นของตัวเองก็ได้นะ

ใช้ชีวิตผ่อนคลายแบบพอดี ในเรือนพักหลองข้าว อำเภอสันกำแพง เชียงใหม่

สถานที่: วิลล่า มัชฌิมา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

จากหลองข้าวเก่ามาสู่เรือนพักผ่อนที่แวดล้อมด้วยธรรมชาติอันร่มรื่นท่ามกลางบรรยากาศที่สงบและเป็นส่วนตัวในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เจ้าของตั้งใจเก็บสถาปัตยกรรมโบราณเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ดูและสามารถใช้งานได้จริง โดยตั้งชื่อไว้ว่า “วิลล่า มัชฌิมา” เพื่อบอกถึงการใช้ชีวิตตามหลักทางสายกลาง ตัวเรือนพักประกอบขึ้นมาจากหลองข้าวเก่า 2 หลัง มีซุ้มทางเดินเชื่อมอยู่ตรงกลาง แต่ละหลังจึงแบ่งเป็นห้องพักอย่างละหนึ่งห้องนอน พร้อมระเบียงไม้ขนาดกว้าง และมีลานนั่งเล่นส่วนกลางใช้จิบน้ำชากาแฟหรือเอนหลังอ่านหนังสือได้สบาย ส่วนใต้ถุนของทั้งสองหลังปรับให้เป็นพื้นที่ใช้สอยส่วนกลางซึ่งประกอบด้วยมุมนั่งเล่น มุมรับประทานอาหาร มุมอ่านหนังสือ และห้องครัวซึ่งมีอุปกรณ์สำหรับทำอาหารไว้อย่างครบครัน แต่เสน่ห์ของโฮมสเตย์ในรูปแบบเรือนไทยนี้อาจไม่ครบสมบูรณ์ หากขาดความร่มรื่นทางธรรมชาติ เจ้าของจึงได้บรรจงปลูกและเติมแต่งไว้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ใหญ่ที่คอยให้ร่มเงา ไม้ทรงพุ่มให้ความรื่นรมย์ในระดับสายตา หรือไม้กระถางน้อยใหญ่มาเติมเต็มพื้นที่สีเขียวรอบๆ  ถ้าต้องการจะมาดื่มด่ำธรรมชาติและความสงบสบายของที่นี่ ขอแนะนำให้ติดต่อนัดหมายพูดคุยกันล่วงหน้ากันก่อน เพื่อให้เจ้าบ้านเตรียมตัวพร้อมต้อนรับและยังอาจมีเวลาแนะนำที่เที่ยวแนวธรรมชาติที่ซุกซ่อนอื่นๆ ภายในชุมชนให้อีกด้วย  >>> อ่านต่อ 


พักสบายในเรือนยุ้งข้าว ในเขตเมืองเก่าอายุกว่าพันปีของเวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่  

สถานที่ : ยุ้งข้าวล้านนา  ซอยเวียงกุมกาม 7 หมู่ที่ 1 ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 08-9633 – 2573    โฮมสเตย์ไม้

ออกแบบ – ตกแต่ง : Lanna Architect Ltd. โดยอาจารย์อดุลย์ เหรัญญะ

ที่พักซึ่งดัดแปลงมาจากเรือนไยุ้งข้าว ปลูกสร้างในเขตเมืองเก่าอายุกว่าพันปีของเวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้โครงสร้างไม้ทั้งหมด มีการตั้งเสายกพื้นสูงทำให้มีบริเวณใต้ถุนตามแบบอย่างบ้านโบราณ และจัดวางกลุ่มเรือนใหม่ แต่ละเรือนออกแบบเป็นที่พักแบบ 2 ห้องนอนหรือ 3 ห้องนอน มีชานไม้และทางเดินเชื่อมต่อกันทุกเรือน นอกจากนี้ยังมีเรือนที่เปิดโล่งไม่มีห้อง ใช้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ พื้นที่ว่างโดยรวมเป็นสนามหญ้า และปลูกไม้พื้นถิ่น อาทิ ลำไย มะม่วง หรือหมาก แทรกอย่างเป็นธรรมชาติ สร้างร่มเงาให้เรือนแต่ละหลังได้เป็นอย่างดี  >>> อ่านต่อ 


ฟาร์มสเตย์ไม้เก่า คลุกเคล้าวัฒนธรรมล้านนา ในอำเภอแม่จัน เชียงราย

สถานที่ : AHSA FARMSTAY ตำบลป่าซาง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

ออกแบบ : creative crews
Structural Engineer  : WOR Consultants Co., Ltd.
Mechanical Engineer : EXM Consultant Co., Ltd.
Craft works : Bundanjai Co., Ltd. 

ห่างออกไปจากตัวเมืองเชียงราย มุ่งหน้าไปยังตีนดอยแม่สลอง ตำบลแม่จัน อำเภอแม่จัน หนีความวุ่นวายไปแอบอิงธรรมชาติแบบบ้าน ๆ กับเจ้าของพื้นที่ตัวจริงกันที่ AHSA FARMSTAY ฟาร์มสเตย์เล็ก ๆ ที่พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวผู้เสาะหาความสงบ และอยากสัมผัสกับวิถีชีวิตแบบพื้นบ้านอย่างแท้จริง บนผืนที่ดินกว่า 85 ไร่ นี้ ประกอบด้วยรูปแบบสัณฐานที่หลากหลาย ทั้งเนินเขา ที่ลุ่ม และที่ราบ ซึ่งล้วนอยู่ท่ามกลางธรรมชาติอันบริสุทธิ์และอุดมสมบูรณ์ เอื้อต่อการผ่อนคลายทั้งกายและใจ พร้อม ๆ กับสัมผัสวิถีชีวิตของผู้คนในท้องถิ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในความตั้งใจของเจ้าของที่ต้องการให้แขกผู้มาเยือนได้เปิดประสบการณ์รูปแบบใหม่ที่ไม่เคยพบเจอมาก่อน  ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของกิจกรรมการพักผ่อนต่าง ๆ  รวมไปถึงสถาปัตยกรรมที่สวยงามน่าสนใจ  แม้ตัวอาคารจะไม่ได้สร้างจากหลองข้าวเก่า แต่ก็มีการนำกะพ้อมหรือเสวียน ซึ่งเป็นยุ้งฉางสำหรับเก็บข้าวเปลือกมาตกแต่งเป็นกิมมิกในส่วนของศาลานั่งเล่นได้อย่างน่าสนใจ  >>> อ่านต่อ 


รวบรวม : Tarnda  ที่พักเรือนยุ้งข้าว 

ภาพ : ฝ่ายภาพบ้านและสวน และนิตยสาร room

รวมบ้านไม้สไตล์ล้านนา อบอุ่น อยู่สบาย

พักสบายในเรือนยุ้งข้าว ในเขตเมืองเก่าอายุกว่าพันปีของเวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่  

ใช้ชีวิตผ่อนคลายแบบพอดี ในเรือนพักหลองข้าว อำเภอสันกำแพง เชียงใหม่

The post แวะนอนชิลใน 3 โฮมสเตย์จากหลองข้าวไม้ ประสบการณ์ใหม่สุดอบอุ่น appeared first on บ้านและสวน.

A Conversation with TIDA สนทนากับคุณ วิภาวดี พัฒนพงศ์พิบูล

$
0
0

วันนี้ บ้านและสวน ได้มีโอกาสสนทนากับมัณฑนากรมากฝีมือผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการมานาน นั่นคือคุณเป้า -วิภาวดี พัฒนพงศ์พิบูล ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหารบริษัท P49 Deesign and Associates และนายกสมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย (TIDA) ในปัจจุบัน โดยสิ่งที่ได้พูดคุยนั้นมีหลากหลาย ตั้งแต่ภาพของวงการที่คุณเป้าได้มองเห็นการเปลี่ยนแปลงมาตลอด เรื่องของรางวัล TIDA Award ที่ได้กลับมาจัดอีกครั้งในรอบ 10 ปี ไปจนถึงเรื่องของผลกระทบจาก Covid-19 ที่มีต่อวงการมัณฑนากร รวมไปถึงบทบาทของ TIDA ว่าอะไรคือสิ่งที่สมาคมมัณฑนากรฯ ตั้งใจพัฒนา และผลักดันต่อไปในอนาคต

อ่าน : TIDA Awards 2019 13 รางวัล กับ 11 ผลงานออกแบบตกแต่งภายในที่ดีที่สุดของเมืองไทย

“สำหรับ TIDA Award ในอนาคต  เราได้ขยายสาขารางวัลขึ้นมาเพิ่มเติม เพราะอยากให้ไม่ว่าใครจะทำอะไรก็ตาม อยากให้เขามีเป้าหมาย ได้รับการพูดถึงมากขึ้น มีรางวัลให้กับเขา ในทางกลับกัน พอประเภทของรางวัลมีเยอะขึ้น ความหลากหลายของงานที่จะเข้ามา และความน่าสนใจดี ๆ ย่อมมีมากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน”

Q. อยากให้พี่เป้าช่วยเล่าถึงการเปลี่ยนแปลงของวงการมัณฑนากรที่มองเห็นจากสายตาของพี่ ว่ามีอะไรที่แตกต่างไปบ้างจากอดีตจนมาถึงปัจจุบัน?

คุณเป้า : “ถ้าให้ย้อนไปตั้งแต่เริ่มแรกเลยพี่ทำงานมากว่า 40 ปี แล้ว สมัยโน้นวงการแทบไม่มีใครเลยที่เป็นบริษัท Interior Design อย่างเดียว ส่วนมากก็เป็น Architect ที่มี Interior Design แล้วคนที่ใช้บริการส่วนมากก็เป็นคนที่มีสตางค์สักหน่อย ขณะที่เดี๋ยวนี้บริษัทที่เน้นทางด้าน Interior Design มีเยอะมาก อย่างตอนนั้นคนที่บุกเบิกก็จะมีคุณจรูญ อังศวานนท์ ซึ่งเขาแทบจะเป็นบริษัทแรก ๆ เลยที่เป็น Interior Design เพียว ๆ

“พอมาถึงสมัยนี้ก็เห็นได้ว่ามีบริษัทเยอะแยะเต็มไปหมดแล้ว คนทั่วไปก็เข้าใจมากขึ้นว่าการที่ใช้มัณฑนากรนั้น สามารถช่วย Add Value ให้กับเขา ได้ ไม่ว่าจะในฐานะบ้านอยู่อาศัย อย่าง บ้านจัดสรร บ้านตัวอย่างก็ใช้ มัณฑนากร ทำให้งานลงตัวสวยงาม หรือแม้แต่ธุรกิจอย่างร้านกาแฟเล็ก ๆ ก็มีบรรยากาศหน้าตาสวยงามกันทั้งนั้น  เมื่อก่อนถ้าจะไปร้านอาหารที่โก้ ๆ หน่อยก็ต้องเข้าโรงแรม เดี๋ยวนี้ร้านที่แยกออกมาเรียกว่า Freestanding  มีเต็มเมืองไปหมดเลย ส่วนนี้ทำให้วงการสนุกมาก ดีมาก ตกแต่งกันเท่ ๆ ทั้งนั้น นี่คือสิ่งที่เห็นได้ชัด ๆ เป็น Improvement ตรงนั้น

“คนเข้าใจมากขึ้นว่าร้านที่ทำการตกแต่งภายในสวย  ๆ และลงตัว สามารถช่วย Add Value ให้กับสินค้าของเขาได้ เพราะฉะนั้นก็เลยเป็นตลาดที่ดีมากอันหนึ่ง คนตื่นตัวกันมาก รู้จักแล้ว เข้าใจแล้ว ขนาดที่ว่า โฮมสเตย์ ใครจะนึกว่าจะได้รับความนิยมขึ้น เพราะอะไรนะหรอ พี่ก็ถามตัวเองนะว่าเพราะอะไร น่าจะเพราะว่าในตอนนี้การเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศง่ายขึ้นกว่าเก่าเยอะ แต่ก่อนต้องเป็นคนมีสตางค์ ไป ๆ มา ๆ ก็ต้องมีความชำนาญ ไปยาก ต้องเก็บเงินทำงานนาน ๆ แต่เดี๋ยวนี้การท่องเที่ยวเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายขึ้น อย่าง Bed and Breakfast ก็เป็นอะไรที่น่ารักไปหมด ไม่จำเป็นต้องอยู่โฮเทลที่ต้องอยู่บนตึก เป็น Chain ใหญ่ ๆ เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้ตัวเลือกมีเยอะแยะ อย่างในไทยเองก็ผุดขึ้นน่ารักเต็มไปหมด ไม่ต้องเป็นโฮเทลใหญ่ อยู่ต่างจังหวัดไม่กี่ห้องก็ทำได้ นั่นคือสิ่งที่เห็นในการเปลี่ยนแปลง และเห็นว่า Interior Design  เริ่มมีบทบาทมากขึ้นตรงนั้น

“แต่อันหนึ่งที่ตกใจพอสมควรเวลาที่พี่ได้ไปสอนเด็ก ๆ ตามมหาวิทยาลัย พี่จะได้คุยกับเด็ก ๆ หรือคุยกับอาจารย์ หรือแม้กระทั่งคนในวงการออกแบบเอกก็ตามว่า เด็กที่จบคณะมัณฑนศิลป์ไปทำงานด้าน Interior Design โดยตรงจะมีแค่ 50/50 ที่อยู่ในแขนงนี้จริง ๆ นอกนั้นเขาไปทำร้านกาแฟ ไปออกแบบเสื้อ หรือขายเสื้อแทน พอออกไปเยอะ คนที่เป็น Souce ของการทำงานแขนงนี้ ก็เหมือนจะน้อยลงตามไป”

Q. นั่นคือในส่วนของบทบาทของ Interior Design  ในสังคม แล้วถ้ามองในเรื่องของรูปแบบ หรือ Style ละครับ?

คุณเป้า“อันนี้คือชัดมาก อย่างเมื่อก่อนถ้าพูดถึงอะไรที่หรู ๆ  เมื่อ 20-30 ปี ก่อน ต้องออกไปในสไตล์  Classical ถึงจะเรียกว่า “หรู” แต่เดี๋ยวนี้ไม่ใช่แล้ว เผอิญพี่อาจยกตัวอย่างโรงแรมเยอะหน่อย เพราะเราอยู่ในวงการทำโรงแรมเยอะ เมื่อก่อนเจ้าของเดียวกันจะแบ่งเป็น 5 ดาว 4 ดาว 3 ดาวไล่ไป แต่เดี๋ยวนี้อาจเป็น 5 ดาว หมดเลยก็ได้ แต่คนละสไตล์เพราะเขารู้แล้วว่า ตลาดของคนที่ใช้ของเหล่านี้มีหลากหลาย แล้วเขาไม่ได้มุ่ง หรือเล็งไปที่กลุ่มลูกค้าแต่เฉพาะคนที่ชอบ Classical หรือ คนมีอายุ แต่เดี๋ยวนี้ความต้องการของคนมีหลากหลายและแตกต่างกัน อย่างคนอายุ 30 กับคนอายุ 60 ความชอบจะเป็นคนละสไตล์ เพราะฉะนั้นจึงมีความเป็นไลฟ์สไตล์ที่ต่างกันไป ตลาดมันหลากหลายมากขึ้น เพราะฉะนั้นแบรนด์ต่าง ๆ ที่ทำโฮเทลก็จะต้องเตรียมเก็บให้หมดทุกสไตล์ ตลาดมันเปลี่ยน สไตล์ก็ต้องเปลี่ยนตามไปด้วย เมื่อสังเกตดี ๆ การออกแบบในปัจจุบันมีความหลากหลายมากขึ้นกว่าเดิมมาก ทั้งการทำงานและตลาดเองที่เริ่มปรับตัวเข้าสู่ความหลากหลายนั้น ความงามมีได้หลายรูปแบบ การออกแบบที่ตอบรับก็ต้องหลากหลายตามไปด้วยเช่นกัน”

Q. ในส่วนของพี่เป้าเอง จากเมื่อตอนที่เริ่มทำงานจนมาถึงทุกวันนี้ มีแง่คิด หรือวิธีการทำงานอย่างไรครับ?

คุณเป้า : “สิ่งที่เชื่อเลยก็คืองานต้องตอบโจทย์ โจทย์ในที่นี้พี่แบ่งเป็น 3+1 ข้อ นั่นคือ 1.ต้องตอบโจทย์ลูกค้าให้ได้ เขาวางไดเร็คชั่นมา เราต้องทำความเข้าใจ และตอบสนองต่อสิ่งนั้นให้สำเร็จ 2.ต้องเคารพงบประมาณ จะไปทำงานแล้วเกินงบของลูกค้าไม่ได้  3.ต้องอยู่ในเวลา หรือที่เรียกว่า Schedule กลับมามองแบบการตลาด เขากำหนดมาแล้วว่าต้องเปิดตัวช่วงนั้นช่วงนี้ ถ้าเราเป็นคนที่ทำ Schedule เสียเอง ทุกอย่างก็ผิดแผนไปหมด ไม่ใช่แค่เราแต่เป็นลูกค้าที่เสียหาย และที่  +1 มาให้อีกข้อก็คือ ความเป็น Iconic คือการใส่ Artistic ลงไปในงาน 3 ข้อแรก เป็นเรื่องของการ Practice ถ้าทำได้ครบ นั่นคืองานที่ดี แต่ถ้าเราใส่ Artistic ลงไปได้ งานนั้นจะกลายเป็น Iconic ซึ่งเป็นสิ่งที่จะทำให้เรา Survive อยู่ในตลาดได้ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าทุก ๆ งานจะสามารถ +1 ข้อสุดท้ายนั้นได้ทั้งหมด ก็เป็นความฝันของทุกคน ถ้าทำได้ ใครก็อยากทำ

“ถ้าถามว่าทำไมต้องมีความเป็น Iconic นั่นก็เพราะหากเปรียบเทียบกับสถาปนิก เขาสร้าง Iconic ได้ง่ายกว่า เพราะตึก ๆ หนึ่งอยู่ได้นาน แต่อินทีเรียร์ที่จะอยู่ไปได้นาน ๆ พอมีตัวอย่างอยู่เหมือนกันนั่นก็คือ Spice Market ภัตตาคารที่อยู่ในโรงแรม ตอนนี้คือ Anantara Siam Bangkok Hotel โรงแรมนี้เริ่มจาก Pennisula Hotel เปลี่ยนมาหลายรอบ มีการรีโนเวตมาหลายครั้ง แต่สิ่งที่แทบจะไม่เปลี่ยนเลยคือ Spice Market เพราะเขาบอกว่าห้องนี้ห้ามเปลี่ยนเด็ดขาด  เหมือนเขาชอบกัน ถ้าย้อนกลับไปคือ ห้องอาหารในสมัยโน้นจะเน้นความหรูหรา แต่เราได้โจทย์มาว่าเป็นร้านอาหารไทย ซึ่งสมัยก่อนนี่ทำร้านอาหารไทยจะออกมาเป็นฝาปะกนแบบไทย ๆ แต่เราเลือกที่จะใช้สตรีทฟู้ด  คือนำร้านข้างถนนเข้าไปอยู่ในโรงแรมระดับ 5 ดาว  ก็เลยเป็นคอนเซ็ปต์ของ Spice Market ตอนแรกที่ได้โจทย์มา เราก็คิดอยู่นานเหมือนกัน นึกถึงเยาวราช เพราะพี่เองก็ชอบไปเดินแถวนั้น มันสวยเท่ ชอบมาก พอมีงานนี้เราก็เลยเลือกที่จะใช้รูปแบบนั้น มีการขึงผ้าใบ มีสายไฟโผล่มา ประตูเหล็กยืด เครี่องชั่งกิโล ใส่บรรยากาศริมถนนเข้ามา ปรากฏว่าเป็นเหมือนรูปแบบใหม่ และยังคงผ่านเวลามาได้จนถึงวันนี้ ส่วนหนึ่งก็เพราะมันฉีกจากความ “หรู” ที่คนคุ้นชินไปอีกทาง ภูมิใจว่าเราก็ทำ Iconic ให้เขาอยากที่จะเก็บเอาไว้ได้ ซึ่งก็อยู่มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1983 หรือนับได้เกือบ 37 ปี แล้ว”

Q. ขอกลับมาที่เรื่อง สมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย หรือ TIDA ผมเชื่อว่าหลาย ๆ คน อาจยังไม่รู้บทบาทหน้าที่ของสมาคมฯ ในฐานะนายกสมาคมอยากให้พี่เป้าเล่าให้เราฟังทีครับ

คุณเป้า : “สมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย ถ้าพูดให้ชัดก็คือถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนที่จะดูแลมัณฑนากรในประเทศ ดูแลผลประโยชน์ ความรู้ หรือคอนเน็กชั่น เพื่อที่ว่าจะได้พัฒนาให้แข็งแกร่งขึ้น อย่างตอนนี้เราก็ร่วมกับสภาสถาปนิก เพื่อที่จะผลักดันเรื่องตอบแทนต่าง ๆ แล้วก็พยายามที่จะช่วยเรื่องความรู้ เรามีจัดสัมมนา มีการส่งทีมของสมาคมไปเล็คเชอร์ตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ อย่างล่าสุดที่เราภูมิใจมาก ๆ คือ  Thesis Award ระดับทั่วประเทศ จัดขึ้นเพื่อที่จะยกระดับความรู้แขนงนี้ จากโจทย์ที่ว่าทำไมแต่ก่อนสังคมจะรู้จักแค่มหาวิทยาลัยที่อยู่ในกรุงเทพฯ รู้กันแค่นั้น แล้วต่างจังหวัดจะได้รับโอกาสอย่างไร? วิธีการที่เราค้นพบก็คือต้องทำให้เด็กได้เห็นงานซึ่งกันและกันให้ได้ เราก็ใช้วิธีให้เขาส่งงานเข้ามาจากทั่วประเทศ แล้วใช้วิธีการให้กรรมการเข้ามาคัดเลือกโดย “ปิด” ไม่ให้รู้ว่าส่งมาจากมหาวิทยาลัยไหน แล้วก็ให้คะแนน กรรมการเราก็เลือกจาก สถาปนิก อินทีเรียร์ และภูมิสถาปนิก ซึ่งเหมือนกับเป็นคนนอกจริง ๆ  ซึ่งทำให้เรารู้สึกเซอร์ไพร้ส์และยินดีมาก ๆ ที่หลายมหาวิทยาลัยติด Top Ten ในการประกวดเลยทีเดียว แล้วพวกเขาก็ได้เข้ามาพรีเซ้นต์ให้คณะกรรมการฟังอีกรอบหนึ่ง ตอนพรีเซ้นต์เราก็เชิญให้เข้ามาฟังทั้งหมดเลย เพราะในฐานะดีไซเนอร์ก็ต้องขายเป็นด้วย เราก็ทำมาหลายปีแล้ว  แล้วปี ๆ หนึ่งก็มีงานเข้ามาหลายประเภท อย่างหนึ่งที่ปรับเปลี่ยนไปคือ เรากำหนดให้มีงานหลัก ๆ อยู่ 2 แบบ คือ 1. Interior Design และ 2 .Spatial Design ไม่ใช่งานการออกแบบตกแต่งอย่างเดียวได้รับการตัดสิน และเมื่อได้ผู้ชนะเราก็จะส่งให้เด็กที่ชนะได้ไปเรียนต่อที่ Milan ต่อยอดไปอีกต่อหนึ่ง

“ส่วนที่เราพยายามให้มัณฑนากรรุ่นใหม่ ๆได้รับก็คือ ความรู้ และประสบการณ์ที่เราสามารถถ่ายทอดให้กันได้ เรามีความพยายามหาสิ่งที่น่าสนใจให้มัณฑนากรรุ่นใหม่ ๆ มีหลายวิธีเลยที่พยายาม อย่างตอนแรกก็ออกเป็น News Letter ความรู้ หรือจัดสัมมนา จัด Talk บ้าง ล่าสุดเราก็จัด  TIDA Club Nightเหมือนเป็นการสังสรรค์ แต่เราก็  Talk กับ Guest กันในปาร์ตี้เลย เราจัด Moderator แล้วก็ตอบกันสด ๆ ไปเลย ถามกันตั้งแต่ไลฟ์สไตล์ ไปจนถึงปรัชญาในการทำงาน ก็รู้สึกว่าได้รับการตอบรับที่ดีขึ้น สิ่งเหล่านี้ก็พยายามสอดแทรกลงไปในกิจกรรมต่าง ๆ”

“สุดท้ายว่าเรามี “สมาคมฯ” กันไปทำไม ก็ต้องบอกตรง ๆ ว่า การที่วงการมัณฑนากรจะสามารถต่อรอง หรือพูดคุยในภาพที่ใหญ่ขึ้น เช่น การพูดคุยกับรัฐบาล หรือหน่วยงานต่าง ๆ การกำหนดค่าตอบแทนวิชาชีพหรืออะไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ว่าเป็นใครเป็นตัวแทนแล้วจะไปพูดได้ แต่เราต้องมี “ชื่อ” ต้องมี “สมาชิก” ที่มารวมตัวกันในฐานะผู้ร่วมวิชาชีพ ขอให้ใครก็ตามที่ทำงานอยู่ในวิชาชีพนี้มา “ลงชื่อ” เป็นสมาชิกกันไว้หน่อย เพราะตอนนี้เราก็ยกเลิกค่าสมาชิกไปแล้ว เวลาที่ต้องผลักดันอะไร เช่น กฏหมายต่าง ๆ เราจะได้มีข้อต่อรอง และมีพลังที่เกิดจากทุกคนได้จริง ๆ แล้วสิ่งเหล่านั้นจะเห็นผลได้ชัดขึ้น”

Q. TIDA Award หายไปนานถึงสิบปี กลับมาพร้อมกับ 13 สาขารางวัล เกิดอะไรขึ้นกับ TIDA Award ครับ?

คุณเป้า : “ที่หายไปนานถึง 10 ปี ก็ต้องของบอกก่อนว่า การเป็นกรรมการสมาคมเป็นเรื่องที่ไม่เล็กนะ คือก็ต้องใช้พลังอยู่พอตัว แล้ว TIDA Award ก็หนักขึ้นไปอีก ครั้งนี้เรากลับมาก็อยากให้เข้ามาร่วมกัน เราไม่ได้เก็บค่าสมัครด้วย ส่วนหนึ่งเพราะเราไม่ได้ทำมานาน คิดว่าคนอาจจะลืมไปแล้ว เราใช้วิธีให้กรรมการช่วยคัดสรร งานไหนดี ๆ เจ๋ง ๆ ก็ส่งเข้ามา Purpose แล้วทีมงานก็ค่อยตามไปดูว่าเขาสนใจไหมเพื่อจะเชิญให้ส่งงานเข้ามาประกวด และในขณะเดียวกันเราก็เปิดโอกาสให้คนอื่น ๆ  สามารถส่งผลงานเข้ามาเองได้โดยตรง ขนาดนั้นแล้วก็ยังคิดว่างานยังไม่พอ ยังไม่ค่อยหลากหลายอย่างที่ตั้งใจไว้ แต่จากจุดนี้ก็คาดว่าในอีก 2 ปี จะกลับมาอีกครั้งเป็น TIDA Award 2021 คาดว่าจะได้รับการยอมรับและสนใจที่มากขึ้นอย่างแน่นอน

“ทีนี้พอมาเป็น TIDA Award เราทำอะไรได้มากกว่าธีซิสแน่นอน  อย่างโรงแรมก็มีอะไรเกี่ยวกับการตกแต่งที่ทำได้มากกว่า Coffee Shop แต่เราก็ไม่ได้โฟกัสที่โครงการใหญ่ ๆ เพียงเท่านั้น อย่าง Coffee Shop เราก็นั่งคิดกันอยู่นานว่า ประเภทรางวัลที่จะให้ควรเป็นคำว่า Creative Eatery น่าจะเหมาะ เพราะครอบคลุมในสิ่งที่เราอยากจะให้รางวัล  Fine Dinning หรือบาร์ ขายขนมก็ยังได้ เป็นสิ่งที่เริ่มน่าสนใจขึ้น นอกจากนั้นยังมีสายที่เป็น Education อย่าง ห้องสมุดตามมหาวิทยาลัย และอีกหลาย ๆ ประเภทที่ไม่จำเป็นต้องเป็นโรงแรม หรือภัตตาคารอย่างเดียว สาขารางวัลมีความหลากหลายขึ้น อละเป็นตัวอย่างที่ดีในหลายรูปแบบมากขึ้น”

“พอ Covid -19 โผล่มา เรื่องที่เปลี่ยนไปอีกอย่างคือ “เสน่ห์” ที่โรงแรมเคยเป็นมันเป็น “ประสบการณ์” ที่เปลี่ยนไปหมดหรือเปล่า อย่างการลงมานั่งเล่นสบาย ๆ ในโถง หรือชานระเบียงสวย ๆ การทานอาหารเช้าที่คนลงมาเป็นหลายร้อยคนนั่งทานกันในโถงใหญ่ ก็เปลี่ยนวิธีไปเพื่อป้องกัน หรืออย่างการไปเข้าพักแล้วไม่เจอใครเลย ก็ไม่ใช่เสน่ห์ของการพักโรงแรมที่เราคุ้นเคย”

Q. หรือ TIDA อยากให้คนเข้าถึงงานต่าง ๆ เหล่านั้นง่ายขึ้นด้วยหรือเปล่าครับ?

คุณเป้า : “ถ้าพูดตรง ๆ นั่นไม่ใช่จุดประสงค์ แต่เป็นผลพลอยได้ จุดประสงค์จริง ๆ ของการขยายสาขารางวัลก็คือ การที่เราอยากจะ “สนับสนุน” ให้กับผู้ออกแบบ ไม่ว่าสิ่งที่เขาทำจะคืออะไร เรามี Categories ให้กับทุกประเภทของงาน เพราะหวังว่าในอนาคต ไม่ว่าใครจะทำอะไรก็อยากให้เขามีเป้าหมาย ประเภทผลงานของเขาจะได้รับการพูดถึงมากขึ้น มีรางวัลให้กับเขา ในทางกลับกันพอประเภทของรางวัลมีเยอะขึ้น ความหลากหลายของงานที่จะเข้ามา ความน่าสนใจก็จะมากขึ้นตามไปด้วย นั่นคือสิ่งที่เราตั้งใจ เป็นจุดประสงค์ที่แท้จริง”

Q. Covid-19 มีผลต่อวงการมัณฑนากรอย่างไรบ้างหรือไม่ครับ?

คุณเป้า : “เรื่องนี้มีผลกระทบกับเรื่องโครงการเยอะ มีการหยุดไปก่อน คือแน่นอนมันส่งผลกระทบทันทีทั้งวงการ และที่ตื่นเต้นเร้าใจก็คือไม่รู้ว่าเรื่องนี้จะจบเมื่อไหร่ ซึ่งถ้าพูดถึงเรื่องโรงแรม ก็คือ Income ก้อนนี้เป็นก้อนที่ใหญ่มาก มีปัญหาแน่นอน แล้วโครงการที่กำลังทำก็ได้รับผลกระทบสืบต่อมาแน่นอน เป็นผลแรกเลยที่รู้สึก เราจึงคิดกันว่าต้องเตรียมตัว แต่ก็เตรียมตัวไปแบบไม่รู้ว่ามันจะเป็นแบบนี้ไปถึงเมื่อไหร่

“สำหรับการทำงานพอโควิดมา กระทบกับวิธีทำงานด้วยเช่นกัน การ Work from Home การประชุมก็เปลี่ยนวิธีกันไป การตรวจไซต์เรายังมีการถือกล้องวิดีโอเดินตรวจแล้วส่งภาพมาที่ออฟฟิศ โดยไม่ได้เข้าไปในพื้นที่บ้างเหมือนกัน มีวิธีการใหม่ ๆ ขึ้นมารองรับ ต้องหาวิธีขึ้นมาเลยว่าจะทำงานให้ลงตัวได้อย่างไร เป็นการบริหารสมองอยู่เหมือนกัน

“เรื่องที่เปลี่ยนไปอีกอย่างคือ เสน่ห์ ที่โรงแรมเคยเป็น  “ประสบการณ์” ที่แขกจะได้รับเมื่อเข้ามาพักผ่อนมันจะเปลี่ยนไปหมดหรือเปล่า กลายเป็นเรื่องที่ “กลัวโควิด” มากไปหรือเปล่า อย่างการลงมานั่งเล่นสบาย ๆ ในโถง หรือชานระเบียงสวย ๆ การทานอาหารเช้าที่คนลงมาเป็นหลายร้อยคนนั่งทานกันในโถงใหญ่ ก็เปลี่ยนวิธีไปเพื่อเป็นการป้องกัน หรืออย่างการไปเข้าพักแล้ว ไม่เจอใครเลย ก็ไม่ใช่เสน่ห์ของการพักโรงแรมที่เราคุ้นเคย เรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่ยังไม่ชัด แต่ที่แน่ ๆ คือเปลี่ยนไปแน่นอน และหลังจากยุคนี้ก็อาจจะมีเรื่องอื่นเข้ามาอีก คือโควิดมันไม่ได้กระทบแค่การออกแบบ แต่กระทบไปถึงการใช้ชีวิตกันเลยทีเดียว”

Q. คำถามสุดท้าย สำหรับมุมมองวิชาชีพ ในส่วนตัวของพี่เป้าเอง กับสิ่งที่ TIDA อยากผลักดันต่อไปในอนาคตเรามีแนวทางอย่างไรบ้างครับ?

คุณเป้า : “ถ้าถามว่าในภาพอันใกล้อยากผลักดันอะไรที่สุด ก็คงเป็นเรื่องของ Mind Set สิ่งที่พี่อยากเห็นคือ Mind Set ที่ว่ามัณฑนากรของเราสามารถทำงานนอกเมืองไทยได้ด้วย คือไปทำงานที่ไหนก็ได้ และสิ่งที่ต้องพัฒนาก็น่าจะเป็นเรื่องภาษา กับการมองตัวเองว่าจริง ๆ เราก็เป็นประชากรของโลกใบนี้ ไม่ว่าจะสิงคโปร์ ฮ่องกง จีน หรือยุโรป เราไปทำงานได้หมดเลย เพื่อที่จะขยายฐาน ทั้งการทำมาหากิน และในแง่ของการพัฒนาการออกแบบจากหลาย ๆ แนวคิดอีกด้วย

“คนไทยเก่งนะ มีความเป็น Artistic ที่ดีอยู่แล้ว ไม่ได้บอกว่าให้นำความเป็นไทยออกไปนะ แต่อยากให้ออกไปนอกรั้วบ้านเราบ้างจะดีมาก มันจะมีช่องทางอีกมากมายในความเป็นไปได้ที่เปิดรับ

“แล้วอยากให้มหาวิทยาลัย หรือสถาบันสอนด้าน Marketing หรือเรื่องที่รอบตัวมากกว่านี้ ทำเรื่องที่เกี่ยวกับ Branding ได้ด้วย ถ้าเพิ่มตรงนี้ จะทำให้เวลาคุยกับลูกค้า เราสามารถ Advice กับเขาได้

“แต่สุดท้ายก็ไม่แน่ใจว่าความหลากหลาย หรือการลงลึกไปในวิชาชีพนั้น แนวทางใดเป็นแนวทางที่ถูกต้องมากกว่ากัน ก็คงต้องให้ตัวผู้ประกอบวิชาชีพเก็บไปคิดดู แต่อย่างน้อยก็ควรจะ Flexible มากขึ้น เพื่อเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงในทุกรูปแบบในอนาคต เหมือนที่เราเจอกับ Covid-19 ในปีนี้นั่นเอง”

และนี่ก็คืออีกหนึ่งเรื่องราวดี ๆ จากประสบการณ์กว่า 40 ปี ของพี่เป้า หรือคุณวิภาวดี พัฒนพงศ์พิบูล ช่วยให้เราเห็นภาพวงการมัณฑนากร รวมถึงบทบาทและการส่งเสริมวิชาชีพนี้โดย TIDA มากยิ่งขึ้น


เรื่อง  : Wuthikorn Sut
ภาพ  : สิทธิศักดิ์ น้ำคำ

The post A Conversation with TIDA สนทนากับคุณ วิภาวดี พัฒนพงศ์พิบูล appeared first on บ้านและสวน.

“Therapy Dog” สุนัขนักบำบัดคืออะไร แตกต่างจากสุนัขผู้ช่วยเหลือประเภทอื่นอย่างไร

$
0
0

ถ้าเลือกได้ … คุณจะเลือกเพื่อนซี้แบบไหน จะภาพซ้ายหุ่นยนตร์อัจฉริยะหรือภาพขวาสุนัขดีนะ

สุนัขนักบำบัด
ขอบคุณภาพจาก : ngthai.com – lbb.com

เมื่อจินตนาการตามภาพถ่ายของ อีฟ เจลลี ช่างภาพชาวฝรั่งเศสว่าในอนาคต หุ่นยนต์จะกลายเป็นเพื่อนอัจฉริยะของมนุษย์ เป็นเพื่อนคู่คิด ผู้ช่วยคอยบำบัดปลอบประโลมใจ คลายความเหงาความว้าเหว่ของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในพักคนชราแล้วนั้น โดยส่วนตัวเมื่อเห็นภาพแล้วกลับรู้สึกเหงาจับใจ ทั้งๆ ที่รู้ว่าความอัจฉริยะของหุ่นยนต์ที่ถูกพัฒนาขึ้นนั้นมีความสามารถที่จะช่วยเหลือมนุษย์ได้มากเพียงไร เพราะไม่ว่าอย่างไร ในใจลึกๆ ยังเชื่อว่า “สุนัข” คือเพื่อนที่ดีที่สุดของมนุษย์เสมอ

สุนัขนักบำบัด
ขอบคุณภาพจาก : vintagevibes.org.uk – buzzfeed.com

เมื่อเดือนก่อน บ้านและสวน Pets ได้รับเชิญจาก allfine ให้ไปร่วมงานเปิดตัวหลักสูตร Therapy Dog Thailand หรือ สุนัขนักบำบัด รุ่นแรก และเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ผ่านการรับรองจาก Therapy Dog Assocaition Switzerland VTHS มาตรฐานระดับโลก ภายในงานได้เล่าถึงความเป็นมาของ สุนัขนักบำบัดว่า คืออะไร เป็นมาอย่างไร มีความแตกต่างจากสุนัขฝึกประเภทอื่นอย่างไร ซึ่งได้ความรู้และมีประโยชน์มาก วันนี้มีโอกาสจึงขอมาเล่าให้ผู้อ่านครอบครัวบ้านและสวน Pets ได้ทราบกันนะคะ

สุนัขนักบำบัด

ในยุโรปตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 แนวคิดของการนำสุนัข หรือสัตว์มาช่วยในการบำบัด โดยในปี 1860 ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale) ผู้ทุ่มเทให้กับการพยาบาลยุคใหม่ชาวอังกฤษ ค้นพบว่าผู้ป่วยจิตเวชที่ได้ใช้เวลากับสัตว์ตัวเล็ก จะมีความกระวนกระวายลดลง

ในขณะที่นักจิตวิทยาระดับโลกชาวออสเตรีย อย่าง ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เชื่อว่า สุนัขสัมผัสได้ถึงระดับความเครียดของคน เขาจึงใช้สุนัขสื่อสารกับผู้ป่วย โดยให้ผู้ป่วยเล่นกับสุนัขของเขาก่อน เหมือนแง้มประตูให้เกิดความไว้วางใจ จากนั้นเขาจึงเข้ามาพูดคุยกับผู้ป่วย เพื่อรักษาต่อไป

สุนัขนักบำบัด
ขอบคุณภาพจาก : buzzfeed.com – odyssey.com

ต่อมาในยุคทศวรรษที่ 70 แนวคิดของการนำสัตว์มาเป็นผู้ช่วยในการบำบัด ตามโรงพยาบาลหรือศูนย์สุขภาพเริ่มเป็นที่สนใจในวงกว้าง จนกระทั่งในปี 1976 อีเลน สมิธ (Elaine Smith) พยาบาลชาวอเมริกัน ขณะทำงานในประเทศอังกฤษ ได้สังเกตเห็นว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น เมื่อได้เล่นกับสุนัขบำบัด จึงนำแนวคิดนี้กลับมาใช้ในสถานพยาบาลในสหรัฐอเมริกา และเริ่มต้นการฝึกสุนัขเพื่อเป็นนักบำบัด

ผลการวิจัยทั้งทางแพทย์และจิตวิทยายืนยันว่า สุนัขสามารถช่วยในการบำบัดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของจิตใจ และอารมณ์ ลดความกังวล ความเครียด อาการซึมเศร้า อีกทั้งช่วยเรื่องของการฝึกเคลื่อนไหวอวัยวะ กายภาพบำบัด ไปจนถึงช่วยให้หัวใจสดใสแข็งแรง ทั้งในกลุ่มเด็กนักเรียน, คนป่วย และผู้สูงวัย

สุนัขนักบำบัด
ขอบคุณภาพจาก : wyosocialresources.info

แต่ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักสุนัขผู้ช่วยเหลือและทำประโยชน์ให้แก่ผู้คนกันก่อนดีกว่าค่ะ แน่นอนว่าสุนัขไม่ได้เหมือนกันไปเสียทุกตัว โดยเฉพาะในต่างประเทศ มีการแบ่งสุนัขที่ได้รับการฝึกหรือทำงานร่วมกับเจ้าของ รวมไปถึงสิทธิตามกฎหมายแตกต่างกันไป แบ่งได้หลัก ๆ 3 ประเภท คือ Service Dog , Emotional Support Animal และ Therapy Dog

 

Service Dog

ขอบคุณภาพจาก : vestsforservicedogs.com – topdogtips.com
ขอบคุณภาพจาก : animalchannel.com – genesisassistancedogsinc.org – internacionalbeagles

คือ สุนัขที่ฝึกมาเป็นพิเศษ สำหรับดูแลเจ้าของสุนัขเพียงคนเดียว ซึ่งเจ้าของจะเป็นผู้มีความบกพร่องทางร่างกาย และต้องการความช่วยเหลือพิเศษในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น นำทางคนตาบอด, ผู้ป่วยลมชัก, ผู้ป่วยเบาหวาน, ผู้พิการนั่งรถเข็น สุนัขกลุ่มนี้จะถูกฝึกอย่างเข้มข้นพิเศษตั้งแต่เป็นสุนัขเบบี๋ จนถึงอายุประมาณ 2 ปี เพื่อทำงานเฉพาะกิจในการดูแลเจ้าของ อาทิ ช่วยนำทาง ช่วยเปิดประตู กดรับโทรศัพท์ เห่าแจ้งเหตุอาการป่วย ฯลฯ และยังมีประเภทที่ฝึกเพื่อช่วยการทำงานของเจ้าหน้าที่ เช่น สุนัขกู้ภัย สุนัขดม-กลิ่น และอีกมากมาย ซึ่งสุนัขเหล่านี้ได้รับอนุญาตให้ติดตามเจ้าของไปในสถานที่ต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น ที่สาธารณะโรงแรมที่พัก รถโดยสารต่างๆ รวมถึงขึ้นเครื่องบินด้วย

 

Emotional Support Animal

ขอบคุณภาพจาก : cosmopolitan.com – realesaletter.com
ขอบคุณภาพจาก : earthofpet.com – usaservicedogregistration.com – reddit.com

หมายรวมถึงสัตว์ทุกประเภทและแน่นอนว่า รวมถึงสุนัขด้วย โดยจะทำหน้าที่ดูแลและอยู่เคียงข้างเจ้าของ ซึ่งเป็นผู้เจ็บป่วยทางอารมณ์และจิตใจ สุนัขประเภทนี้อาจจะไม่ได้รับการฝึกทักษะด้านใดเป็นพิเศษ แต่มีภารกิจอันยิ่งใหญ่ เป็นผู้ให้ความรัก ความอุ่นใจ เป็นเพื่อนข้างกาย ซึ่งตามกฎหมายถือว่า ไม่ได้เป็นเพียงแค่สัตว์เลี้ยงธรรมดา โดยปกติแล้วสถานพยาบาลจะต้องออกจดหมายรับรองผู้ป่วย เพื่อให้สุนัขสามารถติดตามไปในที่ต้องห้ามได้ เช่น ร้านอาหาร หรือ บนเครื่องบิน เป็นต้น

 

Therapy Dog

ขอบคุณภาพจาก : theedinburghreporter.co.uk – ews.ohsu.edun2
ขอบคุณภาพจาก : ews.ohsu.edun – irishdogs.ie

คือ สุนัขที่ได้รับการฝึกมาเป็นพิเศษพร้อมกับเจ้าของ มีหน้าที่หลักคือ สร้างความสุข มอบรอยยิ้ม ความผ่อนคลายทั้งทางร่างกายและจิตใจให้แก่ผู้อื่น ในสถานที่ต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาลเด็ก บ้านพักผู้สูงวัย สถานบำบัดร่างกาย สถาบันผู้พิการ และสถานที่ที่ต้องการความช่วยเหลือ แต่ไม่สามารถขึ้นเครื่องบินได้เหมือนสุนัข 2 ประเภทแรกนะคะ โดย Therapy Dog จะได้รับการฝึกจากผู้เชี่ยวชาญ ผ่านการทดสอบจนได้รับประกาศนียบัตร และมักจะออกปฏิบัติหน้าที่ในแบบจิตอาสา จนได้ฉายาว่า “นักบำบัดที่น่ารักที่สุดในโลก” เลยทีเดียว

“ไม่ว่าสุนัขจะทำหน้าที่อะไร เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า เจ้าสี่ขาที่สุดแสนน่ารักนี้ คือ เพื่อนข้างกายที่ดีที่สุด รับฟังทุกเรื่องอย่างเข้าอกเข้าใจ ซื่อสัตย์ และที่สำคัญมอบความรักอย่างไม่มีเงื่อนไขให้กับคุณเสมอ”

 

ขอบคุณ
allfine ผู้ริเริ่มหลักสูตร “สุนัขนักบำบัดแห่งประเทศไทย” หรือ “Therapy Dog Thailand” แห่งแรกในประเทศไทย
Fb: Therapy Dog Thailand
IG: therapydogthailand

The post “Therapy Dog” สุนัขนักบำบัดคืออะไร แตกต่างจากสุนัขผู้ช่วยเหลือประเภทอื่นอย่างไร appeared first on บ้านและสวน.

รวมบ้านสไตล์อีสานน่าอยู่ ใกล้ชิดธรรมชาติ

$
0
0

 แม้ภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยจะรุ่มรวยด้วยวัฒนธรรมเก่าแก่ และมีทรัพยากรธรรมชาติงดงามมากเพียงใด หากแต่ในแง่ของการออกแบบสถาปัตยกรรมแล้ว บ้านสไตล์อีสานมีการนำเสนอให้เห็นไม่มากเท่าที่ควร

ด้วยวิถีชีวิตที่เรียบง่ายตามขนบธรรมเนียมของคนท้องถิ่น ทำให้รูปแบบของเฮือนอีสานหรือเรือนไทยอีสานดูเรียบง่ายกว่าเรือนไทยภาคกลางที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคย แต่ถึงอย่างไรก็เปี่ยมด้วยคุณค่าทางศิลปะพื้นถิ่นอย่างงดงาม เหมือนเช่นบ้านทั้ง 4 หลังที่เรานำมาให้ชม แม้ไม่ใช่รูปแบบของเรือนอีสานดั้งเดิม ทว่าก็มีแนวคิดและกลิ่นอายบางประการมาผสมผสานให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน  กลายเป็นบ้านที่น่าอยู่และทำให้ผู้อยู่อาศัยได้ใช้ชีวิตใกล้ชิดกับธรรมชาติเหมือนเช่นที่เคยเป็นมา    บ้านไม้อีสานอยู่สบาย

สงบร่มรื่นในบ้านไทยอีสาน

เจ้าของ : คุณศักดา – คุณอรพินท์ ศรีสังคม
ออกแบบ : อาศรมสถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม
สถาปนิกที่ปรึกษา : คุณธีรพล นิยม
สถาปนิกโครงการ : คุณศักดิ์ชาย โกมลโรจน์ และคุณอรพิมพ์ ตันติพัฒน์
ตกแต่งภายใน : คุณศักดิ์ชาย โกมลโรจน์

บ้านไม้ บ้านอีสาน บ้านไม้ บ้านอีสาน บ้านไม้ บ้านอีสาน ชานบ้าน ห้องนอนไม้
ด้วยความที่เจ้าของบ้านชื่นชอบบ้านเรือนไทยมาตั้งแต่เด็ก บวกกับได้รับอิทธิพลมาจากคุณพ่อซึ่งหลงรักวัฒนธรรมอีสาน ผู้ออกแบบจึงนำลักษณะที่สำคัญของการปลูกเรือนอีสานมาประยุกต์ให้เข้ากับวิถีชีวิตสมัยใหม่ เช่น การออกแบบพื้นที่ชั้นล่างให้เป็นเหมือนใต้ถุนโล่ง เพื่อให้ได้ใกล้ชิดธรรมชาติรอบตัว โดยเฉพาะทุ่งปอเทืองหน้าบ้าน มีชานหลังคายื่นออกไปเป็นพื้นที่อเนกประสงค์และรับแขกได้
บ้านหลังนี้มีลักษณะคล้ายเรือนสามหลังที่มีชานแดดผูกติดกันตรงกึ่งกลาง เพื่อให้ลมพัดผ่านได้สะดวกทุกพื้นที่ เรือนแต่ละหลังมีชายคายื่นยาวเพื่อป้องกันแดดและฝน ชั้นล่างใช้ผนังดินอัดเพื่อทำหน้าที่เป็นฉนวนหน่วงความร้อนให้บ้านเย็นลงในช่วงกลางวัน ส่วนหลังคาไม้ก็ปรับไปใช้หลังคาไม้ซีดาร์ วัสดุส่วนใหญ่เลือกใช้ไม้เพราะมีความเป็นธรรมชาติ ซึ่งดูดและคายความร้อนได้รวดเร็ว >>> อ่านต่อ 


บ้านไม้สองชั้นที่เล่าเรื่องไทยอีสานสมัยใหม่ในบริบทเดิม

เจ้าของ : คุณปิแอร์ เวอร์เมียร์ และคุณนิตญา ผ่านสำแดง
ออกแบบ : บริษัทสถาปนิก สเปซไทม์ จำกัด โดยคุณกรรณิการ์ รัตนปรีดากุล
ประสานงานการก่อสร้าง : เฮ็ดดีไซน์สตูดิโอ โดยคุณปองพล ยุทธรัตน์

บ้านไม้ บ้านอีสาน บ้านไม้ บ้านอีสาน ครัวไทย บ้านไม้ บ้านอีสาน
บ้านไทยอีสานที่กลมกลืนไปกับบริบทของสังคมชนบทในจังหวัดอุดรธานี ไม่ว่าจะเป็นรั้วบ้านที่มองเห็นกันได้ระหว่างภายในกับภายนอกบ้าน ชานระเบียงต่าง ๆ ที่ทำให้การใช้ชีวิตมีความเชื่อมโยงกับพื้นที่ภายนอก หรือลานหน้าบ้านที่มักกลายเป็นที่วิ่งเล่นของเด็ก ๆ ในละแวกบ้าน โครงสร้างหลักของบ้านหลังนี้เลือกใช้โครงเหล็ก H-Beam ส่วนการออกแบบภายในเน้น “ความโปร่ง” นอกจากจะสบายตาแล้ว ยังช่วยให้กระแสลมในบ้านพัดผ่านได้ดี ทำให้ทั้งบ้านอยู่ในสภาวะน่าสบาย ไม่ร้อนอับ >>> อ่านต่อ


บ้านบุญโฮม บ้านไม้ชั้นเดียวท่ามกลางความเงียบสงบของชนบทแท้

เจ้าของ: คุณวาทินี สุดตา
ออกแบบ: S Pace Studio โดยคุณทวิชากร เหล่าไชยยงค์ และคุณปัณณพัฒน์ เพ็ชรจรัส
วิศวกรโครงสร้าง:คุณบดินทร์ มหาราช

บ้านไม้ชั้นเดียว บ้านอีสาน บ้านไม้ชั้นเดียว บ้านอีสาน บ้านไม้ชั้นเดียว บ้านอีสาน ห้องรับประทานอาหาร
บ้านอีสานโมเดิร์นที่มีหลังคาหน้าจั่วขนาดใหญ่ โดดเด่นด้วยชานหน้าบ้านขนาดกว้างขวางเพื่อรองรับญาติๆและเพื่อนบ้านที่หมั่นแวะเวียนมาทักทาย ด้านบนทำหลังคาหน้าจั่วขนาดเล็กกรุหลังคาลอนใสเพื่อช่วยนำแสงธรรมชาติให้ส่องลงมาถึงด้านล่างอย่างทั่วถึง ซึ่งไอเดียการออกแบบบ้านนั้นมาจากการตีความวิถีชีวิตที่มีลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัยของคนอีสาน ผสมผสานกับรูปแบบของบ้านที่ทันสมัย สะอาดตา และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว >>> อ่านต่อ


บ้านพื้นถิ่นอีสานร่วมสมัย ในจังหวัดขอนแก่น

เจ้าของ : คุณจัตวา ชุณหบุญญทิพย์ และคุณอนุสรา แท่นพิทักษ์
สถาปนิก:  S Pace Studio

บ้านอีสาน บ้านอีสาน ชั้นหนังสือ
บ้านอีสานร่วมสมัยที่เกิดจากการตีความ “วิถีความเป็นอยู่” ของผู้คนในอีสาน โดยมีจุดเด่นที่การปรับการใช้งานพื้นที่ใต้ถุนให้แปรเปลี่ยนเป็นการจัดวางพื้นที่แบบผังเปิดต่อเนื่องกันระหว่างบ้านกับสวนได้อย่างลงตัว เจ้าของบ้านมีความประทับใจต่อเรื่อง “ฟ้าบ่กั้น” วรรณกรรมจากปลายปากกาของ “ลาว คำหอม” หรือคำสิงห์ ศรีนอก ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปี 2535 ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เปรียบได้กับภาพตัวแทนของวิถีคนชนบทอีสาน จึงทำให้เริ่มต้นความคิดในการทำบ้านที่ร้อยเรียงความเป็นอีสานทั้งอดีตและปัจจุบันเข้าไว้ด้วยกัน อีกทั้งยังตั้งชื่อ “ฟ้าบ่กั้น” เป็นชื่อของบ้านหลังนี้ด้วย  >>> อ่านต่อ 


เรือนภาคอีสาน

เรือนในสำเนียงอีสานเรียก “เฮือน” เฮือนถาวรในภาคอีสานมี 3 รูปแบบเด่น ๆ คือ

บ้านอีสาน
เฮือนเกย เป็นเฮือนเดี่ยว แต่ยื่นขยายชายคาหลังคาด้านหนึ่งยาวออกไปคลุมพื้นที่ใช้สอย ส่วนที่ยื่นออกไปนี้เรียกว่า “เกย”

 

เฮือนแฝด เป็นเฮือนหลังคาทรงจั่วสองเรือนสร้างชิดกัน และใช้โครงสร้างร่วมกัน โดยมีเฮือนหนึ่งเป็นเฮือนนอน มีผนังครบทุกด้าน เรียก “เฮือนใหญ่” อีกเฮือนอาจมีผนัง 3 ด้าน ใช้เชื่อมระหว่างชานภายนอกกับเฮือนนอน

 

เฮือนโข่ง คล้ายเฮือนแฝด แต่แยกโครงสร้างออกจากกัน ทำให้เกิดช่องทางเดินตรงกลางเชื่อมต่อพื้นที่ โดยสามารถรื้อแยกเฮือนโข่งไปปลูกในที่ใหม่ได้ เฮือนอีสานมักมีเฮือนไฟเป็นส่วนทำครัวแยกออกไปต่างหาก มีหลังคาลาดชันน้อยกว่าภูมิภาคอื่น ๆ และมักพบลายตะเว็น (ตะวัน) ประดับตามความเชื่อ

รวบรวม : Tarnda บ้านไม้อีสานอยู่สบาย

ภาพ : ฝ่ายภาพบ้านและสวน และนิตยสาร room

รู้จักเอกลักษณ์เรือนไทย 4 ภาค

รวมบ้านไม้สไตล์ล้านนา อบอุ่น อยู่สบาย

WHEREDER POSHTEL โฮสเทลเอกลักษณ์อีสานกลางเมืองอุดรธานี

 

The post รวมบ้านสไตล์อีสานน่าอยู่ ใกล้ชิดธรรมชาติ appeared first on บ้านและสวน.

หมูแคระพอตเบลลี่ เลี้ยงอย่างไรให้เป็นเพื่อนคู่ซี้ที่รู้ใจ

$
0
0

แม้ว่าสุนัข แมว จะยังเป็นสัตว์เลี้ยงคู่ใจของมนุษย์ แต่เราอาจจะได้เห็นสัตว์ในภาคเกษตร อย่างไก่ เป็ด ห่าน ที่เลี้ยงเพื่อเก็บไข่กลายมาเป็นเพื่อนตัวจิ๋ว 2 ขา และยังมีสัตว์สี่ขาอย่าง “หมูแคระ” ที่อัพเกรดมาเป็นสัตว์เลี้ยงคู่ใจประจำบ้าน ด้วยสีสันและลวดลายที่เรียกได้ว่า น่ารัก แสนรู้ ไม่ต่างจากน้องหมาน้องแมวเลยทีเดียว

หมูแคระ ที่นิยมเลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินในขณะนี้มีหลายสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นหมูแคระฮอลแลนด์หรือหมูแคระญี่ปุ่น แต่ความน่ารักตัวสีชมพูที่เราจะพาไปรู้จักกนนี้คือ หมูแคระพอตเบลลี่ หรือหมูแคระเวียดนาม (Vietnames Pot Belly) ซึ่งถูกเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินมานาน แม้แต่ในถิ่นกำเนิดอย่างประเทศเวียดนามเองก็ไม่นิยมเลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร แต่จะยกให้เจ้าหมูแคระชนิดนี้เป็นเพื่อนคู่ใจ เช่นเดียวกับหลายๆ คนที่มองว่า เจ้าตัวสีชมพูลายจุดดำท้องย้อยเกือบลากพื้นตัวนี้ มันน่าเอ็นดูจนต้องเลี้ยงเป็นเพื่อนเสียมากกว่า

•ไม่ชอบเลี้ยงหมูแต่ชอบไก่ซิลกี้มากกว่า
•เลี้ยงกุ้งก้ามแดงก็ดีนะ 

 

หมูแคระ พอตเบลลี่

ก่อนจะเลือกเลี้ยงเจ้าหมูแคระ(ที่ไม่แคระ) ลองมาทำความรู้จักและทำความเข้าใจเบื้องต้นก่อนซื้อลูกหมูมาเลี้ยงกันสักนิด โดยครั้งนี้คุณเฟรนด์ – สิทธิศักดิ์ เพิ่มพูน สัตวบาล พนักงานตรวจโรคสัตว์เทศบาลเมืองลพบุรี ผู้คลุกคลีกับสัตว์ต่างๆ มานานกว่า 10 ปีและเลี้ยงหมูพอตเบลลี่เพื่อจำหน่ายมาให้คำแนะนำในการเลือกซื้อหมูแคระ วิธีเลี้ยง และปัจจัยต่างๆ ให้การเลี้ยงหมูจิ๋วกลายเป็นเรื่องหมูๆ ไปเลยทีเดียว

จะรับได้ไหมถ้าหมูแคระจะไม่แคระอย่างที่คิด

รู้หรือไม่ หมูแคระ ในทุกๆ สายพันธุ์ไม่ใช่หมูที่มีขนาดตัวเล็กเท่าที่เห็นตอนเพิ่งคลอดอายุ 1-2 เดือน แต่พวกมันมีขนาดน้ำหนักที่มากถึง 30-60 กิโลกรัมเมื่อโตเต็มที่ และหลุดไซส์ไปได้ถึง 80 กิโลกรัม แต่เมื่อเทียบกับหมูในฝั่งยุโรปหรืออเมริกาที่มีน้ำหนักมากถึง 200 กิโลกรัมจึงแบ่งประเภทให้หมูไซส์นี้เป็นหมูแคระ ( Mini Pig ) ที่มีขนาดตัวเล็กกว่า จึงถูกใช้เป็นหมูเพื่อการทดลอง ไม่บริโภคเนื้อ จนได้รับความนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงมาจนถึงปัจจุบัน คุณเฟรนด์เล่าเพิ่มเติมว่า

 

หมูแคระ พอตเบลลี่

“นิสัยของหมูพอตเบลลี่จะคุ้นกับคนง่ายมาก ขี้เล่น มันสามารถเข้ามาเล่นกับเจ้าของหรือคนที่มันเจอได้ รักสะอาด ฉลาด ร่าเริง เดิมทีหมูแคระเป็นสัตว์ที่กินทั้งพืชทั้งสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ เนื้อปลา ไข่ไก่ ตามธรรมชาติที่เขาหากินได้ แต่อาหารหลักจริงๆ เขาจะกินแค่ผักบุ้ง ผลไม้ที่มีรสชาติหวาน ซึ่งเพียงเท่านั้นก็ทำให้เขาเติบโตได้มากถึง 60 กิโลกรัม แต่ให้กินอาหารอื่นๆ อย่างเช่นมนุษย์ อาทิ ขนมปัง พิซซ่า หรือน้ำหวาน ขนาดของหมูก็จะโตกว่าไปถึง 80 หรือ 100 กิโลกรัมเลยทีเดียว ขนาดจะอ้วนมากหรืออ้วนน้อยจึงขึ้นอยู่กับอาหารที่ให้หมูกิน แต่ต้องเข้าใจไว้เลยว่าหมูจะตัวโต ไม่ได้เป็นหมูแคระตัวเท่าวัย 1 เดือนแบบที่เลี้ยงในตอนแรกๆ ”

เลือกลูกหมู ให้ดูที่จมูกกับก้น

อายุหมูแคระที่เหมาะ ควรเริ่มเลี้ยงตั้งแต่ช่วง 1-1.5 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่หมูยังเล็กและสมองอันน้อยนิดของมันจะจำเจ้าของที่เลี้ยงมันได้ เป็นช่วงที่เริ่มกินอาหารเองได้แล้ว วิธีการเลือกลูกหมูมาเลี้ยง หลักๆ ที่ต้องพิจาณาดูเลยคือสีผิวต้องผิวอมชมพู ขนต้องเป็นมันเงาแสดงถึงความสมบูรณ์ในการได้รับสารอาหาร รูก้นต้องเป็นสีชมพูไม่มีอุจาระติดซึ่งแสดงถึงการขับถ่ายที่ดี จมูกมีความชุ่มชื้นของน้ำไม่แห้ง ไม่ควรเลือกตัวที่หายใจมีเสียงดังหรือมีน้ำลายเกิดจากการขาดน้ำ อาการที่แสดงออกก็บ่งบอกถึงสุขภาพ อย่างหมูวิ่งเล่นร่าเริงจะมีสุขภาพที่ดีกว่าหมูที่นอนซึม ไม่กินอาหาร ซึ่งแสดงถึงอาการป่วย

หมูแคระ เวียดนาม หมูแคระ เวียดนาม หมูแคระ เวียดนาม

น้ำหนักที่เหมาะสมกับอายุอย่างหมู 1 เดือนควรหนัก 1-3 กิโลกรัมและมีความยาวที่ประมาณ 20 เซนติเมตร นอกจากนั้นก็ต้องพิจารณาลักษณะทางพันธุกรรมโดยจะมีขาสั้น มีท้องหม้อ หากถูกผสมกับหมูดอยจะมีลำตัวยาว บั้นท้ายลีบ ส่วนในเรื่องลวดลายจุดสีดำนั้นเป็นลักษณะประจำพันธุ์ที่ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ซื้อและผู้ขาย ไม่มีผิดถูกแต่อย่างใด อายุโดยเฉลี่ยของหมูแคระพอตเบลลี่จะอยู่ที่ 20 ปี ตั้งท้องนาน 114 วัน ปีหนึ่งจะได้ลูกหมูประมาณ 3 คอก ซึ่งถือว่าให้ลูกไวเลยทีเดียว จำนวนลูกหมูขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของแม่ หากน้ำหนัก 80 กิโลกรัมจะให้ลูกหมูประมาณ 12-15 ตัวต่อ 1 คอก

กินแค่ผัก ผลไม้ แต่ทำไมหมูยังอ้วน

แน่นอนว่า ธรรมชาติของหมูคือชอบกิน แม้ว่าท้องจะอิ่มแค่ไหน แต่หากมีคนให้อาหารมันก็จะกินต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งหมูแคระก็เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นลูกหมูหรือแม่หมู อาหารที่ให้มีผลต่อขนาดและความแข็งแรง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ในการเลือกซื้อลูกหมู ต้องมั่นใจได้ว่าลูกหมูถูกเลี้ยงมาอย่างดี ได้รับน้ำนมซึ่งก็คือน้ำเหลืองจากแม่อย่างน้อย 3 สัปดาห์ และมีการให้อาหารเสริมธาตุเหล็กเพิ่ม หลังหย่านมแม่ให้กินนมแพะเท่านั้น เพราะในนมแพะมีขนาดไขมันที่มีขนาดเล็กกว่านมวัว มันจะย่อยสลายได้ง่ายกว่านมวัว

หมูแคระ เวียดนาม

“สูตรที่ผมใช้เลี้ยงลูกหมู เมื่อมีอายุประมาณ 1 เดือนจะเริ่มให้กินนมกล่องรสจืดเท่านั้น ถ้าให้กินหวาน กินช็อกโกแลต หมูจะติดรส ตัวก็จะหลุดไซส์มีขนาดอ้วน ซึ่งอ้วนไปก็เกิดโรคต่างๆ ไม่ต่างจากสุนัข แมว ทั้งโรคไต นิ่ว ถ่ายไม่ออก หมูก็เช่นเดียวกันต้องระวังเรื่องนี้ ปกติจะเริ่มให้กินอาหารอย่างพวกผลไม้สุกตั้งแต่ 2 สัปดาห์แรกควบคู่กับให้นม จากนั้นค่อยลดปริมาณน้ำนมเพื่อให้กินกล้วยสุก มะละกอสุก มะม่วงสุก แตงโม เริ่มมีหญ้าขนสับเป็นชิ้นเล็กๆ ผักบุ้ง เริ่มเสริมเข้าไป เมื่อหมูกินนมไม่อิ่มก็จะเริ่มกินผลไม้ เริ่มขับถ่ายไม่เป็นน้ำ”

“การให้อาหารหมูแคระก็ต้องถามจุดประสงค์ของผู้เลี้ยงก่อนว่าต้องการเลี้ยงแบบไหน เลี้ยงให้เล็กน้ำหนักประมาณ 30 กิโล ไม่อ้วนมาก ควรหยุดให้นมตั้งแต่หมูอายุ 2 เดือน เมื่อหมูขาดแคลซียมจะมีขนาดตัวที่เล็กลง ให้ไปกินพืชผักแทน เน้นหญ้าขนและผักบุ้งเป็นหลัก ให้ปริมาณที่มากกว่าผลไม้ การให้อาหารควรให้ตอนเช้าและตอนเย็น ยกเว้นช่วง 3 เดือนแรก ที่ควรให้ทั้งเช้า กลางวัน และเย็น”

หมูแคระ เวียดนาม

แต่หากอยากเลี้ยงให้อ้วน มีความตุ๊ต๊ะน่ารัก น้ำหนักได้ถึง 80 กิโลกรัม คุณเฟรนด์บอกว่า อยากให้กินอะไรก็ให้ไปได้เลย ทั้งขนมปัง ข้าวสุก หัวอาหารสัตว์ เมื่อเขาอายุประมาณ 5-6 เดือนก็โตเต็มที่ ตัวเริ่มตัน แต่เริ่มเป็นแม่หมูระบบโครงสร้างจะเปลี่ยน น้ำหนักจะเพิ่มได้ถึง 80 กิโลกรัม จะไม่อ้วนตุ๊ต๊ะ หลังเริ่มแอ่น ท้องเป็นก้นหม้อลากพื้น ซึ่งก็แล้วแต่ความชอบของผู้เลี้ยง

อาหารต้องห้ามก็มี เพราะไม่ดีต่อสุขภาพ

“ธรรมชาติของหมูคือ กินจุ กินทุกอย่างแบบไม่เลือก ต่อให้กินอิ่มไปแล้ว แต่ถ้ามีอาหารก็จะเล่นจะกินเล่นให้หกเลอะเทอะ การให้อาหารจึงควรระวังอย่าให้อาหารที่มีแก๊สเยอะ ทำให้เกิดท้องอืด ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารที่ให้ด้วยอาจจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดแก๊ส ทำให้ปวดท้อง หรือกินอาหารที่กากใยสูงแต่ไม่มีน้ำเลยก็จะมีปัญหาเรื่องการขับถ่าย อาหารของคนก็ไม่ควรให้สัตว์กิน เพราะสัตว์จะติดรสชาติในเรื่องของรสที่ผ่านการปรุง ทั้งเค็ม หวาน มัน ถ้าได้กินปุ๊บเขาจะรู้สึกว่า มันอร่อยกว่าผักบุ้ง อร่อยว่าผลไม้ที่เคยกิน เขาจะไม่สนใจอาหารพวกนั้นไปเลย สิ่งที่ต้องระวังอีกอย่างคือพวกถุงพลาสติกที่เปียกอาหาร หากหมูได้กินพวกนั้นจะแยกไม่ออกว่าอันไหนคือพลาสติกเพราะรสอาหารปรุงที่ติดอยู่ มันจะกินทั้งหมด ซึ่งทำให้เกิดอันตราย”

หมูแคระ เวียดนาม

อยู่บ้านแบบไหนถูกใจหมูแคระ

คนที่เลี้ยงหมูแคระพอตเบลลี่ส่วนใหญ่มักจะเลี้ยงในบ้าน อันดับแรกควรจัดโซนให้เขาอยู่ เมื่อเขากินเสร็จให้กักบริเวณที่เป็นสัดส่วน แบ่งโซนกินให้กินข้างนอก โซนนอนให้อยู่มุมใน วางจุดขับถ่ายในจุดที่ต้องการให้ขับถ่าย โดยในช่วงแรกต้องจับอุ้มเขาไปขับถ่ายในจุดที่ต้องการ เช่นสนามหญ้า ต่อไปเขาจะคุ้นชินและขับถ่ายในบริเวณนั้นอยู่เสมอ ซึ่งตามนิสัยของหมูแคระพอตเบลลี่จะเป็นหมูที่รักสะอาด จะไม่ขับถ่ายแล้วมานอนทับในมุมเดิม

หมูแคระ เวียดนาม

ธรรมชาติของหมูจะชอบเล่นน้ำ เพื่อสร้างความเพลินเพลินจึงควรมีอ่างอาบน้ำให้หมูได้นอนแช่ และควรอาบน้ำให้หมูแคระตั้งแต่อายุ 3 เดือน สามารถใช้แชมพูสัตว์ทำความสะอาดได้แต่ให้สังเกตอาการแพ้ด้วย

หมูแคระมีศัตรูตามธรรมชาติคือสุนัข หากที่บ้านเลี้ยงสุนัขอยู่แล้วให้ทดสอบสุนัขให้แน่ใจก่อนว่าจะไม่กัดหมูแคระ ด้วยการกักสุนัขไว้ในกรงแล้วปล่อยให้หมูเดินรอบๆ กรง หากไม่เห่าหรือขู่ไว้ใจได้เลยว่าสามารถเลี้ยงคู่กันได้

ถึงจะอ้วน แต่เราจะเป็นหมูที่แข็งแรง

หมูจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จึงควรฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าให้หมูเมื่อมีอายุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป ปีละครั้ง เมื่อรับหมูแคระไปเลี้ยงต้องทำความเข้าใจก่อนว่า สภาพแวดล้อมที่ต่างกันมีผลต่อสุขภาพของหมูแคระด้วย ทั่วไปแล้วสัตว์จะค่อยๆ ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ แต่เจ้าของต้องรู้ด้วยว่า แต่เดิมนั้นถูกเลี้ยงมาอย่างไร อาจจะเลี้ยงแบบธรรมชาติ ไม่ได้เปิดพัดลมให้เขาอยู่ แต่เจ้าของใหม่อยากเปิดแอร์เปิดพัดลมให้หมูอยู่ นั่นอาจจะทำให้หมูแคระเป็นไข้ หรือเคยเลี้ยงกันยุงให้ก็ต้องดูแลเรื่องยุง เพราะถ้าหากยุงกัดก็จะมีตุ่มแดงๆ ขึ้นตามตัวหมู โรคผิวหนังก็อาจจะเกิดขึ้นได้จากความชื้นไม่ได้ทำความสะอาด พอสภาพแวดล้อมเปลี่ยนหรือเกิดจากการขนส่งหมูแคระมีอาการเครียดจะไม่กินอาหาร จะไม่ขับถ่าย หรืออาจจะเกิดอาการท้องเสียเพราะอาหารที่แตกต่าง จนเกิดอาการป่วยไข้ สิ่งเหล่านี้ป้องกันได้ด้วยการพูดคุยสอบถามกับผู้ขายให้แน่ชัดเพื่อให้ได้แนวทางในการเลี้ยงดูที่ดี และคอยสังเกตอาการอยู่เสมอ

หมูแคระ เวียดนาม

หมูแคระจะเชื่อง เมื่อเห็น “โรงครัวเคลื่อนที่”

แม้ว่าหมูแคระจะมีสมองเพียงน้อยนิด แต่ก็สามารถจดจำคนให้อาหารและรู้จักชื่อตัวเอง การจะสร้างความสัมพันอันดีให้หมูแคระเชื่องคือการทำให้มันคิดว่า เราคือโรงครัวเคลื่อนที่ที่มีอาหารให้มันอยู่เสมอ เพราะขึ้นชื่อว่าหมู รู้ไว้เลยว่าเขาชอบกิน เขาหิวง่าย กินได้ทั้งวัน หากเขาหิวโซมาจะรู้สึกผ่อนคลายเมื่อได้กินอาหาร แค่ให้อาหารเพียง 2 วันเท่านั้น เขาจะเดินตามคุณอย่างแน่นอน วิธีสังเกตอารมณ์หมูให้ดูหางประกอบกับพฤติกรรม เช่นหางแกว่งซ้ายขวาจะแสดงเมื่อรู้สึกดีใจ ตื่นเต้นที่เห็นโรงครัวเคลื่อนที่เดินมาหา แต่หากหางตั้งตรงกับแนวลำตัว ยืนตัวแข็ง นั่นคืออารมณ์ไม่ดี หวาดระแวง ตกใจกลัว

การอุ้มมอบความรักใช้หลักการเหมือนการอุ้มสัตว์ คือทำอย่างไรก็ได้ให้สัตว์รู้สึกปลอดภัย ให้ค่อยๆ จับ แน่นอนว่าครั้งแรกเขาจะร้องเพราะตกใจ จะมีระแวงสักพัก หากอุ้มแล้วเขารู้สึกว่าไม่ถูกทำร้าย ไม่เจ็บปวด ก็จะไม่ตื่นกลัวอีก ระวังอย่าให้เขาเจ็บตัวเพราะหมูแคระจะเข็ดมือแล้วไม่กล้าเข้าใกล้คุณอีก และเขาจะร้องเสมือนร้องขอชีวิต

หมูแคระ เวียดนาม
คุณเฟรนด์กับน้องฟิ้นส์ลูกชายวัยซน ที่เลี้ยงหมูพอตเบลลี่ด้วยกัน

แม้หมูแคระพอตเบลลี่จะเลี้ยงง่าย ดูแลง่าย แต่ต้องทำใจไว้เลยว่าขนาดของหมูนั้น ไม่ได้แคระตัวเล็กจิ๋วเหมือนชื่อที่ถูกตั้งให้ พื้นที่เลี้ยงจึงต้องมีบริเวณกว้างพอสมควร รวมถึงปัจจัยด้านอื่นๆ เช่น การหิวขอกินตลอดเวลา ขนาดตัวที่ใหญ่เกินกว่าจะอุ้มไปหาหมอ แต่หากรับได้กับข้อจำกัดเหล่านี้ หมูแคระพอตเบลลี่คือเพื่อนผู้น่ารักที่สร้างความเพลิดเพลินได้มากทีเดียว

ชมภาพความน่ารักของหมูแคระพ๊อตเบลลี่เพิ่มเติม

 

เรื่อง : JOMM YB

ภาพ: อภิรักษ์ สุขสัย

ขอบคุณข้อมูลจาก คุณสิทธิศักดิ์ เพิ่มพูน โทร. 09- 1991 -9555

 

อัพข่าวสารอื่นๆได้ที่เฟซบุ๊คบ้านและสวน

รวมเรื่องน่ารู้สำหรับทำฟาร์ม

 

The post หมูแคระพอตเบลลี่ เลี้ยงอย่างไรให้เป็นเพื่อนคู่ซี้ที่รู้ใจ appeared first on บ้านและสวน.


8 คาเฟ่ รีโนเวต ทำไม่มากแต่สุดเท่!

$
0
0

8 คาเฟ่ ที่โดดเด่นในการรีโนเวตแบบทำน้อยแต่ได้เยอะ จากการเลือกคงสภาพอาคาร รวมทั้งการตกแต่งแบบพอดีๆ ไม่มากแต่เท่ บอกเลย ใครอยากทำคาเฟ่ต้องดู ได้ไอเดียแน่นอน!

รายชื่อร้าน

THE SHOPHOUSE 1527 เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของการอยู่อาศัยผ่านร่องรอยในความดิบ

SARNIES BANGKOK  คงสภาพตึกอู่ซ่อมเรือและโรงกลึงเก่าให้กลายเป็นจุดพบปะใหม่ที่เจริญกรุง
Sarnies คาเฟ่ย่านเจริญกรุง

GU SLOW BAR COFFEE  สโลว์บาร์คาเฟ่สำหรับคนชอบจิบกาแฟในวิถีเนิบช้า
คาเฟ่ย่านวงเวียนใหญ่

TREAT CAFÉ & HANGOUT  แฮ้งเอ๊าต์คาเฟ่ย่านประชาชื่น จุดนัดพบสายชิลในบรรยากาศสุดอาร์ตคาเฟ่ย่านประชาชื่น

GATEWAY COFFEE ROASTERS  คาเฟ่สไตล์ดิบเท่ บนตึกเก่าอายุกว่า 60 ปีที่ถนนท่าแพ
คาเฟ่เชียงใหม่ รีโนเวตตึกเก่า

NO.8  คาเฟ่ในบรรยากาศโรงเตี๊ยมที่บ้านหมายเลข 8ร้าน NO.8

CHATA SPECIALTY COFFEE  คาเฟ่เรือนกระจก ที่ซ่อนตัวอยู่หลังโรงแรมย่านเยาวราช
Chata Specialty Coffee แบบร้านกาแฟ แบบผนังอิฐ

HOLM HUMBLE CAFE  คาเฟ่ดิบละมุนที่กลมกล่อม ถ่อมตัว
HOLM HUMBLE CAFE คาเฟ่ย่านเสนานิคม

The post 8 คาเฟ่ รีโนเวต ทำไม่มากแต่สุดเท่! appeared first on บ้านและสวน.

ARROM ORCHID ชมกล้วยไม้ใต้สถาปัตยกรรมไม้ไผ่ดีไซน์สมัยใหม่

$
0
0

จาก “สวนบัวแม่สา” แหล่งท่องเที่ยวสวนกล้วยไม้ขนาดใหญ่บนถนนสายแม่ริม-สะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ตอนนี้ได้รับการแปลงโฉมให้กลายเป็นร้านอาหารและคาเฟ่ในสวนกล้วยไม้ในชื่อ ARROM ORCHID (อารมณ์ ออร์คิด)

เชียงใหม่นอกจากมีมนต์เสน่ห์แห่งวัฒนธรรม ขนมประเพณี และธรรมชาติสวย ๆ แล้ว อีกสิ่งที่หลาย ๆ คน จดจำน่าจะเป็นงานฝีมือ หรืองานคราฟต์ ที่ละเอียดลออผ่านสองมองของสล่า (ช่างพื้นบ้าน) โดยงานจักสานและไม้ไผ่ เมื่อถึงคราวปรับโฉมสวนบัวแม่สา มาเป็น “ARROM ORCHID” ไอเดียการรังสรรค์ความงามของพื้นที่ให้รายล้อมด้วยธรรมชาติและดอกกล้วยไม้สวย ๆ อันเลื่องชื่อ จึงเริ่มต้นขึ้นกับโปรเจ็กต์งานออกแบบที่นำวัสดุธรรมชาติอย่างไม้ไผ่ มาเป็นวัสดุหลักสำคัญ

การออกแบบโดยรวมเป็นวางผังโดยได้คงโครงสร้างหลักที่เป็นเหล็กกาวาไนซ์เดิมไว้ และใช้วัสดุ “ไม้ไผ่” ซึ่งให้ความรู้สึกถึงความเป็นธรรมชาติ เเละมีน้ำหนักเบา เข้าไปติดตั้งร่วมกับโครงสร้างเดิมสำหรับตกแต่งในส่วนของฟาซาด ฝ้าเพดาน เเละผนัง โดยใช้ไม้ไผ่หลากหลายขนาดนำมาประกอบกันหลายรูปแบบ จนเกิดเเพตเทิร์นเเละเส้นสายเเสงเงาที่สวยงาม ยามเมื่อเเสงลอดผ่านลงมายังพื้นที่ด้านใน

 การใช้ไม้ไผ่หลากหลายขนาดและรูปทรงมาประกอบการตกแต่งทั้งภายในร้านอาหารและภายนอกซึ่งเป็นสวนกล้วยไม้ขนาดใหญ่นั้น ทำให้ภาพของไม้ไผ่ดูทันสมัยขึ้น ทั้งจากเส้นสายลวดลายกราฟิกและแสงเงาที่ส่องผ่านเข้ามา

อีกทั้งยังทำหน้าที่ช่วยกรองเเสง ดีทั้งกับลูกค้าผู้มาใช้บริการ รวมถึงบรรดากล้วยไม้หลากหลายสายพันธุ์ที่อยู่ในโรงเพาะชำ ซึ่งสถาปนิกได้จัดวางผังทางเดินใหม่ให้ลดเลี้ยวไปมา จึงสามารถเดินชมกล้วยไม้ที่ออกดอกบานสะพรั่งได้อย่างใกล้ชิด  เรียกว่ามาถึงที่นี่เเล้วได้ชมทั้งสวนกล้วยไม้ และรับประทานอาหารรสชาติอร่อยไปพร้อมกัน ครบจบในที่เดียว

ข้อมูล

เจ้าของ : คุณวีระชัย จำนวน

ออกแบบ : Studiomiti

ภาพ : SPECESHIFT Studio


ที่ตั้ง

332 หมู่ที่ 1 ถนนแม่ริม-สะเมิง ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

เวลาทำการ : ทุกวัน 8.00 – 16.30 น.

โทร : 08-1366-6635, 09-3187-5888

FB: อารมณ์ออร์คิด แม่ริม เชียงใหม่ Arrom Orchid Mae Rim Chiangmai Thailand

 

The post ARROM ORCHID ชมกล้วยไม้ใต้สถาปัตยกรรมไม้ไผ่ดีไซน์สมัยใหม่ appeared first on บ้านและสวน.

“ตำทองหล่อ”แซ่บนัวในบรรยากาศอีสานโมเดิร์น

$
0
0

หลังจากประสบความสำเร็จมาแล้วกับสาขาแรก “ตำทองหล่อ”  จึงตัดสินใจปักธงลงบนพื้นที่ผืนใหม่ เพื่อรองรับลูกค้าผู้ติดใจรสชาติแบบดั้งเดิม กันที่โครงการสินธรวิลเลจ ซอยหลังสวน โดยยังคงคอนเซ็ปต์เมนูอาหารอีสานรสเเซ่บเช่นเคย ภายใต้การออกแบบตกแต่งร้านสไตล์อีสานเเบบโมเดิร์น

ตำทองหล่อ หยิบเมนูสุดฮิตอย่าง “ส้มตำ” ที่เต็มไปด้วยบรรดาสมุนไพรและผักพื้นบ้าน สีสันน่ารับประทาน มาเป็นธีมสีในการตกแต่งร้าน อาทิ การจับคู่สีอย่างสีเขียวเเละน้ำตาล เริ่มจากพื้นที่ฝ้าเพดานที่พลิกเเพลงเส้นสายมาจากหวดนึ่งข้าว โดยนำมาออกแบบผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ด้านในเป็นโครงสร้างเหล็ก ก่อนจะนำหวายเทียมที่จักสานเป็นลวดลายตามที่ออกแบบไว้มาติดตั้งทับลงไป สำหรับบอกอาณาเขตตำเเหน่งโต๊ะรับประทานอาหารเเต่ละยูนิตให้เกิดจังหวะที่สม่ำเสมอ

ขณะที่พื้นเลือกใช้อิฐดินเผาที่ผลิตมาจากดินชนิดเดียวกันกับที่ใช้ทำครกตำส้มตำ นำมาปูลวดลายเเบบก้างปลา เข้ากันดีกับเฟอร์นิเจอร์หวายที่จักสานอย่างประณีตเเละมีแพตเทิร์นเฉพาะตัว

อีกทั้งยังเลือกกระเบื้องทำมือจากจังหวัดลำปางมากรุลงบนผนัง เเละโคมไฟสั่งทำพิเศษจากหวายฝีมือของชาวบ้านพนัสนิยม จังหวัดชลบุรี  เช่นเดียวกับความต้องการสร้างบรรยากาศภายในร้านให้เป็นหนึ่งเดียว ด้วยการเลือกใช้กระบอกไม้ไผ่ธรรมชาติมาปิดเสาอาคาร ทั้งยังนำไปหุ้มวงกบหน้าต่างทุกบาน เพื่อให้ทุกรายละเอียดแสดงถึงความเป็นอีสานอย่างแท้จริง  

หากเปรียบ “ตำทองหล่อ” เป็นอาหาร ก็คงเป็นอาหารอีสานที่ยังคงความแซ่บและนัวได้อย่างไม่ขาดไม่เกิน ที่เพิ่มเติมคือการใช้งานออกแบบสื่อให้เห็นถึงเสน่ห์ของแก่นความเป็นอาหารอีสาน  ผ่านการเลือกใช้สีสันและวัสดุท้องถิ่นที่คุ้นเคย จนเกิดเป็นร้านอาหารที่พร้อมจะมอบประสบการณ์การรับประทานอาหารอีสาน ในบรรยากาศที่ทันสมัยเเละดูแปลกใหม่ขึ้นกว่าเดิม

ข้อมูล

เจ้าของ : คุณพิมพ์ชนก (พลางกูร) สุภัทรพันธุ์

ออกแบบ :  Context Design Studio

ภาพ : Skyground Architectural Film & Photography


ที่ตั้ง

โครงการสินธรวิลเลจ  87 ถนนหลังสวน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

เวลาทำการ : ทุกวัน 10.00 น. – 20.00 น.

โทร. 06-2446- 2422

FB: tumthongloresarnkaya

 

 

 

The post “ตำทองหล่อ” แซ่บนัวในบรรยากาศอีสานโมเดิร์น appeared first on บ้านและสวน.

บ้านโมเดิร์นทรอปิคัลที่รับลมและวิวจากสวน 4 ฤดู

$
0
0

การใช้ชีวิตในห้องนั่งเล่นของบ้านหลังนี้ เราไม่จำเป็นต้องเปิดเครื่องปรับอากาศเลย แม้รูปทรงของบ้านจะดูมีความทันสมัยมาก ไม่ใช่บ้านไทยแบบที่คุ้นเคย แต่นี่คือบ้านโมเดิร์นทรอปิคัลหลังใหญ่ ที่สถาปนิกออกแบบให้ลมไหลผ่านได้ตลอดทั้งชั้นล่าง และยังรับวิวสวนสวยได้จากทุกมุมมอง

 

สถาปนิก: Somdoon Architects โดยคุณกมลรัตน์ อนันตสุวัฒน์ คุณฐิติพรรณ เชื้อสวัสดิ์ คุณพันธุ์พงษ์ วิวัฒน์กุล คุณพิบูลย์ อมรจิรพร คุณศุภรัตน์ วรเลิศชัยฤทธิ์ คุณสุภัทร วงษ์รัตนะ / ภูมิสถาปนิก: Sanitas Studio โดยคุณสนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์ คุณวงศ์วริศ ศิวัฒน์วราสุข และคุณกรองกาญจน์ อัครเอกฒาลิน / เจ้าของ: คุณสารวุฒิ ดลสุขกุล และครอบครัว  บ้านโมเดิร์นทรอปิคอล

 

คุณบอลเจ้าของบ้านในยามพักผ่อน กับบ่อปลาคาร์ฟ เป็นการออกแบบให้สามารถเชื่อมต่อพื้นที่ภายในบ้านและภายนอกบ้านได้อย่างยืดหยุ่น
เห็นได้ชัดเจนว่าห้องรับแขกมีความโปร่งรับลมตลอดแนวทางเดินแกนหลักของบ้าน ซึ่งโครงสร้างแบบใต้ถุนเช่นนี้ใช้กับทุกๆ ห้องในชั้นล่าง
ปลูกต้นช้าพลูเป็นกลุ่มสีเขียวเข้มสวยงามหน้าห้องนอนแขก เป็นส่วนหนึ่งของสวนฤดูใบไม้ผลิที่เชื่อมไปถึงห้องรับประทานอาหาร

ต้องการบ้านที่มีลม และเห็นเสาบ้านให้น้อยที่สุด คือโจทย์แรกที่ คุณบอล-สารวุฒิ ดลสุขกุล เริ่มต้นคุยกับสถาปนิก หลังจากที่ศึกษางานออกแบบบ้านจากหลายที่ คุณบอลก็ตัดสินใจคุยกับ Somdoon Architects ซึ่งมีความชำนาญในการออกแบบบ้านโมเดิร์นทรอปิคัล ตั้งแต่บ้านไปจนถึงโครงการอาคารขนาดใหญ่ ทั้งในไทยและสิงคโปร์

บ้านหลังนี้มีสมาชิกทั้งหมด 9 คน คือคุณพ่อ คุณแม่ ลูก 4 คน และรุ่นหลานอีก 2 คน “ผมมีลูก 2 คน แล้วก็มีความคิดว่า จากที่เคยแยกกันอยู่ ก็ต้องการที่จะมาอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ พี่น้องจะอยู่อย่างไร มีพื้นที่ส่วนตัวแยกไปยังไง ส่วนสิ่งที่ขอดีไซเนอร์อย่างแรกเลยคือ ขอบ้านที่มีลม ขอให้ทุกห้องมีลมผ่าน” จากประสบการณ์ของคุณบอลที่เคยไปบ้านใหญ่ๆ มาหลายหลัง พบว่าบ้านหลายหลังไม่มีลมผ่าน และต้องเปิดแอร์ตลอด การเข้าใจในลม แดด และภูมิอากาศบ้านเรา จึงจำเป็นมากในการออกแบบบ้านหลังนี้

จากลานจอดรถด้านหน้าเข้ามายังบ้าน ทำเป็นลานวนรอบต้นหว้า กำแพงกั้นมีระแนงถอดลวดลายมาจากประตูจีน
ด้านโถงทางเข้าหน้าบ้าน เป็นโถงโล่งเปิดช่องแสงให้เงาระแนงกระทบกับผนัง ที่มีหินอ่อนเป็นฉากหลังของพระพุทธรูป เห็นเป็นองค์พระสวยงามชัดเจน
มุมจากสวนสนมองย้อนกลับไปยังสระบัวและกำแพงกั้นวงเวียนหน้าบ้าน

คุณพันธุ์พงษ์ วิวัฒน์กุล สถาปนิกแห่ง Somdoon Architects อธิบายให้เราว่า หลักใหญ่ของการออกแบบบ้านหลังนี้มีอยู่ 3 อย่างคือ การให้อากาศไหลเวียนได้ดี (Cross Ventilation) พื้นที่เชื่อมต่อระหว่างส่วนต่างๆ ของบ้าน (Transition Space) และความยึดหยุ่นของพื้นที่ภายในและภายนอก

ช่องเปิดต่างๆ ของบ้านไม่ว่าจะเป็นประตู หน้าต่าง ออกแบบให้เป็นช่องกว้างและมีการตรวจสอบเรื่องทิศของลมที่จะไหลเข้าออกตลอด จากแปลนบ้านที่มีแกนกลางเป็นเส้นทางเดินตรงคล้ายกากบาท และวางอาคารเพียงแค่หนึ่งในสี่ของพื้นที่ทั้งหมด ทำให้ลมไหลเข้าออกได้อย่างสะดวก เกิดการตัดกันเป็นสวนตามปีกอาคาร 4 สวน ความรู้สึกภายในและภายนอกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เริ่มตั้งแต่คิดงานร่วมกันระหว่างสถาปนิก มัณฑนากร และภูมิสถาปนิก

ชั้นล่างเปิดโล่งตลอด แสดงถึงความเป็น บ้านโมเดิร์นทรอปิคัลที่เด่นชัด และยังมีน้ำเป็นองค์ประกอบในหลายส่วน ทั้งสระว่ายน้ำ บ่อปลา และบ่อบัว ในส่วนนี้ยังออกแบบให้บางส่วนของชั้นสองเป็นกล่องยื่นออกมาได้น่าสนใจอีกด้วย
มุมมองจากทางเดินกลางบ้านผ่านบ่อปลาคาร์ฟไปยังห้องแฟมิลี่ที่ใช้เป็นที่สังสรรค์และรับประทานอาหาร ลดทอนความเป็นกล่องของโครงสร้างด้วยต้นไม้ทรงพุ่ม

 

สำหรับสวนทั้งหมดนี้รับผิดชอบโดย Sanitas Studio มีคอนเซ็ปต์เป็นสวน 4 ฤดู ได้แก่

สวนฤดูฝน สวนด้านหน้าที่ใกล้กับห้องรับแขกจะเป็นสวนแบบ Sculpture Garden เน้นต้นสนพันธุ์ต่างๆ รูปทรงต้นไม้มีความชัดเจน เพื่อเป็นวิวชมความงาม

สวนสวยที่มีแนวคิดของสวนประติมากรรม ประกอบด้วยสนฉัตรทรงสูง ปลูกเป็นเนินไล่ระดับลงมา
มุมนั่งเล่นสบายๆ ในสวนสน โรยกรวดสีน้ำตาลเป็นทางเดินโดยรอบเข้ากันกับสีระแนงไม้
มุมทั้งสองข้างของประตูหน้าเป็นสระบัว ทำให้บ้านดูร่มเย็นก่อนก้าวผ่านประตูใหญ่ พร้อมทางลาดที่ใช้เป็นจุดชมวิวได้ด้วย

 

สวนฤดูใบไม้ผลิ สวนที่ใกล้ห้องครัวซึ่งอยู่อีกด้านของห้องรับแขกจะเป็นสวนสมุนไพร ปลูกพืชหลายชนิดที่นำมาใช้ปรุงอาหารได้ เป็นสีสันของบ้าน และยังมีบ่อปลาคาร์ฟขนาดใหญ่เอาไว้สร้างความเพลิดเพลินได้เป็นอย่างดี

พืชผักที่รับประทานได้บางส่วนอย่างใบเตย นำมาปลูกในสวนใบไม้ผลิ ในตำแหน่งที่ใกล้กับห้องรับประทานอาหารของครอบครัว
ห้องแฟมิลี่แบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วนด้วยประตูบานเลื่อนเพื่อความสะดวกในการใช้งาน แยกส่วนรับประทานอาหารออกจากโซฟานั่งเล่น
พื้นที่นั่งเล่นในห้องแฟมิลี่ มีประตูบานใหญ่เปิกโล่งทะลุกัน ช่วยให้ลมพัดดีไหลเวียนจากบ่อปลาซึ่งเป็นน้ำและสวนด้วย โดยพื้นที่ตรงนี้จะเริ่มร่มในช่วงเย็นพอดี
แสงยามบ่ายในสวนสมุนไพรซึ่งปลูกเป็นไม้พุ่ม ไม้ยืนต้นเป็นต้นพุด กับห้องนอนแขกที่อยู่หน้าสุดของบ้าน

 

สวนฤดูร้อน ส่วนด้านหลังเป็นสระว่ายน้ำส่วนตัว ปลูกพืชไม้ผล ต้นหมาก ต้นกันเกรา เฟิน แบบสวนทรอปิคัล ได้บรรยากาศแบบรีสอร์ตส่วนตัวด้วยศาลาขนาดเล็ก เน้นการพักผ่อนและทำกิจกรรมต่างๆ ของครอบครัว

สระว่ายน้ำของครอบครัวที่ใช้เป็นจุดพักผ่อน จากจุดนี้เห็นได้ชัดเจนถึงความโปร่งของชั้นล่าง เหมือนพื้นที่ใต้ถุนที่ครอบครัวมารวมกัน สะท้อนงานออกแบบโมเดิร์นทรอปิคัลที่แฝงอยู่ในการใช้งาน
วิวจากห้องหนังสือของบ้านมองไปยังศาลาและสวน
ศาลาริมสระว่ายน้ำโดดเด่นทำให้บ้านมีบรรยากาศคล้ายรีสอร์ต ลายของศาลาล้อกันมาจากกำแพงหน้าบ้านที่เป็นประตูจีน

 

สวนฤดูหนาว ส่วนด้านหลังอีกสวนเป็นเสมือน Secret Garden ในโทนสีเขียวอ่อนด้วยเนินหญ้า ต้นหลิวที่พลิ้วไหว และที่นั่งพักแบบสบายๆ บนขอนไม้ใหญ่ ด้านหน้าสุดมีอีกสวนที่เป็นเสมือนสวนต้อนรับ แทรกบ่อน้ำโอบบ้านด้านหนึ่งไว้ ขณะที่อีกด้านเป็นไผ่ช่วยให้บ้านดูอบอุ่นตั้งแต่เดินผ่านลานจอดรถเข้าไปยังประตูใหญ่

Secret Garden สวนที่พลิ้วไหวด้วยต้นหลิวมากมาย เป็นสวนตัวแทนสวนฤดูหนาว กับการประดับด้วยขอนไม้เป็นที่นั่งง่ายๆ แบบธรรมชาติ
มุมมองของสวนต้นหลิวที่มองกลับไปยังตัวบ้าน มุมนี้จัดอยู่ด้านในส่วนพักผ่อนของบ้าน

 

จุดสำคัญอีกจุดคือการเก็บงานระบบ พื้นที่ด้านข้างของบ้านถูกกันออกเป็นทางเดินยาว หากมองดูจากภายในบ้านจะเห็นเป็นเหมือนรั้วบ้าน แต่จริงๆ แล้วรั้วนี้เป็นรั้วภายในรั้วนอกบ้านจริงๆ อีกชั้น การเซอร์วิส ระบบไฟ งานระบบต่างๆ ช่างและแม่บ้านจะสามารถทำได้จากพื้นที่ระหว่างรั้วทั้งสองนี้ คล้ายกับงานระบบของโรงแรมที่ผู้ใช้งานจะไม่เห็นการทำงานของช่าง

บริเวณลานจอดรถปลูกต้นหว้าใหญ่ มองเห็นเป็นบ้านโมเดิร์นทรอปิคัลได้อย่างชัดเจน
ชุดเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวของบ้านทั้งหมดเลือกให้มีพนักที่ไม่สูงมาก ช่วยเน้นให้เพดานดูสูงยิ่งขึ้นและไม่เป็นเส้นที่กวนสายตา และห้องนี้ยังมีระยะคานยาวถึง 13 เมตร
กำแพงตลอดด้านข้างของบ้านที่ติดกับสวนเป็นกำแพงกั้นส่วนเซอร์วิสและงานระบบออกจากตัวบ้าน คล้ายกับงานระบบของโรงแรมหรือรีสอร์ตที่แยกส่วนกัน
ด้วยขนาดของห้องที่ยาวและเพดานสูงเป็นพิเศษ คุณบอลจึงให้คุณอานนท์ ไพโรจน์ มาออกแบบประติมากรรม Diamond Rice เป็นจุดเด่นอีกจุดของพื้นที่นี้

การตกแต่งภายในจุดเด่นตรงห้องโถงรับแขกคือ ประติมากรรมโคมไฟขนาดยักษ์ Diamond Rice ออกแบบโดยดีไซเนอร์ คุณอานนท์ ไพโรจน์ สะท้อนให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของบ้าน และมีเหลี่ยมเป็นเพชร เนื่องจากคุณบอลทำธุรกิจเกี่ยวกับจิเวลรี เป็นงานออกแบบและสั่งทำพิเศษเพื่อพื้นที่ตรงนี้โดยเฉพาะ ตั้งแต่การเก็บความเรียบร้อยซึ่งจะมองเห็นได้จากชั้น 2 ไปจนถึงระยะความสูงในระดับพอดี ที่จะไม่ทำให้เกิดเงามืดตกลงยามเปิดไฟลงบนชั้น 1

โครงสร้างพื้นที่ตรงนี้เป็นส่วนที่มีระยะห่างของเสามากที่สุดถึง 13 เมตร ซึ่งยาวมาก ส่วนของเสาและคานได้รับการออกแบบให้ซ่อนไว้ในห้องเก็บของ ที่ผู้ใช้งานในบ้านไม่พบเห็นตามโจทย์แรกๆ ที่เจ้าของบ้านต้องการ ด้วยความที่คุณบอลเองก็จบทางด้านตกแต่งภายในมาเช่นกัน จึงเลือกเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวเองทั้งหมด โดยมีแนวคิดที่ต้องการเน้นให้ห้องดูสูง เฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่จึงเลือกสัดส่วนที่ไม่มีพนักสูงและมีเส้นนอนที่เด่นชัด เว้นแต่อาร์มแชร์ในห้องนั่งเล่นของครอบครัวตัวเดียวเท่านั้นที่มีพนักสูงเพื่อเป็นจุดเด่นของห้อง

มุมมองเปิดโล่งไร้เสาของห้องรับแขกที่มีความโอ่อ่า รับวิวสวน สร้างบรรยากาศสวนฤดูฝนในรูปฟอร์มของต้นไม้ที่ชัดเจน
โถงบันไดจากชั้น 2 ที่มองเห็นเพดานของห้องรับแขกและประติมากรรม Diamond Rice ขนาดยักษ์

รายละเอียดในส่วนต่างๆ ที่โดดเด่นในบ้านขนาดใหญ่หลังนี้ยังมีทั้งโถงบันไดที่เป็นเสมือนงานประติมากรรมสีสะอาดตา หลังคาทรงปีกผีเสื้อที่ช่วยให้แสงสว่างเข้าสู่ภายในได้มากขึ้นกว่าหลังคาแบนที่ตั้งใจไว้ในตอนแรก การยื่นของหลังคาในมุมที่ช่วยบังแดดในหลายจุด ผนังอะลูมิเนียมคอมโพสิตซึ่งลดทอนมาจากลายประตูจีน การเชื่อมต่อพื้นที่ด้านในด้านนอกด้วยองค์ประกอบของกรวดโรยพื้น การจัดแสงไฟในยามค่ำคืนของสวน นับเป็นรายละเอียดที่ส่งเสริมให้บ้านโมเดิร์นทรอปิคัลหลังนี้มีความอยู่สบาย และมีเสน่ห์ในแบบเฉพาะตัว แม้แต่ในขณะที่เรานั่งพูดคุยก็ยังรับรู้ได้ถึงสายลมเย็นๆ จนได้ยินเสียงลมเข้ามาในไฟล์บันทึกเสียงสัมภาษณ์อยู่เป็นระยะๆ

สระว่ายน้ำในยามพลบค่ำล้อมรอบด้วยต้นหมาก ปลายสุดปลูกต้นกันเกราสร้างจุดนำสายตาที่ปลายสระ

 


เรื่อง: สมัชชา วิราพร  บ้านโมเดิร์นทรอปิคอล

ภาพ : ศุภกร ศรีสกุล

สไตล์ : วรวัฒน์ ตุลยทิพย์

 

Sleepless Residence บ้านริมทะเลสาบของคุณหนึ่ง ณรงค์วิทย์ ที่ได้ฟีลเหมือนอยู่รีสอร์ต

บ้านดาดฟ้า เหนือหลังคาอพาร์ตเมนต์ใจกลางลาดพร้าว

ท่วงทำนองแห่งสวน 4 ฤดู

The post บ้านโมเดิร์นทรอปิคัลที่รับลมและวิวจากสวน 4 ฤดู appeared first on บ้านและสวน.

RakDok Campsite จากจินตนาการสู่งานศิลปะการจัดดอกไม้ในป่ากลางเมือง

$
0
0

นี่คือครั้งแรกของนิทรรศการในป่าของแบรนด์ RakDok ภายใต้การดูแลของบริษัท เรนฟอเรสท์ เดอะ เว็ดดิ้งส ในชื่อนิทรรศการป็อบอัพว่า Picnics in the Hidden Floral Campsit ที่จะพานักท่องเที่ยวและผู้ชมเข้าไปในป่าใหญ่ของ RakDok Floral Destination | Hidden บริเวณบึงไมตรีจิต คลองสามวา กรุงเทพมหานคร ซึ่งงานจะมียาวไปถึงวันที่ 15 มกราคม 2564 เท่านั้น

นิทรรศการจะเปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 10.00-18.00 น. ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 150.- บาท เด็ก 100.- บาท (เด็กสูงไม่เกิน 110 ซ.ม.)

ภายในพื้นที่จะแยกออกเป็น 3 โซนดังนี้ The Gathering, The Scenery และ The Trial

จุดแรกThe Gathering ต้อนรับผู้เข้าชมด้วยเต็นท์ทรงปิระมิดขนาดใหญ่ที่เป็นเสมือนประตูเข้าสู่อีกโลกหนึ่งของการท่องเที่ยวผจญภัยแบบแคมปิ้งที่มีมุมนั่งรอบกองไฟเป็นวงกลม โดดเด่นด้วยกลุ่มควันที่เกิดจากหมู่มวลดอกไม้แห้งสีแดงเบอกันดี้ที่ลอยสูงขึ้นไปฟุ้งในอากาศ อีกด้านหนึ่งเป็นมุมลังไม้ที่เรียงซ้อนกันเพื่อสร้างบรรยากาศชวนให้นึกถึงเชิงเขาพร้อมด้วยกลุ่มต้นไม้ดอกที่ปลูกแทรกกระจายอยู่รอบๆ และที่พลาดไม่ได้คืออ่างจากุชชี่ดอกไม้ริมน้ำให้ไปนอนแช่ตัวในฟองดอกไม้ที่ฟูฟ่อง

โซนต่อมา The Scenery ความยิ่งใหญ่เหนือความคาดหมายจากแรงบันดาลใจของวิวทิวทัศน์ในธรรมชาติ มุมแรกคือทุ่งลาเวนเดอร์พร้อมด้วยมุมปิคนิคสำหรับถ่ายภาพ รับกับภูเขาสีครามที่ช่วยลดทอนความรู้สึกร้อนจากอุณหภูมิในอากาศในเวลากลางวันลงได้บ้าง แต่มุมที่อลังการที่สุดคงหนีไม้พ้นเถาวัลล์ดอกไม้สีขาวที่ยาวลงมาจากด้านบน ที่มาจากฉากแต่งงานในฝันของใครหลายๆคนของภาพยนตน์เรื่อง Vampire Twilight นอกจากนั้นยังมีอีกเต็นท์หนึ่งที่ทีมงานผู้จัดเตรียมเซอร์ไพรส์ให้กับผู้ชมเมื่อย่างเท้าเข้าไปภายใน

โซนสุดท้าย The Trial พาทุกคนไปสู่ความสวยงามของฤดูใบไม้ร่วงที่จะพบกับใบไม้เปลี่ยนสีทั่วทั้งป่าเป็นสีเหลือง ส้ม แดง น้ำตาล ม่วง ให้ความเพลิดเพลินไปกับการเดินทางตลอดเส้นทาง ก่อนไปสิ้นสุดที่มุมกางเตนต์ใกล้สะพานไม้จุดสุดท้ายที่มีเต้นท์สามเต้นท์ แทนครอบครัว แทนเพื่อน แทนสังคมที่ทีมผู้จัดอยากให้อยู่ด้วย เป็นอีกจุดที่นอกจากจะให้ความสุนทรีย์แล้วยังให้ความอบอุ่นอย่างน่าประทับใจกลับไปอีกด้วย

แผนที่ตั้งของนิทรรศการ RakDok Campsite
แผนผังส่วนต่างๆภายในนิทรรศการ

เรื่อง : ปัญชัช

ข้อมูล : https://rakdok.com/

ภาพ : Arty Photography

Nai Lert Flower & Garden Art Fair 2020 งานดอกไม้ใจกลางกรุงที่มีมานานกว่า 30 ปี

7 เทศกาลดอกไม้ เพลินตา น่าชม

 

The post RakDok Campsite จากจินตนาการสู่งานศิลปะการจัดดอกไม้ในป่ากลางเมือง appeared first on บ้านและสวน.

รวมบ้านอยู่สบาย ถูกใจวัยเกษียณ

$
0
0

เมื่ออายุมากขึ้นผู้สูงอายุจะมีสุขภาพถดถอยและสภาวะอารมณ์ที่เปลี่ยนไปจากเดิม หลายคนจากที่เคยทำงานก็ต้องมาอยู่บ้านเฉยๆ ลูกหลานในบ้านจึงต้องดูแลใส่ใจเป็นพิเศษ ที่สำคัญคือต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่ดี เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดำเนินชีวิตได้ง่ายขึ้น สะดวก และปลอดภัยที่สุด บ้านและสวนได้รวบรวมบ้านชั้นเดียวที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุมาฝากกัน ไว้เตรียมความพร้อมและเป็นไอเดียในการสร้างบ้านก่อนถึงวันเกษียณ

1.บ้านปูนชั้นเดียวกลางสวน ติดริมคลอง โปร่งสบายน่าอยู่

เจ้าของ : คุณคำนึง ยินดีสุข      บ้านสำหรับผู้สูงอายุ

ออกแบบ : คุณภุชงค์ สถิรพิพัฒน์กุล OTATO Architect

บ้านชั้นเดียว  บ้านผู้สูงอายุ

บ้านชั้นเดียว  บ้านผู้สูงอายุ บ้านชั้นเดียว  บ้านผู้สูงอายุ

บ้านปูนชั้นเดียวกลางสวน บ้านพักผ่อนที่หลานชายผู้เป็นสถาปนิกสร้างให้กับคุณตา โดยใช้พื้นที่ร่มรื่นขนาด 100 ตารางวา กลางสวนมะพร้าวติดริมคลองหนองสลิดมาเป็นทำเลหลัก โดยคงต้นไม้ใหญ่อย่างมะขาม ขนุน และมะพร้าวรอบๆ ไว้ จากนั้นจึงสร้างบ้านปูนแบบชั้นเดียวขึ้นมาด้วยพื้นที่ใช้สอย 75 ตารางเมตร ในรูปทรงเหมือนกล่องตัวยู (U) ต่อกันทั้งหมด 4 ก้อนเชื่อมต่อกันโดยมีการเว้นช่องหน้าต่างทรงสูงเล็กๆ ไว้เพื่อไม่ให้บ้านดูทึบเกินไป >>> อ่านต่อ


2.หนีเมืองมาอยู่บ้านชั้นเดียว ใช้ชีวิตหลังเกษียณในอ้อมกอดของขุนเขา

ออกแบบ : คุณธนะชัย นราธัศจรรย์

บ้านชั้นเดียว บ้านวัยเกษียณ บ้านชั้นเดียว บ้านวัยเกษียณ

บ้านชั้นเดียวที่เตรียมไว้หลังวัยเกษียณและเป็นบ้านพักผ่อนสำหรับครอบครัว ในยามที่ต้องการปลีกตัวหลบความวุ่นวายของเมืองมาซึมซับธรรมชาติที่เข็มนาฬิกาเดินเอื่อยเท่าสายน้ำ ออกแบบเน้นความเรียบง่าย กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม และดูแลรักษาน้อย >>> อ่านต่อ


3. บ้านชั้นเดียวผสานธรรมชาติ สำหรับวัยเกษียณ

เจ้าของ : คุณธนรัตน์  ธนพุทธิ

ออกแบบ : สถาปนิกชุมชนและสิ่งเเวดล้อม  อาศรมศิลป์

สถาปนิกที่ปรึกษา : คุณธีรพล  นิยม

สถาปนิกโครงการ : คุณวิศรา  ผดุงสัตย

บ้านชั้นเดียว  บ้านผู้สูงอายุ บ้านชั้นเดียว  บ้านผู้สูงอายุ บ้านชั้นเดียว  บ้านผู้สูงอายุ บ้านชั้นเดียว  บ้านผู้สูงอายุ บ่อปลา

บ้านชั้นเดียวที่ได้แรงบันดาลใจมาจากเรือนไทย พร้อมออกแบบให้คำนึงถึงการใช้งานสำหรับผู้สูงอายุ โดยทำทางเดินที่เชื่อมต่อเนื่องกันได้ทั้งหลัง มีทางลาด มีพื้นที่รองรับหลานๆ และเพื่อนสนิทที่มาเยี่ยมเยือน เน้นความเรียบง่ายถ่อมตัวให้กลมกลืนไปกับธรรมชาติโดยรอบ  >>> อ่านต่อ


4. บ้านชั้นเดียวบนพื้นฐานความเรียบง่าย

เจ้าของ: คุณชำนาญ ชัชวาลยางกูร

สถาปนิก: คุณธีรชัย ลี้สุรพลานนท์

บ้านชั้นเดียว  บ้านผู้สูงอายุ บ้านชั้นเดียว  บ้านผู้สูงอายุ

บ้านชั้นเดียวกลางทุ่งแห่งหนึ่งในจังหวัดอ่างทองที่ออกแบบบนพื้นฐานความเรียบง่าย ทั้งในเรื่องเส้นสายระนาบแนวตั้งแนวนอนสลับให้สมดุล ไม่มีซอกหรือสันไว้เก็บฝุ่น และใช้วัสดุที่เป็นสัจจะแบบไม่ปรุงแต่งอย่างปูน ไม้ เหล็ก อิฐ และกรวด ภายใต้หลังคาโครงสร้างเหล็กในทรงแหงนที่เชิดขึ้นทางทิศเหนือให้ลู่ไปตามลม ตัวบ้านยกลอยขึ้นจากพื้นเพื่อให้ข้างล่างโปร่งและเอื้อต่องานระบบไปในตัว กำแพงด้านหน้าโดดเด่นด้วยอิฐ บ.ป.ก.ซึ่งเป็นวัสดุพื้นถิ่นของอ่างทอง โดยนำมาจัดเรียงใหม่เพื่อให้มีช่องเปิดรับแสงเงาสวยๆ ซ้อนด้วยหน้าต่างกระจกบานเลื่อนอีกชั้นเพื่อความปลอดภัย และรอบๆ บ้านโรยกรวดแม่น้ำ เผื่อเวลามีใครเดินจะได้ส่งเสียงบอกเจ้าของบ้านให้รู้ตัว >>> อ่านต่อ


5. บ้านชั้นเดียว อยู่สบายของคนวัยเกษียณ

เจ้าของ: พลอากาศเอกทวิเดนศ – คุณสาริณี อังศุสิงห์

สถาปนิก : AA+A โดยคุณธนัทเกียรติ จงเกรียงไกร และคุณกนกกาญจน์ เฮงอุดมทรัพย์

บ้านชั้นเดียว  บ้านผู้สูงอายุ บ้านชั้นเดียว  บ้านผู้สูงอายุ บ้านชั้นเดียว  บ้านผู้สูงอายุ

บ้านชั้นเดียวรูปทรงกล่องสี่เหลี่ยมสีขาวดีไซน์เรียบง่าย ที่ต่อเติมด้านข้างของบ้านเก่าให้เป็นบ้านหลังเกษียณ พร้อมสเปซการใช้พื้นที่ที่เอื้อให้คุณภาพชีวิตของเจ้าของบ้านสะดวกสบายขึ้น สำหรับเป็นเเรงบันดาลใจให้คนในวัยใกล้เกษียณ >>> อ่านต่อ


รวบรวม : Tatsareeya S., Tarnda    บ้านสำหรับผู้สูงอายุ

ภาพ : ฝ่ายภาพบ้านและสวน

รวมแนวทางการสร้าง “บ้านเพื่อผู้สูงอายุ”

แจกฟรี 4 แบบบ้านที่รองรับผู้สูงวัย ให้อยู่บ้านได้อย่างปลอดภัย

บ้านมินิมัลในแบบมูจิที่สนทนากับธรรมชาติและผู้สูงอายุ

The post รวมบ้านอยู่สบาย ถูกใจวัยเกษียณ appeared first on บ้านและสวน.

รวมบ้านสวยสไตล์กระท่อมน้อยกลางสวน

$
0
0

เชื่อว่าหลายคนเคยมีความคิดอยากมี “กระท่อมเล็กๆ” สักหลังที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติอันแสนสดชื่น มองไปทางไหนก็เห็นแต่สีเขียวชอุ่มชุ่มตา น่าจะช่วยให้ชีวิตของเราได้ผ่อนคลายขึ้นอีกมาก

บ้านและสวน จึงได้รวม “5 บ้านสวยสไตล์กระท่อมน้อยกลางสวน” ที่เห็นแล้วอาจทำให้คุณใจละลาย อยากมีบ้านน่ารักๆแบบนี้บ้าง จะสร้างไว้เป็นโลกส่วนตัวของคุณที่อยู่ไม่ไกลจากตัวบ้านหลัก หรือใช้เป็นบ้านตากอากาศในต่างจังหวัดก็เข้าท่า เพราะมีโครงสร้างไม่ซับซ้อน ก่อสร้างได้ง่าย      บ้านขนาดเล็กอยู่สบาย

1. บ้านไม้ที่มีความสุขอยู่เต็มไปหมด

เจ้าของ : คุณวราภรณ์ ปุณณะหิตานนท์
ออกแบบ – ก่อสร้าง : บริษัทอายะติ จำกัด

บ้านขนาดเล็ก บ้านกระท่อม บ้านชั้นเดียว บ้านขนาดเล็ก บ้านกระท่อม บ้านชั้นเดียว ระเบียง บ้านขนาดเล็ก บ้านกระท่อม บ้านชั้นเดียว

บ้านเล็กๆ หลังนี้ก่อสร้างด้วยไม้สนจากประเทศรัสเซีย ทั้งหลังประกอบขึ้นด้วยระบบน็อกดาวน์ จึงก่อสร้างได้รวดเร็วกว่าบ้านแบบปกติมาก แถมยังมีกลิ่นหอมจากไม้สนและดูสวยงามอีกด้วย สีเหลืองครีมอ่อนๆ ของตัวบ้านเมื่ออยู่ท่ามกลางต้นไม้น้อยใหญ่ก็สร้างบรรยากาศให้บ้านดูน่าอยู่และมีชีวิตชีวา การแบ่งพื้นที่ใ ช้สอยของบ้านดูกะทัดรัด เริ่มตั้งแต่ระเบียงไม้กว้างหน้าบ้านสำหรับออกมานั่งพักผ่อน ส่วนภายในประกอบด้วยห้องโถงซึ่งกว้างขวางเพียงพอให้คนในครอบครัวมาใช้งานร่วมกัน ทั้งยังแบ่งมุมหนึ่งเป็นแพนทรี่เล็กๆ ได้ด้วย รอบห้องเจาะหน้าต่างให้แสงสว่างจากภายนอกลอดเข้ามา บ้านหลังนี้มีเพียง 1 ห้องนอนและ 1 ห้องน้ำ แต่ก็จัดวางผังการใช้งานได้ลงตัวและสวยงาม  >>> อ่านต่อ 


2. บ้านกลิ่นอายโปรวองซ์ที่มีอากาศเย็นตลอดทั้งปี

เจ้าของ – ออกแบบ : คุณศิริวัฒน์ มังคลรังษี

บ้านขนาดเล็ก บ้านกระท่อม บ้านชั้นเดียว บ้านขนาดเล็ก บ้านกระท่อม บ้านชั้นเดียว บ้านขนาดเล็ก บ้านกระท่อม บ้านชั้นเดียว
บ้านขนาดชั้นครึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี ชั้นล่างเป็นห้องนั่งเล่นและครัว ชั้นลอยเป็นห้อนนอน ผนังภายนอกกรุหินทราย อันเป็นสไตล์ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบ้านในแคว้น Aix-En-Provence ประเทศฝรั่งเศส บ้านนี้หันหน้าเข้าหาหุบเขาเบื้องหน้า มีระเบียงหน้าบ้านเล็กๆเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ เดิมทีพื้นที่ตรงนี้เคยเป็นไร่หัวไช้เท้า มะเขือเทศ และผักชีมาก่อน จึงไม่จำเป็นต้องปรับพื้นที่มากนัก รวมถึงเจ้าของบ้านอยากเก็บพื้นที่เอาไว้แบบเดิมให้มากที่สุด โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมรอบข้าง โดยบ้านทุกหลังในชุมชนนี้มีวิถีชีวิตที่ช่วยเหลือกัน ทุกบ้านใช้พลังงานโซลาร์เซลล์และกักเก็บน้ำฝนไว้ใช้ นับว่าเป็น Green Society อย่างแท้จริง  >>> อ่านต่อ


3.บ้านไม่เนี้ยบแต่สวยมากของศิลปินนักปั้น

เจ้าของ : คุณจำเนียร ทองมา
บ้านขนาดเล็ก บ้านกระท่อม บ้านชั้นเดียว
บ้านพักและสตูดิโอทำงานศิลปะที่ตั้งอยู่ในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา บนพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ เต็มไปด้วยต้นไม้และอยู่ใกล้ลำธารสายเล็กๆ โครงสร้างเดิมของบ้านเป็นแบบบ้านชั้นเดียวที่เห็นได้ตามบ้านต่างจังหวัดทั่วไป เมื่อเจ้าของบ้านตรวจสอบว่าโครงสร้างยังแข็งแรงดี จึงเปลี่ยนการใช้งานใหม่ โดยหลังแรกจากที่จอดรถเดิมซึ่งมีเพียงโครงหลังคาและเสา ก็ปรับเป็นผนังทึบและขยับออกห่างจากเสาเพื่อขยายพื้นที่ ใช้เป็นมุมนั่งเล่นและห้องแสดงผลงาน ส่วนหลังที่อยู่ถัดไปด้านในเดิมมีการกั้นพื้นที่แบ่งเป็นสองห้องนอน ก็ทุบผนังออกเกือบทั้งหมดเพื่อให้พื้นที่เปิดโล่งขึ้น เว้นผนังไว้ด้านหนึ่งสำหรับเจาะทำผนังโค้ง เพื่อให้เข้ากับเฟอร์นิเจอร์ที่จะนำมาวาง >>> อ่านต่อ


4. ความทรงจำตลอด 20 ปี ของ “บ้านสไตล์อิงลิชคอทเทจ”

เจ้าของ-ตกแต่ง : คุณอำนาจ คีตพรรณา
บ้านขนาดเล็ก บ้านกระท่อม บ้านชั้นเดียว บ้านขนาดเล็ก บ้านกระท่อม บ้านชั้นเดียว บ้านขนาดเล็ก บ้านกระท่อม บ้านชั้นเดียว บ้านขนาดเล็ก บ้านกระท่อม บ้านชั้นเดียว
บ้านที่ออกแบบให้มีลักษณะเหมือนกระท่อมการวางแปลนของตัวบ้านก็ดูเป็นความจงใจของคุณอำนาจที่ต้องการให้ทุกส่วนของบ้านได้สัมผัสกับสวนอย่างใกล้ชิด และไม่ว่าจะอยู่บริเวณใดในบ้านหลังนี้ก็จะได้ความเย็นสบายจากสายลมเอื่อยๆที่พัดผ่านตัวบ้าน สำหรับการตกแต่งภายในอิงสไตล์อิงลิชเอ็ดวาร์เดียนคอตเทจ เพราะเจ้าของบ้านเคยไปเรียนและใช้ชีวิตที่ประเทศอังกฤษนานหลายปี จึงมีความคุ้นเคยและเก็บความประทับใจในสไตล์การตกแต่งแบบนี้กลับมาสร้างบ้านพักส่วนตัว >>> อ่านต่อ 


5. บ้านชั้นเดียวบนเนิน ชมวิวเพลินทั้งวัน

เจ้าของ : คุณบุญจิรา ศิลารมณ์
ออกแบบ – ก่อสร้าง : บริษัทอายะติ จำกัด

บ้านขนาดเล็ก บ้านกระท่อม บ้านชั้นเดียว บ้านขนาดเล็ก บ้านกระท่อม บ้านชั้นเดียว บ้านขนาดเล็ก บ้านกระท่อม บ้านชั้นเดียว

บ้านไม้สนชั้นเดียวโชว์สีสันและผิวสัมผัสแบบไม้สนอย่างสวยงาม คู่กับหลังคายางชิงเกิ้ลสีเทาดูเข้ากัน บนที่ดินจัดสรรในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ด้านหน้ามีสนามหญ้าไล่ไปตามเนิน รับกับฉากหลังอันเป็นทิวทัศน์แสนสวยงามของภูเขาสลับซับซ้อน ใต้ถุนบ้านใช้พื้นที่เหลือจากโครงสร้างฐานรากขึ้นเป็นเสาตามความชันเดิมของพื้นที่ สามารถทำห้องเก็บของและห้องพักรับรองแขกได้อีก ดูแล้วเป็นบ้านที่ออกแบบฟังก์ชันได้ครบครันในขนาดที่เหมาะสม ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นบ้านไม้สำเร็จรูปแบบน็อกดาวน์ที่ติดตั้งก่อสร้างได้ง่าย ใช้เวลาไม่นาน เป็นบ้านที่ให้ความรู้สึกเหมือนได้มาพักผ่อนจริง ๆ  >>> อ่านต่อ


รวบรวม : Tarnda  บ้านขนาดเล็กอยู่สบาย

ภาพ : ฝ่ายภาพบ้านและสวน และนิตยสาร room

5 บ้านกลางทุ่ง อยู่สบายทั้งกายและใจ

รวม 5 แบบบ้านโมเดิร์นชั้นเดียว

รวมบ้านอยู่สบาย ถูกใจวัยเกษียณ

The post รวมบ้านสวยสไตล์กระท่อมน้อยกลางสวน appeared first on บ้านและสวน.


Kuv Niam Forest ไปชมทุ่งดอกมาร์กาเร็ตที่กู๊เนียร์ ฟอร์เรสต์กัน!

$
0
0

จากครั้งที่แล้วที่บ้านและสวนได้พาไปเที่ยวที่ I Love Flower Farm กันมาแล้ว ครั้งนี้เราจะพาไปชมทุ่งดอกมาร์กาเร็ตที่ Kuv Niam Forest กันค่ะ

ช่วงปลายปีแบบนี้หลาย ๆ คน น่าจะเริ่มเตรียมตัววางแผนเที่ยวกันแล้วใช่มั้ยคะ ยิ่งเป็นช่วงที่อากาศดี ๆ ก็คงจะหนีไม่พ้นภาคเหนือกัน ถึงแม้ว่าที่ภาคกลางอากาศเย็นๆนั้นได้หายไปจากเราแล้ว แต่ที่ภาคเหนืออากาศยังคงเย็นสบายอยู่ ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่เลือกที่จะไปเที่ยวภาคเหนือกันในช่วงนี้ เมื่อไปเยือนภาคเหนือสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือการไปถ่ายรูปท่ามกลางทุ่งดอกไม้สวย ๆ ซึ่งทุ่งดอกไม้ที่เราได้เก็บภาพมาฝากในวันนี้ก็คือ Kuv Niam Forest กู๊เนียร์ ฟอร์เรสต์ ค่ะ

Kuv Niam Forest
Kuv Niam Forest
Kuv Niam Forest
ทุ่งดอกมาร์กาเล็ต

Kuv Niam Forest

Kuv Niam Forest กู๊เนียร์ ฟอร์เรสต์ เป็นทุ่งดอกมาร์กาเร็ตที่ตั้งอยู่ตำบลแม่ริม ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่เพียง 10 ก.ม. เท่านั้น ความพิเศษของที่นี่คือเป็นทุ่งดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุด แบ่งเป็น โซนๆ มีทั้งดอกมาร์กาเร็ต ดอกคัตเตอร์ และทุ่งนาสีทอง นอกจากดอกไม้แล้วที่นี่ยังจัดมุมให้ถ่ายรูปไว้ให้อีกหลายมุม น่าจะถูกใจสาวๆ อย่างแน่นอน

Kuv Niam Forest

Kuv Niam Forest
ดอกมาร์กาเร็ต

Kuv Niam Forest

วิธีการเดินทาง: สามารถเหมารถขึ้นมา หรือขับมาเองได้ที่แม่ริมโดยไปทางวัดอัมพวันแล้วขับตรงไปอีก 1 กิโลเมตร สวนจะอยู่ทางด้านขวามือ
แผนที่: https://goo.gl/maps/UHEX4fwzoA1URar86
เปิด : 08.00 – 18.00 น.
ค่าเข้า: ช่วงนี้เก็บค่าเข้า 10 บาทต่อท่าน และเมื่อดอกไม้รุ่นใหม่บานแล้วทางสวนจะขึ้นเป็น 50 บาทเท่าเดิม (ดอกรุ่นใหม่บานประมาณต้นเดือนธันวาคม)
Line : @kn.forest

เรื่อง: Tatsareeya S.

 

 

The post Kuv Niam Forest ไปชมทุ่งดอกมาร์กาเร็ตที่กู๊เนียร์ ฟอร์เรสต์กัน! appeared first on บ้านและสวน.

รวม 5 บ้านโมเดิร์นที่อบอวลไปด้วยกลิ่นอายญี่ปุ่น

$
0
0

ความเรียบง่ายของเส้นสายเรขาคณิตแบบโมเดิร์น การใช้โทนสีขาวหรือเอิร์ธโทน และวิถีแห่งเซนที่เน้นความสงบนิ่ง ซึ่งปรากฏในรูปแบบการใช้วัสดุธรรมชาติอย่างไม้ หรือการนำธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบ้าน กลายเป็นส่วนผสมที่ลงตัวในงานสถาปัตยกรรมโมเดิร์นแบบญี่ปุ่น ซึ่งเป็นความงดงามในแบบน้อยแต่มาก หรือ Less is more ที่ใครหลายคนฝันอยากมีบ้านเรียบเท่แบบนี้ ลองมาดูไอเดียการออกแบบบ้านโมเดิร์นสไตล์ญี่ปุ่นที่ บ้านและสวน รวบรวมมาให้ชมกันได้เลย

1. เปลี่ยนบ้านจัดสรรทึบตันให้เปิดโปร่ง ล้อมคอร์ตสวนหินกลิ่นอายญี่ปุ่น

เจ้าของ : คุณกานต์ เฮงสวัสดิ์      บ้านโมเดิร์นกลิ่นอายญี่ปุ่น
สถาปนิก :คุณก้องเกียรติ ถิรธำรงเกียรติ

บ้านโมเดิร์น บ้านโมเดิร์นกลิ่นอายญี่ปุ่น บ่อปลา สวนเซน บ้านโมเดิร์น บ้านโมเดิร์นกลิ่นอายญี่ปุ่น สวนเซน บ้านโมเดิร์น บ้านโมเดิร์นกลิ่นอายญี่ปุ่น

รีโนเวตบ้านจัดสรรอายุกว่า 30 ปีที่ภายในค่อนข้างปิดทึบ โดยการเจาะช่องกลางบ้านเพื่อเปลี่ยนให้เป็นคอร์ตสวนหินที่โปร่งโล่ง เปิดให้แสงและลมธรรมชาติเข้าสู่ภายใน กลายเป็นบ้านรูปทรงตัวยู (U) ที่มีกลิ่นอายของบ้านสไตล์ญี่ปุ่น >>> อ่านต่อ 


2. บ้านมินิมัลกึ่งสตูดิโอที่อบอวลไปด้วยกลิ่นขนมปังหอมกรุ่น

เจ้าของ: คุณอังสุมารินทร์ เหล่าเรืองธนา และคุณนิกร ศรีพงศ์วรกุล
บ้านโมเดิร์น บ้านโมเดิร์นกลิ่นอายญี่ปุ่น ร้านขนมปัง บ้านโมเดิร์น บ้านโมเดิร์นกลิ่นอายญี่ปุ่น ระเบียง มุมทำงาน ผนังอิฐโชว์แนว
บ้านมินิมัลสีขาวที่ออกแบบให้ชั้นล่างเป็นร้านขนมปังแสนอร่อย ภายในเน้นให้เห็นถึงความโปร่งโล่ง สบายตา สอดรับกับการติดตั้งประตู-หน้าต่างกระจกบานใหญ่เพื่อเปิดรับแสงธรรมชาติและพื้นที่สีเขียวจากภายนอก ขณะที่การตกแต่งภายในสื่อสารออกมาในรูปแบบมินิมัลที่เรียบนิ่ง จนแอบค่อนไปทางเซนในแบบฉบับของญี่ปุ่น >>> อ่านต่อ 


3. บ้านสีขาวสไตล์มินิมัลแบบญี่ปุ่นที่มีทุ่งนาสีทองเป็นฉากหลัง

เจ้าของ : คุณณัฐ ปราชญากูล
สถาปนิก : Depth Architect โดยคุณธนกร ฉัตรทิพากร และคุณอภิญญา กุระคาน
บ้านโมเดิร์น บ้านโมเดิร์นกลิ่นอายญี่ปุ่น บ้านโมเดิร์น บ้านโมเดิร์นกลิ่นอายญี่ปุ่น บ้านโมเดิร์น บ้านโมเดิร์นกลิ่นอายญี่ปุ่น บ้านโมเดิร์น บ้านโมเดิร์นกลิ่นอายญี่ปุ่น
บ้านรูปทรงเรขาคณิตภายใต้หลังคาทรงจั่ว โดยมีช่องแสงที่รับล้อกับการเอียงของรูปทรงเรขาคณิตอยู่ตามผนังส่วนต่างๆ ของบ้านซึ่งผ่านการคำนวณอย่างดีถึงองศาการเอียงเพื่อสามารถเปิดรับแสงและเงาเข้ามาในบ้านในเวลาที่เหมาะสม รวมถึงเปิดมุมมองออกสู่ภูมิทัศน์ธรรมชาติ โดยเฉพาะทุ่งนาข้าวสวยๆ ข้างบ้าน ภายในเน้นตกแต่งสไตล์มินิมัลแบบญี่ปุ่นที่ดูเรียบง่ายในโทนสีขาวผสมด้วยวัสดุไม้ที่มาเติมความอบอุ่น >>> อ่านต่อ 


4. บ้านโมเดิร์นทรงกล่องกลิ่นอายเอเชีย

เจ้าของ : คุณศุภชาติ – คุณนีรภา บุตรดีขันธ์
สถาปนิก : Pijic Architect โดยคุณศรายุทธ ใจคำปัน
บ้านโมเดิร์น บ้านโมเดิร์นกลิ่นอายญี่ปุ่น บ้านโมเดิร์น บ้านโมเดิร์นกลิ่นอายญี่ปุ่น บ้านโมเดิร์น บ้านโมเดิร์นกลิ่นอายญี่ปุ่น บ้านโมเดิร์น บ้านโมเดิร์นกลิ่นอายญี่ปุ่น
บ้านรูปทรงตัวแอล (L) ตกแต่งด้วยสไตล์โมเดิร์นร่วมสมัย เน้นความอบอุ่นขององค์ประกอบไม้ เฟอร์นิเจอร์ไม้กับโทนสีขาวสว่างตาภายใต้กลิ่นอายแบบเอเชีย วางผังบ้านโดยเน้นมุมเปิดที่เชื่อมแต่ละมุมของบ้านให้ต่อเนื่องกันและเปิดออกสู่สระว่ายน้ำนอกบ้าน พร้อมมุมน่ารักพิเศษด้วยห้องฟังเพลงและจิบชาแบบญี่ปุ่น >>> อ่านต่อ 


5. คอร์ตกลางบ้านกับต้นไม้ใหญ่ของบ้านเรียบง่ายสไตล์เซน

สถาปนิก : INLY STUDIO โดยคุณปกรณ์ อยู่ดี
บ้านโมเดิร์น บ้านโมเดิร์นกลิ่นอายญี่ปุ่น
บ้านที่ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์กันระหว่าง “บ้าน” กับ “สวน” โดยออกแบบให้มีคอร์ตกลางบ้าน พร้อมปลูกต้นไม้ใหญ่สองต้นที่วางตัวเป็นประธานอยู่ในทั้งสองคอร์ต เพื่อให้สามารถพักผ่อนเเละสัมผัสกับธรรมชาติได้อย่างใกล้ชิดตามวิถีเเห่งเซน  >>> อ่านต่อ


รวบรวม : Tarnda    บ้านโมเดิร์นกลิ่นอายญี่ปุ่น

ภาพ : ฝ่ายภาพบ้านและสวน และนิตยสาร room

YASU HOUSE บ้านหน้าต่างยาวที่ออกแบบไว้นั่งมองเขาและทิวไม้จากมุมนั่งเล่น

KOKA HOUSE บ้านไม้รูปทรงสามเหลี่ยมที่ซ่อนความละมุนไว้ภายใน

FUKAKUSA STUDIO HOUSE สตูดิโอของคู่รักงานไม้กลางป่าไผ่ในเกียวโต

 

The post รวม 5 บ้านโมเดิร์นที่อบอวลไปด้วยกลิ่นอายญี่ปุ่น appeared first on บ้านและสวน.

Hot Wire Extensions เฟอร์นิเจอร์จากผงพลาสติกเหลือทิ้งใน 3D Printing

$
0
0

Hot Wire Extensions แบรนด์ของนักออกแบบรุ่นใหม่ไฟแรง Fabio Hendry นำเสนอคอลเล็กชั่นเฟอร์นิเจอร์ ที่เกิดจากการรีไซเคิลผงพลาสติกไนลอนเหลือทิ้งในกระบวนการพิมพ์สามมิติ การออกแบบที่ผสานนวัตกรรมเข้ากับหัตถกรรม นำไปสู่ความเป็นไปได้ใหม่ไม่รู้จบอันเกิดขึ้นจากการคิดค้นวัสดุ และกระบวนการผลิตรูปแบบใหม่ พร้อม ๆ กับแนวคิดที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

Basic Two Seater ภาพ © Fabio Hendry
Basic Shelf ภาพ © Fabio Hendry
Grid Bench ภาพ © H.R.Rohrer

จุดเริ่มต้น

Hot Wire Extensions ให้ความสำคัญกับการออกแบบเพื่อความยั่งยืน และมุ่งมั่นผสมผสานนวัตกรรมวัสดุ และการทดลองทางวิศวกรรมเข้ากับงานออกแบบ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมการผลิตรูปแบบใหม่ จุดเริ่มต้นของคอลเล็กชั่นนี้มาจากความพยายามในการสร้างกระบวนการรีไซเคิล เพื่อลดปริมาณผงไนลอนเหลือทิ้งที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการพิมพ์แบบสามมิติ โดยผงไนลอน (Nylon) หรือผงพลาสติกพอลิเอไมด์ (Polyamide, PA) นั้นคือวัตถุดิบหลักของกระบวนการพิมพ์สามมิติแบบ SLS ซึ่งเป็นการยิงแสงเลเซอร์พลังงานสูง ไปยังผงวัสดุให้เกิดการหลอมเหลวแล้วยึดติดกันเป็นเนื้อเดียวเพื่อขึ้นรูปชิ้นงาน ซึ่งผงไนลอนเหล่านี้ สามารถนำมาใช้ใหม่ได้เพียง 20-50% เท่านั้น และยังไม่ได้รับการรีไซเคิลอย่างจริงจังในอุตสาหกรรมหลักที่ใช้เครื่องพิมพ์สามมิติแบบ SLS

Hotel Light Series คอลเล็กชั่นใหม่ล่าสุดของปี 2020 ภาพ © MARCO ROSASCO
Random Light Series คอลเล็กชั่นใหม่ล่าสุดของปี 2020 ภาพ © MARCO ROSASCO

กระบวนการผลิตรูปแบบใหม่

ด้วยแรงบันดาลใจจากการเติบโตของเถาวัลย์ที่พันรัดรอบต้นไม้ Hendry สร้างสรรค์กระบวนการผลิตใหม่ โดยใช้วิธีการขึ้นรูปทรงของชิ้นงานด้วยลวดนิโครม (Nichrome) และติดตั้งในภาชนะที่ประกอบด้วยส่วนผสมของผงไนลอนเหลือทิ้ง และทรายซิลิกาบริสุทธิ์ เมื่อส่งผ่านกระแสไฟฟ้าผ่านเส้นลวด ความร้อนจะหลอมไนลอนโดยรอบ ทำให้ส่วนผสมแข็งตัวไปตามแนวโครงลวดเกิดเป็นรูปทรงใหม่ ทรายทำหน้าที่เป็นทั้งวัสดุฟิลเลอร์ตัวนำความร้อน และป้องกันไม่ให้ผงไนลอนหลุดออกจากลวด โดยความหนาของชิ้นงานจะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาในการส่งผ่านกระแสไฟฟ้า

ไดอะแกรมแสดงกระบวนการผลิต A. ติดตั้งโครงลวดนิโครมตามรูปทรงที่ต้องการ  B. เทส่วนผสมของผงไนลอน และทรายซิลิกาลงในกระบะ  C. เชื่อมต่อลวดเข้ากับกระแสไฟฟ้าเพื่อให้เกิดความร้อนสูง D. ผงไนลอนที่หลอมละลายจะทำให้เกิดมวลของรูปทรงตามแนวโครงลวด
เชื่อมต่อสายไฟฟ้าเข้ากับลวดนิโครม เพื่อให้เกิดความร้อน และผงไนลอนจะหลอมจับตัวเป็นรูปทรงตามโครงลวด ภาพ © Fabio Hendry
เมื่อเทผงส่วนผสมของไนลอนและทรายซิลิกาออก ก็ได้ชิ้นงานใหม่ ภาพ © Fabio Hendry
ตัวอย่างชิ้นงานหลากหลายรูปแบบ รูปทรงที่ได้เกิดจากการสร้างมวลวัสดุรอบแนวเส้นลวด เพื่อให้เกิดรูปทรงที่ต้องการจึงต้องทดลองในหลายด้าน ภาพ © Fabio Hendry

คอลเล็กชั่น

หลากหลายคอลเล็กชั่นที่นำเสนอประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ ทั้งเฟอร์นิเจอร์ โคมไฟ ไปจนถึงของตกแต่ง และงานศิลปะ สไตล์ที่โดดเด่นเกิดจากการผสานแรงบันดาลใจจากรูปทรงธรรมชาติ และเรขาคณิต เข้ากับด้วยกระบวนการผลิตที่สร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวให้กับรูปทรงของชิ้นงาน นอกจากนี้ แม้ว่าจะสร้างสรรค์จากวัสดุสังเคราะห์อย่างไนลอน แต่ผิวสัมผัสแมต ดิบกระด้างเป็นพิเศษของวัสดุก็สร้างกลิ่นอายของธรรมชาติได้อย่างน่าทึ่ง

Basic Bench ภาพ © H.R.Rohrer
Basic Shelf ภาพ © Fabio Hendry
Frame Light ภาพ © H.R.Rohrer
Wave and Sticks ภาพ © H.R.Rohrer
Architectural Truss ชิ้นงานไม่ได้หยุดอยู่แค่งานเฟอร์นิเจอร์ และโคมไฟ แต่ยังขยายศักยภาพไปสู่การทดลองงานโครงสร้างสถาปัตยกรรม ภาพ © Fabio Hendry

ผู้ก่อตั้ง

Fabio Hendry นักออกแบบจากสวิสเซอร์แลนด์ จบการศึกษาจาก Royal College of Art ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เขาร่วมก่อตั้ง Studio ilio พร้อมกับ Seongil Choi นักออกแบบจากจากเกาหลีใต้ และเริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์นี้ด้วยกัน ปัจจุบัน เขาทำงานให้กับทั้งภาคเอกชน และภาครัฐ ตั้งแต่หอศิลป์ สถาบันของรัฐ ลูกค้ารายย่อย และลูกค้าส่วนตัว ผลงานของเขาได้รับการสนับสนุนจาก Crafts Council UK, Korean Crafts Council, Swiss Arts Council และ Okro Gallery

(ซ้าย) Fabio Hendry ภาพ © Paul Plews / (ขวา) Basic Ladder with 1.5 Seater ภาพ © Fabio Hendry

Hendry พยายามค้นหาศักยภาพใหม่ ๆ ในทุกเรื่องราวที่มักถูกมองข้าม ตั้งแต่ด้านงานสถาปัตยกรรมไปจนถึงในแง่มุมของศาสตร์ด้านวัสดุ เขาสนใจจุดเปลี่ยนของอุตสาหกรรม และพยายามสร้างสรรค์ทางเลือกใหม่ในการผลิต เขาเชื่อว่าการผสมผสานแนวคิดด้านการออกแบบ และทฤษฎีทางนิเวศวิทยา จะนำพาเราไปสู่การสร้างสรรค์วัสดุใหม่ ๆ ได้อีกไม่รู้จบ ผลงานของเขาจึงถือได้ว่าเป็นนวัตกรรม ที่ทดลองกับเส้นแบ่งระหว่างอุตสาหกรรม และหัตถกรรม โดยไม่มีกรอบจำกัด ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ ตั้งแต่เฟอร์นิเจอร์ไปจนถึงประติมากรรม และงานศิลปะจัดวาง

ตามไปชมผลงานอื่น ๆ ในคอลเล็กชั่นต่อได้ที่

www.hotwireextensions.com  และ www.Instagram.com/hotwireextensions

ภาพ:Fabio Hendry, Marco Rosasco, Paul Plews และ H.R.Rohrer

เรียบเรียง: dsnm


DRAGONERPANZER เมื่อครั้งศิลปะ มีค่ามากกว่ากองทหาร

The post Hot Wire Extensions เฟอร์นิเจอร์จากผงพลาสติกเหลือทิ้งใน 3D Printing appeared first on บ้านและสวน.

รั้วเมทัลชีท ติดตั้งเองได้ ไม่ยากเลย

$
0
0

รั้วเมทัลชีท เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่กำลังได้รับความนิยมในประเทศไทย ด้วยสามารถตอบโจทย์ความต้องการของเจ้าของบ้านได้ สามารถทำได้เองในราคาที่ย่อมเยาว์ บ้านและสวน จึงอยากพาท่านผู้อ่านไปดูขั้นตอนการติดตั้งรั้วเมทัลชีตด้วยตัวเองกัน

ทำไมต้องเลือก รั้วเมทัลชีต

ข้อดี

  1. น้ำหนักเบา เพราะส่วนใหญ่เป็นโลหะรีดลอน
  2. ก่อสร้างได้ง่าย เพียงแค่ยิงสกรูยึดติดกับแปโลหะที่ยึดติดกับเสาปูนสำเร็จอีกทีก็เรียบร้อย
  3. มีความทนทานกว่ารั้วไม้และไม้ไผ่
  4. ราคาย่อมเยากว่ารั้วทึบประเภทอื่นๆ(ไม่รวมถึงรั้วลวดหนาม)
  5. เป็นมิตรกว่ารั้วลวดหนาม

ข้อเสีย

  1. บุบได้ง่ายหากมีแรงมากระทำกับรั่ว
  2. อาจขึ้นสนิมบ้าง แต่ไม่ทำความเสียหายใดๆกับตัวรั้ว

อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการทำรั้วเมทัลชีทด้วยตัวเอง

  1. เสาปูน แบบมีฐาน หรือที่เรียกว่า เสาตีนช้าง สำหรับความยาวนั้นให้เลือกเอาตามต้องการ แล้วบวกเพิ่มไป 1 เมตรเผื่อฝั่งดิน เช่นต้องการให้พ้นหัวที่ 1.8 เมตร ก็ซื้อเสา 4″ ความยาว 2.8 เมตรเป็นต้น
  2. แผ่นเมทัลชีท แน่นอนที่สุดที่เมื่อต้องการทำรั้วเมทัลชีทแล้วจะไม่มีเมทัลชีทได้อย่างไร เลือกความยาวให้พอดีกับความสูงรั้วโดยให้ร้านตัดมาให้เลย
  3. แปเหล็ก ทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมระหว่างเสากับแผ่นเมทัลชีทโดยยิงสกรูติดแปเข้ากับเสาแล้วยิงสกรูติดแผ่นเมทัลชีทติดกับแปอีกทีเป็นอันเสร็จ

ขั้นตอนการทำรั้วเมทัลชีตด้วยตัวเอง

เราสามารถกำหนดแนวติดตั้งรั้วได้โดยดู หมุดเขตที่ดิน แล้วปักเอ็นเพื่อกำหนดแนว โดยทั่วไปแล้วจะกำหนดให้เสาแต่ละต้นห่างกัน 2.5 เมตร อาจเฉลี่ยความห่างได้ตามความสวยงาม

  1. ทำการขุดดินในจุดที่กำหนดไว้เพื่อตั้งเสา ความลึกประมาณ 1 เมตร กว้างกว่าฐานเสาเล็กน้อย
  2. ผสมปูนลงไปในหลุม
  3. จับเสาวางลงในหลุมโดยใช้เอ็นที่ขึงไว้ตรวจสอบแนวเสา และใช้ลูกดิ่งหรือระดับน้ำตรวจสอบว่าเสาไม่เอียง
  4. รอให้ปูนอยู่ตัว
  5. ติดตั้งแปเหล็กลงบนเสาโดยการยิงสกรู
  6. ติดตั้งแผ่นเมทัลชีทลงบนแปเหล็กโดยการยิงสกรู
  7. เสร็จเรียบร้อย

เท่านี้เราก็ได้รั้วเมทัลชีทแบบทำเองสำหรับกั้นแนวเขตที่ดินแล้ว


เรื่องและภาพ : วุฒิกร สุทธิอาภา

The post รั้วเมทัลชีท ติดตั้งเองได้ ไม่ยากเลย appeared first on บ้านและสวน.

บ้านสตูดิโอ ที่มีส่วนผสมของความเก่า ความใหม่ และสีสันสดใส

$
0
0

ภาพวาด งานศิลปะ หุ่นกระบอก สัตว์สตัฟฟ์ และอีกมากมายเกินกว่าจะพูดได้ครบ ได้รวมอยู่ในบ้านหลังนี้ การแต่ง บ้าน สตูดิโอ ในแบบมิวเซียมที่ของสะสมทุกชิ้นถูกจัดแสดง และถูกมองเห็น จึงเป็นความหลากหลาย น่าสนใจ และบ่งบอกตัวตนของเจ้าของบ้านได้อย่างชัดเจน

เมื่อเลี้ยวรถเข้าซอยหนึ่งตามหมุดหมายที่ปักไว้ เพียงแว๊ปแรกทีเห็น ก็มั่นใจได้ในทันทีว่าเรามาถึงบ้านของ คุณฮ่องเต้ – กนต์ธร เตโชฬาร เจ้าของเพจ Art of Hongtae ไม่ผิดหลังแน่นอน สมเป็น บ้านศิลปิน รั้วเหล็กยาวขึ้นสนิมสีแดง ดูเหมือนไม่ตั้งใจ แต่มีลวดลายที่ถูกเพ้นท์ในแนวไทยประยุกต์ที่หน้าประตูบ้าน “สวัสดีจ้า เข้ามาเลยๆ” เสียงของคุณฮ่องเต้ ทะลุผ่านรั้วบ้านออกมา ตั้งแต่เรายังไม่ทันได้เห็นหน้ากัน สัมผัสได้ถึงความอารมณ์ดีของเจ้าของ บ้าน สตูดิโอ ในวันนี้

บ้านฮ่องเต้ กนต์ธร เตโชฬาร สตูดิโอ บ้านศิลปิน

บ้านฮ่องเต้ กนต์ธร เตโชฬาร สตูดิโอ บ้านศิลปิน

คุณฮ่องเต้ช่วยสรุปความเก่าของบ้านไว้ได้อย่างเห็นภาพ “บ้านหลังนี้พ่อซื้อไว้ ตั้งใจให้เราอยู่ไม่ไกลจากบ้านพ่อนัก ถึงข้างนอกจะดูเป็นบ้านเก่าธรรมดา แต่ยิ่งรื้อ ยิ่งเห็นถึงความแข็งแรงของตัวบ้าน โครงสร้างบันไดที่เรียกว่าแน่น ผนังอิฐมอญอย่างหนา ที่ใช้ค้อนปอนด์ทุบจนหัวหลุด ฝ้าเพดานเป็นไม้เนื้อแข็ง ที่เอาเหล็กเชื่อมจากปูนลงมา งานระบบกับตู้ไฟที่รวมสายไฟเอาไว้ อย่างน่ากลัวสุดๆ และระบบน้ำเป็นท่อทองเหลืองฝังในผนัง บ้านสร้างไว้เกือบเต็มพื้นที่ แทบไม่เหลือพื้นที่สีเขียว ในการปลูกต้นไม้ แต่ใช้วิธีปลูกต้นไม้ที่ระเบียงชั้น 2 แทน ค่อยๆแบกต้นไม้ขึ้นมาทีละต้น แล้วก็เป็นอย่างที่เห็น” ภาพที่เราเห็นคือเหล่าไม้กระถางน้อยใหญ่ ที่วางเรียงกันจนเต็มระเบียง ความเขียวสดชื่นของต้นไม้ไม่แพ้บ้านอื่นที่อยู่ใกล้เคียง

บ้านฮ่องเต้ กนต์ธร เตโชฬาร บ้านศิลปิน

บ้านฮ่องเต้ กนต์ธร เตโชฬาร บ้านศิลปิน

บ้านฮ่องเต้ กนต์ธร เตโชฬาร สตูดิโอ บ้านศิลปิน

กว่าจะมาเป็นพื้นที่สตูดิโอสุดเท่อย่างที่เห็นนั้น แน่นอนว่าเส้นทางการปรับปรุง ต้องไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน “เข้ามาอยู่ก่อนที่จะเริ่มปรับปรุง คือเราต้องลองอยู่ก่อน จะได้รู้ว่าอยู่สบาย นอนโซฟาเบดที่ห้องชั้น 2 มา 3-4 ปี ทำงานอยู่ในห้องนั้น ยังไม่ได้แตะชั้น 3 เลย ตอนแรกตัวบ้านปิดทึบมาก พื้นปูพรมอัดสีเขียวฝุ่นเยอะๆ มีม่านทึบ หน้าต่างลูกฟักซอยช่องถี่ๆ กระจกสีชาดำตัดแสง ติดม่านอีก คือพลังหยินสูงมาก แต่พอเราเปิดบ้านปุ๊ป มันโล่งมีลมผ่าน และถึงจะโดนล้อมด้วยตึก แต่ก็มีแสงเข้าได้”

บ้านฮ่องเต้ กนต์ธร เตโชฬาร บ้าน สตูดิโอ บ้านศิลปิน

บ้านฮ่องเต้ กนต์ธร เตโชฬาร สตูดิโอ บ้านศิลปิน

บ้านฮ่องเต้ กนต์ธร เตโชฬาร บ้าน สตูดิโอ บ้านศิลปิน

 

เมื่อดูทิศทางสำรวจทุกพื้นที่ของบ้าน การปรับปรุงพื้นที่ชั้น 3 จึงเริ่มต้นขึ้น “ปีนขึ้นไปดูช่องเซอร์วิส ถึงเห็นโถงหลังคาใหญ่มาก สูงประมาณ 3 เมตรกว่า ถ้าตีฝ้าเพดานออก จะได้โถงสูงอย่างน้อย 5 เมตร เป็นห้องใต้หลังคาทรงจั่วที่ชอบ แต่ถ้าเปิดฝ้าออกหมด แล้วติดแอร์มันจะเปลืองไฟ เลยเอาฝ้าออกแค่ครึ่งเดียว พอเริ่มเห็นพื้นที่เป็นรูปเป็นร่าง ก็เริ่มวางผัง อยากกั้นพื้นที่สำหรับติดแอร์ แต่ยังอยากให้รู้สึกเป็นห้องเดียวกันอยู่ เลยสั่งทำตู้โชว์กระจกใสสูงเสมอฝ้า ใช้กั้นพื้นที่ เหมือนเป็นผนังห้อง แต่ยังมองเห็นถึงกันได้”

บ้านฮ่องเต้ กนต์ธร เตโชฬาร สตูดิโอ บ้านศิลปิน

บ้านฮ่องเต้ กนต์ธร เตโชฬาร บ้าน สตูดิโอ บ้านศิลปิน

บ้านฮ่องเต้ กนต์ธร เตโชฬาร บ้านศิลปิน

บ้านฮ่องเต้ กนต์ธร เตโชฬาร บ้าน สตูดิโอ บ้านศิลปิน

บ้านฮ่องเต้ กนต์ธร เตโชฬาร สตูดิโอ บ้านศิลปิน

บ้านฮ่องเต้ กนต์ธร เตโชฬาร สตูดิโอ บ้านศิลปิน

บ้านฮ่องเต้ กนต์ธร เตโชฬาร บ้าน สตูดิโอ บ้านศิลปิน

บ้านฮ่องเต้ กนต์ธร เตโชฬาร สตูดิโอ บ้านศิลปิน

นอกจากสเปซของบ้านที่น่าตื่นเต้นแล้วของทุกชิ้นที่ถูกจัดวางอยู่ในที่แห่งนี้ต่างก็ดูน่าสนใจไม่แพ้กัน องค์ประกอบของแต่ละอย่างที่เหมือนจะดูไม่เข้ากันแต่กลับยิ่งทำให้ดูมีเรื่องราวที่น่าสนใจ เป็นการรวมกันของงานศิลปะหลากหลายแขนงเอาไว้ในพื้นที่แห่งนี้ “เป็นการรวมทุกอย่างที่ชอบ ไม่ว่าจะเป็นหัวโขนที่สะสมมาตั้งแต่ปี 2 หุ่นละครเล็ก หุ่นกระบอกจีน หุ่นกระบอกไต้หวัน หัว ฮก ลก ซิ่ว มีทั้งของที่ซื้อมาเป็นครูเพื่อศึกษา หรือโครงกระดูกที่สั่งมาจากเมืองนอก มีทั้งของจริงและแบบเรซิ่น รวมไปถึงสัตว์สตัฟฟ์ เอามาศึกษา anatomy เพื่อใช้ในการออกแบบคาแร็คเตอร์ ซึ่งงานส่วนใหญ่จะเป็นสัตว์ประหลาด creature ต่างๆ มันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องศึกษาเพื่อดูกล้ามเนื้อ กะโหลกเป็นยังไง ตำแหน่งตาอยู่ตรงไหน ต้องศึกษาจากของจริง”

บ้านฮ่องเต้ กนต์ธร เตโชฬาร บ้านศิลปิน

บ้านฮ่องเต้ กนต์ธร เตโชฬาร สตูดิโอ บ้านศิลปิน

หลายคนชื่นชอบผลงานศิลปะแต่ไม่กล้าซื้อ ลังเลที่จะนำออกมาโชว์ เพราะกลัวว่าจะไม่เข้ากับบ้าน หรืออีกหลายๆเหตุผลที่กังวลใจ “การแต่งบ้านแบบคนที่มีงานศิลปะเยอะๆ ให้มองว่างานศิลปะเป็นส่วนหนึ่งของบ้าน อย่ากลัวที่จะเอาออกมาวาง ออกมาโชว์ งานสามารถ inspired เราได้ คนที่มาบ้านเรา ก็จะเข้าใจไอเดียที่เราเป็นผ่านไอเท็มเหล่านี้ การเลือกศิลปะเข้ามาในบ้าน ก็เหมือนเลือกเสื้อผ้าที่ใส่สบายตัว งานศิลปะก็เลือกที่ตัวเองมีแล้วสบายใจ อย่าไปเลือกซื้อตามคนอื่น เพราะสุดท้ายเราก็ไม่ได้ชอบ ศิลปะเป็นปัจจัยที่ 6-7 ไม่ใช่ปัจจัยที่ 4 ซื้อได้ถ้าซื้อแล้วเราไม่เดือดร้อน มันเป็นเหมือนสิ่งชื่นชูใจเหมือนกันนะ”

บ้านฮ่องเต้ กนต์ธร เตโชฬาร บ้าน สตูดิโอ บ้านศิลปิน

บ้านฮ่องเต้ กนต์ธร เตโชฬาร บ้านศิลปิน

 

บ้านฮ่องเต้ กนต์ธร เตโชฬาร บ้าน สตูดิโอ บ้านศิลปิน

บ้านฮ่องเต้ กนต์ธร เตโชฬาร สตูดิโอ บ้านศิลปิน

“บ้านหลังนี้แต่งแบบไม่รีบ ทุกคนถามว่าเมื่อไหร่บ้านจะเสร็จ เราบอกว่าไม่รู้จริงๆ มันคงโตไปตามเรา เป็นคนชอบจัดบ้าน จัดไปเรื่อยๆ การได้หยิบจับของเดิมเมื่อเราเปลี่ยนที่วาง เราก็ได้เห็นมุมมองใหม่ๆ ในของชิ้นนั้นอีก ของบางอย่างที่เอามาวางในบ้าน แล้วไม่เวิร์ค พลาดเองมาก็เยอะ แต่ไม่กลัวที่จะพลาด ต้องลองก่อน เพราะไม่มีอะไรเพอร์เฟค ทุกอย่างต้องผ่านการเรียนรู้ เราไม่รู้ว่าภาพต่อจากนี้บ้านจะเป็นยังไง จะเปลี่ยนไปในรูปแบบไหน รู้แต่ว่ามันจะสนุกขึ้นเรื่อยๆ เพราะถ้าไม่สนุกเราไม่ทำ(หัวเราะ)” มั่นใจเหลือเกินว่าบ้านหลังนี้คงจะเปลี่ยนไปอีกหลายๆเวอร์ชั่น ในทิศทางที่เจ้าของบ้านตอบเราด้วยตาเป็นประกายเปี่ยมความสนุก ไม่แน่ว่าอีกสัก 5 ปี เราอาจจะได้เห็นความสนุกแบบภาคต่อ จากบ้านหลังนี้ก็เป็นได้

บ้านฮ่องเต้ กนต์ธร เตโชฬาร สตูดิโอ บ้านศิลปิน

บ้านฮ่องเต้ กนต์ธร เตโชฬาร บ้านศิลปิน

บ้านฮ่องเต้ กนต์ธร เตโชฬาร บ้านศิลปิน

 

เจ้าของ – ออกแบบ คุณฮ่องเต้ – กนต์ธร เตโชฬาร

เรื่อง jOhe

ภาพ สิทธิศักดิ์ น้ำคำ

สไตล์ วรวัฒน์ ตุลยทิพย์


บ้านสตูดิโอ ที่ทั้งอยู่อาศัยและเป็นโฮมออฟฟิศ

ใจบ้านสตูดิโอ: เมื่อทุกเสียงให้ความหมายในงานออกแบบ

บ้านศิลปิน ที่เติมสีสันไว้เต็มผนัง

The post บ้านสตูดิโอ ที่มีส่วนผสมของความเก่า ความใหม่ และสีสันสดใส appeared first on บ้านและสวน.

Viewing all 9932 articles
Browse latest View live